หมอแก้ว ชี้เหตุโควิดกลับมาระบาดในอิสราเอล ทั้งที่ฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม

หมอแก้ว ชี้เหตุโควิดกลับมาระบาดในอิสราเอล ทั้งที่ฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม

เมื่อวันที่ 8 ก.ค. นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค โพสต์เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในอิสราเอลที่ระบาดหนัก ทั้งที่ฉีดไฟเซอร์ 2 เข็มไปเยอะแล้ว เพราะอะไร โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กรณีที่มีข้อเรียกร้องให้มีการนำวัคซีนชนิด mRNA มาใช้เพื่อเป็นเกราะ “อย่างหนา” ในการป้องกันการ “ติดเชื้อ” โควิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่กำลังเข้ามา เช่น สายพันธุ์อินเดีย

พวกเราจำอิสราเอลได้ไหม? อิสราเอลเริ่มฉีดวัคซีนซึ่งเกือบทั้งหมดเป็น mRNA vaccine ของไฟเซอร์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมปีที่แล้ว และได้ทำการล็อกดาวน์ (lockdown) ด้วยเมื่อต้นเดือนมกราคม จำนวนเคสก็ลดลง ตามลำดับ จนจำนวนผู้ป่วยเริ่มราบเรียบ (flattened) ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนครึ่ง พอถึงปลายเดือนเมษายนจำนวนผู้ติดเชื้อก็เป็นศูนย์ครั้งแรกใน 10 เดือน ตอนนั้นอิสราเอลฉีดวัคซีนชาวบ้านได้ร้อยละ 61 อิสราเอลดีใจประกาศเลิกใส่หน้ากากอนามัย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา

แต่เมื่อประมาณอาทิตย์ที่แล้ว จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่แบนราบในระดับต่ำ จำนวนเคสต่อวันที่เป็นเลขหลักเดียวก็เพิ่มเป็นประมาณ 300 คนต่อวัน มาได้ประมาณอาทิตย์นึง ทำท่าจะเป็นแบบเดียวกับอังกฤษ ซึ่งถึงเมื่อวานนี้ (วันที่ 1 กรกฎาคม 2564) อิสราเอลฉีดวัคซีนชาวบ้าน ได้ 64 เปอร์เซ็นต์

Advertisement

เกิดอะไรขึ้นกับอิสราเอล? ปรากฏว่าสายพันธุ์ที่ระบาดใหม่นี้เป็นสายพันธุ์อินเดียครับ และที่สำคัญก็คือ ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นสายพันธุ์อินเดียนี้เคยได้รับวัคซีนซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นวัคซีนของไฟเซอร์ ครบ 2 เข็ม จนตอนนี้อิสราเอลก็กำลังพยายามอย่างเต็มที่ที่จะควบคุมการระบาดนี้ โดยประกาศสั่งให้กลับมาใส่หน้ากากอนามัยกันใหม่อีกครั้ง

ทำไมอิสราเอลถึงมีการระบาด? อิสราเอลมีผู้ติดเชื้อนำเชื้อเข้ามาแพร่ในกลุ่มนักเรียนอายุต่ำกว่า 16 ปีก่อน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีนอะไรเลย และเกิดการระบาดต่อไปในกลุ่มชาวบ้านทั่วไป

นิทานเรื่องนี้สอนอะไรเราบ้าง? ก็แบบเดิมที่ผมเคยบอกแล้วว่า

Advertisement

1.ตราบใดที่เรามีคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนอยู่พอสมควร และเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ (susceptible) เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี (ในตัวอย่างนี้) พอมีเชื้อหลุดเข้ามา ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดรอบใหม่ได้ และยังสามารถแพร่ไปยังกลุ่มประชากรที่มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบแล้วในระดับที่สูงได้ ดังเช่น กรณีที่เกิดขึ้นในอิสราเอล เมือง Kudus และโรงพยาบาลเชียงราย

2.ต่อให้เราฉีดวัคซีนที่เราคิดว่าดี มันก็ไม่มีทางที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ 100% อย่างกรณีของอิสราเอลซึ่งเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับการระบาดของสายพันธุ์อินเดียที่เมือง Kudus ของอินโดนีเซียหรือของไทยที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ทั้งๆ ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม

3.ดังนั้น ความหวังที่จะไม่ให้ติดเชื้อเลยและไม่ให้มีการระบาดคงจะเป็นเรื่องยาก และระดับของ neutralizing antibody ว่าของใครจะมีมากกว่าใคร น่าจะมีความสำคัญน้อยกว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าวัคซีนตัวไหนจะป้องกันการตายหรือป่วยรุนแรงได้ดีกว่ากัน

ผมลอกของอาจารย์ขจรศักดิ์มาปรับนิดหน่อยครับ ด้วยความหวังว่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ปล.1: เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีข่าวจากหนังสือพิมพ์รายงานออกมาว่า วัคซีนของไฟเซอร์ในอิสราเอลมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าในภาพรวม (ทั้งติดเชื้อที่มีอาการและไม่มีอาการ) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 64 และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยรุนแรงจากสายพันธุ์เดลต้าอยู่ที่ร้อยละ 93

ปล.2: ส่วนตัวผมเองก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าเกราะอย่างหนาคืออะไรนะครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image