กอ.รมน.สนับสนุนการจัดตั้งรพ.สนาม ทบ. 37 แห่ง พร้อมเร่งมำความเข้าใจ ปชช.

กอ.รมน.สนับสนุนการจัดตั้งรพ.สนาม ทบ. 37 แห่ง พร้อมเร่งมำความเข้าใจ ปชช.ถึงข้อมูลการเข้ารับการรักษา

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กอ.รมน. แถลงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19 ยังคงทวีความรุนแรงโดยเฉพาะไวรัสกลายพันธุ์ชนิดสายพันธ์เดลต้าที่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายและติดต่อโรคกันได้โดยง่าย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมีการแพร่ระบาด ในวงกว้างทั่วประเทศ การดูแลช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อโควิด – 19 ถือเป็นภารกิจที่สำคัญเร่งด่วนของ กอ.รมน. ในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ปัญหาของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม. ในฐานะ ผอ.รมน. ที่ได้มอบหมายให้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. ในฐานะ รอง.ผอ.รมน. ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหากับผู้ป่วย ที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษาให้เข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วด้วยการตรวจหาเชื้อ, การคัดกรองผู้ติดเชื้อ, การแยกประเภทผู้ป่วย, การรักษาพยาบาลเบื้องต้น, การส่งผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาตามความรุนแรงของโรคในการเข้าร่วมบูรณาการ กับทุกภาคส่วนทั้ง กองทัพบก, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, บุคคลกรทางการแพทย์, อสม. และสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สนับสนุนการจัดตั้ง “รพ.สนามศูนย์คัดกรองสโมสร ทบ.”

พล.ต.ธนาธิป กล่าวอีกว่า ในพื้นที่ส่วนกลาง และ รพ.สนามกองทัพบก ทั่วประเทศทั้ง 37 แห่ง พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดตั้ง รพ.สนามหระทรวงสาธารณะสุข จำนวน 26 แห่ง (กองทัพบกสนับสนุนกำลังพล, อาคารสถานที่, เตียงผู้ป่วย, เครื่องนอนและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น) และปัจจุบันได้มีการจัดตั้ง รพ.สนาม ทบ. เพิ่มเติมในพื้นที่ รพ.สังกัด กองทัพบกทั้ง 37 แห่งทั่วประเทศ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นและเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรค ทั้งยังให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยเพื่อลดภาระของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่อีกด้วย และได้เตรียมการประสานงานเพื่อจัดตั้ง “รพ.สนามศูนย์คัดกรอง” ในส่วนภูมิภาคเป็นจุดให้บริการคัดกรองผู้ป่วยและเป็นจุดพักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน รพ. ตามระบบต่อไป
สำหรับ “รพ.สนามศูนย์คัดกรองสโมสร ทบ.”

สำหรับพื้นที่ส่วนกลางมีขั้นตอนการให้บริการเริ่มจาก การลงทะเบียนยืนยันตัวบุคคล, การตรวจคัดกรองเชื้อเบื้องต้นโดย “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน” และรอผลตรวจประมาณ 30 นาที หากผลไม่พบเชื้อจะได้รับใบรายงานผลแล้วกลับบ้านได้ หากผลตรวจพบเชื้อ จะได้รับการเอ็กซ์เรย์ปอดและเข้ารับการตรวจยืนยันโควิด – 19 อีกครั้งด้วยวิธีตรวจแบบ RT-PCR จากนั้นแพทย์จะทำการวินิฉัยอาการและรับการรักษาด้วยยารับประทาน พร้อมรับถุงยังชีพบรรจุสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการกักตัวประกอบด้วย เครื่องวัดค่าออกซิเจนในเลือด, เครื่องวัดอุณหภูมิ, อุปกรณ์รักษาโรคเป็นต้น จากนั้นผู้ป่วยจะเข้าสู่ระบบการรักษาของสำนักอนามัย กทม. ด้วยการกักตัวที่บ้าน (Home Isolation), การกักตัวที่ชุมชน (Community Isolation), รพ.สนาม หรือ รพ.ของ กทม. และสาธารณสุขต่อไป

Advertisement

นอกจากนี้ กอ.รมน. ได้บูรณาการและเสริมสร้างให้เครือข่ายมวลชน กอ.รมน. จากทั่วประเทศเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจชี้แจงกับประชาชนร่วมติดตามและเฝ้าระวังป้องกันแจ้งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองตามแนวชายแดนโดยเฉพาะการดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเฉียบขาดต่อขบวนการนำพาผู้หลบหนีฯ สร้างความตระหนักรู้และการรับรู้กับประชาชนโดยเฉพาะการห้ามออกนอก เคหะสถานตามห้วงเวลาที่กำหนด และลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด การรณรงค์ให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนเพื่อช่วยลดอาการรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตเป็นหลัก ส่วนการป้องกัน การติดเชื้อยังคงให้ความสำคัญกับการป้องกันตนเองและการป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง (หน้ากากอนามัย), การใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมืออย่างถูกวิธีรวมทั้งการดูแลเขตสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมของ ส่วนบุคคลและส่วนรวมตามมาตรฐานของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุข

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image