ผบ.ตร.เจ๋งเร่งตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 เชิงรุกให้ประชาชน-ขรก.ตร.และครอบครัว

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 11 ส.ค. ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข   ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีวิทยุในราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  เรื่อง การตรวจหาเชื้อโควิด-19 เชิงรุกสำหรับข้าราชการตำรวจและครอบครัว ตลอดจนประชาชนบริเวณใกล้เคียง สืบเนืองจากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ จึงให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เชิงรุกสำหรับข้าราชการตำรวจและครอบครัว โดยข้าราชการตำรวจทุกหน่วยที่มีที่ตั้งใน ตร. และครอบครัวเข้ารับการตรวจหาเชื้อฯ วันที่ 16 ส.ค. – 17 ส.ค.64 บริเวณพื้นที่ ตร. ส่วนข้าราชการตำรวจในสังกัด บช.น. และครอบครัวเข้ารับการตรวจหาเชื้อฯ วันที่ 18 -19 ส.ค.64 บริเวณสถานีตำรวจนครบาลของแต่ละพื้นที่ หรือสถานที่ที่หน่วยเห็นว่าเหมาะสม รวมทั้งหน่วย บก.อก.บช.น., บก.สปพ., บก.จร. และ บก.สส. ทั้งนี้หากสถานีตำรวจนครบาล(สน.)และกองบังคับการ(บก.) ทุกหน่วย ที่ทำการตรวจหาเชื้อฯ จัดเตรียมรถส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปจุดคัดแยกผู้ติดเชื้อ ที่เตรียมไว้ 3 จุด ได้แก่ สโมสรตำรวจ รพ.ตร. และ บก.น.3 ตรงข้าม สน.มีนบุรี หากกรณีประชาชนที่ขอรับการตรวจหาเชื้อๆ ที่ สน.และ บก หากพบว่าติดเชื้อฯ ให้ทางเขตเตรียมการช่วยเหลือรองรับผู้ป่วยติดเชื้อฯ

พล.ต.อ.สุวัฒน์  กล่าวว่า “ สำนักงานตำรวจแห่งชาติพยายามแยกผู้ติดเชื้อออกมาให้มากที่สุดเพราะสายพันธุ์ใหม่ไม่แสดงอาการ กว่าจะมีอาการก็อาจสายเกิน เช่น เป็นไข้  เนื่องจากติดเชื้อมาหลายวันอาการแบบนี้ เป็นผู้ป่วยจากสีเหลือง เป็นสีส้ม และสีแดง จะต้องเข้าการรักษากับทางโรงพยาบาล แต่ติดขัดกรณีเตียงเต็ม หรือสถานที่ไม่มีการหาผู้ติดเชื้อให้เร็วสุดจึงเป็นการแก้ปัญหาลดการสูญเสีย วิธีการตรวจเชิงรุกหาผู้ติดเชื้อ สีเขียว การตรวจเชิงรุกของเรามี 2 วิธี คือ 1.เราตรวจให้  2.ให้ตรวจเอง  การให้ตำรวจตรวจเองโดยนำการเครื่องตรวจไปแจก หางบประมาณจัดซื้อ จำนวน 2 แสนชิ้น รู้ผลเลย รัฐเพิ่งอนุญาตให้ใช้ได้ ซึ่งอาจยังไม่เพียงพอ และอีกวิธีไปตรวจให้ข้าราชการตำรวจ และครอบครัว ที่ผ่านมาทำการทดลองตรวจเชิงรุกในพื้นที่แฟลตตำรวจลือชา ชุมชนสินทวี 9  บก.น.7  และ บก.น.8 พร้อมมีระบบโฮม ไอโซเลชั่น (รักษาโควิดที่บ้าน) และระบบการส่งต่อผู้ติดเชื้อไปรักษาทางการแพทย์  ระบบจะต้องเบ็ดเสร็จตรงนั้น  หากตรวจพบเชื้อจะทำการเอกซเรย์ปอด และสามารถพบแพทย์ได้ทันที  แพทย์วินิจฉัยจาก ฟิล์มเอกซเรย์พบจะส่งตัวไปยังโรงพยาบาลในเครือข่ายที่ประสานไว้ล่วงหน้า  แต่ถ้าดูอาการไม่มากให้เข้าโปรแกรมโฮม ไอโซเลชั่น

พล.ต.อ.สุวัฒน์ กล่าวอีกว่าโปรแกรมโฮม ไอโซเลชั่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่เหมือนหน่วยอื่น เราไม่มี คอลเซ็นเตอร์ เราใช้อยู่ 2 อย่าง คือ 1.แอพพลิเคชั่น   ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะกรอกข้อมูลเอง เช่นข้อมูลการวัดไข้  ออกซิเจน  การเต้นของหัวใจ  อาการไอ เจ็บคอ เป็นต้น กรอกทุกวัน/วันละ 3 เวลา หากพบความผิดปกติแพทย์จะติดต่อคนนั้น ถ้าติดต่อไม่ได้จะทำการติดต่อแบบไลน์กลุ่ม ผู้บังคับบัญชาจะไปดำเนินการ ไม่ยุ่งยาก ลดปริมาณการปฏิสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องคุยกับทุกคน มีผู้บังคับบัญชาดูแลผ่านไลน์กลุ่ม  2. ไลน์กลุ่ม  ใช้ผู้บังคับบัญชาคอยดูแลอยู่ในกลุ่ม แต่ละกลุ่มย่อยเป็นระดับ กก. ถ้าติดต่อไม่ได้จะติดต่อผ่านผู้บังคับบัญชาในไลน์กลุ่ม จะมีหน่วยตรวจเคลื่อนที่เชิงรุกแบบใช้รถ ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ สามารถใช้งานได้  ถ้าทดสอบใช้งานได้ดีจะขยายไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image