‘กลุ่มโฮมสคูล’ บุก ศธ.ร้อง’ณัฏฐพล’ หลังไม่ได้รับความเป็นธรรม-ขอรัฐจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว

‘กลุ่มโฮมสคูล’ บุก ศธ.ร้อง’ณัฏฐพล’ หลังไม่ได้รับความเป็นธรรม-ขอรัฐจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.) นำโดยนายเทวินฏฐ์ อัครศิลาชัย รักษาการเลขาธิการ สกล. นางธรรณพร คชรัตน์ สบายใจ รองเลขาธิการ สกล. และผู้อำนวยการศูนย์ประสาทสิทธิการศึกษาบ้านเรียนและศูนย์การเรียนไทย (ศปส.) และคณะกว่า 20 คน เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรม ต่อนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. โดยมีนางวันเพ็ญ บุรีสูงเนิน หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.และเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับเรื่องแทน

นางธรรณพร กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) ส่งหนังสือถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ แจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคู่มือการจัดการศึกษา มาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้เรียนของศูนย์การเรียน ทั้งประเภทบุคคล องค์กรวิชาชีพ องค์กรชุมชน และองค์กรเอกชน และแนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว หรือ บ้านเรียน ตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคุณสมบัติผู้เรียนในศุนย์การเรียนรู้ที่ สพฐ.ได้เคยประกาศนั้น ได้กำหนดไว้ว่า “ผู้เรียนในศูนย์การเรียนต้องเป็นผู้ขาดโอกาสในการเข้าเรียนในระบบโรงเรียนปกติ หรือ ผู้ที่ต้องการเข้าเรียนในศูนย์การเรียน…”

นางธรรณพร กล่าวต่อว่า โดยการเปลี่ยนแปลงคู่มือของ สพฐ.ครั้งนี้ได้ตัดข้อความ “หรือผู้ที่ต้องการเข้าเรียนในศูนย์การเรียน..”ออกไป และสำหรับคู่มือการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนหรือโฮมสคูล ก็ได้ตัดข้อความเกี่ยวกับการให้สิทธิกับพ่อแม่ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่นิเทศก์ติดตามประเมินผล สามารถดำเนินงานในกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกับภาคีเครีอข่ายบ้านเรียน/ภาคีเครือข่ายการศึกษาทางเลือกได้ออกไป และสาระสำคัญของการกำหนดให้มีการยื่นจดทะเบียนปีละ 2 ครั้ง โดยตัดการขออนุญาตตามความพร้อมของครอบครัวออกไป

นางธรรณพร กล่าวต่อว่า สกล.มองว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคู่มือการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตร 12 แห่งพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของ สพฐ.ครั้งนี้ไม่มีความชอยธรรมและสร้างผลกระทบต่อเด็ก และสถานศึกษาประเภทศูนย์การเรียนตาม ม.12 อย่างมาก คือเป็นการละเมิดสิทธิเด็กด้านการศึกษา เป็นการละเมิดสิทธิของผู้จัดการศึกษา และไม่เป็นธรรมกับเด็กที่มีความต้องการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคู่มือการจัดการศึกษาฯ ครั้งนี้ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมอย่างมาก เนื่องจากขาดกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก และสถานศึกษา

Advertisement

“นอกจากความไม่ชอบธรรมครั้งนี้ การศึกษาทางเลือกยังไม่ได้รับความเป็นธรรมอีกมาก เช่น เด็กที่เรียนในศุนย์การเรียนประเภทบุคคล ชุมชน และเอกชนทั่วประเทศ ไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายหัว เงินอุดหนุนอาหารกลางวัน และสิทธิประโยชน์การศึกษาอื่นๆ ตามกฏหมายอย่างเป็นธรรม เด็กที่เรียนในบ้าน และผู้จัดการศึกษาโดยครอบควัรยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับเงินอุดหนุนอาหารกลางวัน ระบบฐานะข้อมูลของนักเรียน สถานศึกษาประเทภบ้านเรียน และศูนย์การเรียนยังไม่สามารถเชื่อต่อกัระบบฐานข้อมูลการจัดการศึกษาของระบบการศึกษาส่วนใหญ่ได้” นางธรรมพร กล่าว

นางธรรมพร กล่าวต่อว่า จากปัญหาดังกล่าว สกล.ของเรียกร้อง ศธ.ให้เร่งแก้ไข หรือยกเลิกการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคู่มือการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมทั้งให้ ศธ.จัดตั้งคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากตัวแทนผู้จัดการศึกษาทางเลือก มาแก้ไขคู่มือการจัดการศึกษาตาม ม.12 ศธ.เร่งรัดการจัดตั้งกลไกใหม่ที่เหมาะสมในการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาทางเลือก ตาม ม.12 โดยเร็ว และขอให้ ศธ.เร่งรัดจัดสรรเงินอุดหนุนและสิทธิประโยชน์การศึกษาให้กับเด็กศูนย์การเรียนประเทภบุคคล ชุมชน และเอกชน ตาม ม.14 ขอ.พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่กำหนด ไว้ว่า บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้ 1.การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ 2.เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด 3.การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด โดยเร็ว

ด้านนางวันเพ็ญ กล่าวว่า ตนและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องจะรับเรื่องร้องเรียนไว้ และจะนำเรียนรัฐมนตรีว่าการ ศธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image