นักวิจัย ม.เกษตรฯ สำรวจแหล่งหญ้าทะเล เกาะศรีบอยา พบพะยูนเข้ามาหากิน มีร่องรอยไถเป็นทางยาว

นักวิจัย ม.เกษตรฯ สำรวจแหล่งหญ้าทะเล เกาะศรีบอยา พบพะยูนเข้ามาหากิน มีร่องรอยไถเป็นทางยาว

วันที่ 29 พ.ค. นายปิยะวัฒน์ พรหมรักษา นักวิจัยจากสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่นักวิจัย ร่วมกับนักวิจัยชุมชนภายในพื้นที่โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ลงสำรวจพื้นที่ชายฝั่งทะเลของตำบลเกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ พบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลมีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต ซึ่งพบสัตว์น้ำหลายชนิดในแหล่งหญ้าทะเล ที่ได้ปลูกไว้ รวมถึงพบรอยไถของพะยูนในแนวหญ้าทะเลหลายจุดบ่งชี้ว่า พะยูนในบริเวณนี้ยังมีอยู่อีกหลายตัว ซึ่งพบหญ้าทะเล 10 ชนิด คือ หญ้าเงาใบใหญ่ หญ้าใบมะกรูด หญ้าคาทะเล หญ้าชะเงาเต่า หญ้าชะเงาปลายใบมน หญ้าชะเงาปลายใบฟันเลื่อย หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าเงาใส และหญ้าต้นหอมทะเล สถานภาพหญ้าทะเลโดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับสมบูรณ์ดี พบสัตว์น้ำชนิดเด่นที่พบบริเวณแหล่งหญ้าทะเล คือ ดาวทะเลปุ่มแดง ปลิงทะเล

ซึ่งการสำรวจครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลร่วมกับชุมชน เพื่อนำไปสู่กระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาแนวหญ้าทะเล ให้มีความยั่งยืนและเชื่อมโยงกับแหล่งอนุบาลที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะพะยูน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่กำลังลดน้อยลง เพื่อการใช้ประโยชน์ของชุมชน รวมถึงการหนุนเสริมการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนเกาะศรีบอยาต่อไป ซึ่งบริเวณแหล่งหญ้าทะเลขนาดขนาดใหญ่ เกาะศรีบอยา เกาะกา เกาะปู และเกาะโต๊ะลัง ตำบลเกาะศรีบอยา รวมพื้นที่ประมาณ 16,625 ไร

Advertisement

ขอบคุณภาพ นายปิยะวัฒน์ พรหมรักษา นักวิจัยจากสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image