จุรินทร์ นำ เปิดตลาดบน แพลตฟอร์มบุก ยุโรป อเมริกานำร่อง สินค้าแบรนด์ไทย 38 รายร่วมค้าออนไลน์

จุรินทร์ นำ เปิดตลาดบนแพลตฟอร์ม Meisterstrasse” บุก เยอรมนีออสเตรีย อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ นำร่อง สินค้าแบรนด์ไทย 38 รายร่วมค้าออนไลน์ประกาศศักยภาพสินค้าไทยในเวทีโลก

เมื่อวันที่ 13 กันยายน นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากนโยบายนายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มนำรายได้เข้าประเทศโดยเน้นภารกิจเซลล์แมนประเทศไทยขับเคลื่อนตามนโยบายเปิดตลาดสินค้าไทยไปทั่วโลกทั้ง58 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศนั้น

โดยรายงานจาก สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นโยบายข้อที่ 7 ของรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ ให้พัฒนาศักยภาพให้ทางการตลาดให้กับภาคการผลิตฐานราก SMEs และ Micro SMEs ใช้กลยุทธ์ Local to Global หนุนmicro SMEs และนักออกแบบสายคราฟต์ดันสินค้าไทยเข้าแพลตฟอร์มระดับโลก Meisterstrasse เจาะตลาดยุโรปเป็น 1 ในแผนงานกระทรวงพาณิชย์ปี 2564 ให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสทางการค้าในรูปแบบใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Micro Smes ในภูมิภาคตามนโยบาย Local to Global ให้ได้รับโอกาสทางการค้าผ่านแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ที่มีศักยภาพในระดับโลก

ล่าสุด นางสาวอรนุช ผดุงวิถี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย รายงานว่าได้ผลักดันสินค้าแบรนด์ไทย 38 รายร่วมแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์Meisterstrasse เพื่อประกาศศักยภาพสินค้าไทยในเวทีโลก สร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการไทย รวมถึงคุณภาพและมาตรฐานการออกแบบของสินค้าไทยผ่านรางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี Design Excellence Award หรือรางวัล DEmark โดยจัดภายใต้แนวคิด T-STYLE : Thai Spirit แคมเปญประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศ หรือ Country Brand โดย meisterstrasse.com เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่คัดสรรผู้ผลิตงานฝีมือและผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นจากประเทศออสเตรียและประเทศเครือข่ายในยุโรปและทั่วโลก ดำเนินการมาแล้ว 20 ปี ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในเครือข่ายมากกว่า 6,000 ราย และมีฐานลูกค้าซึ่งสมัครเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์มตามฐานข้อมูล ปี 2562 จำนวนมากกว่า 4.4 ล้านบัญชี

Advertisement

ตลาดเป้าหมายสำคัญของแพลตฟอร์ม Meisterstrasse ได้แก่ เยอรมนีออสเตรีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ Meisterstrasse ยังได้ขยายตลาดและความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น โดยประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งประเทศจากภูมิภาคเอเชีย ที่ได้เข้าร่วมในแพลตฟอร์มนี้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการไทย ร่วมถึงสร้างการยอมรับสินค้าจากประเทศไทยในระดับสากล กระทรวงพาณิชย์นำผู้ประกอบการ 38 รายจากทั่วประเทศเช่น กรุงเทพ เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา อยุธยาเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเดินหน้าเปิดตลาดและปรับแผนการค้าให้สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยวิถีNew normal

แพลตฟอร์มนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการไทยร่วมถึงสร้างการยอมรับสินค้าจาก ประเทศไทยในระดับสากลโดยเบื้องต้นมีผู้ประกอบการไทยกว่าแบรนด์ 38 จากทั่วประเทศท่ีได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ Thaniya ,Mobella ,HOMRAK ,moonler ,DEESAWAT ,labrador ,i-spa ,5ive sis ,PASAYA ,SUMPHAT , AYODHYA ,kenkoon ,PiN ,TRIMODE C ,KORAKOT ,MHOE ,ETHNICA ,DOTS OBJECT ,ARMA ,everyday , GALVANII , Sculpture ,Jarit ,Stories of Silver & Silk ,VASA, Qualy Design ,ANGO ,MASAYA, Silom , SRINLIM ,Lamunlamai. Craftstudio, Mirror Mirror Brand, Cyme Jewellery, Doitung ,103PAPER SHOP,BaanchaaN ,ARTWORKS และ carpenter ซึ่งในกลุ่มนี้เป็นผู้ประกอบการภูมิภาคจากเชียงใหม่ เชียงราย เพชรบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทราอยุธยา ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย จากนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยุคนายจุรินทร์

จะเห็นได้ว่าโอกาสของผู้ประกอบการรายใหม่ และ ภาคการผลิตฐานราก SMEs และ Micro SMEs เกิดขึ้นตามนโยบาย โอกาสในโลกปัจจุบันอยู่บนอากาศอยู่บนโลกออนไลน์บนแพลตฟอร์ม และแต่ละประเทศแต่ละโซนทวีปก็มีความนิยมแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่เสาะแสวงหาแพลตฟอร์มที่มีแสนยานุภาพสำหรับการค้าเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จให้เร็วที่สุดเกิดการดึงรายได้เข้าประเทศให้มากที่สุด ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ก็ยังส่งเสริมในภาพของการอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการก่อนโกอินเตอร์ขยายฐานรายได้ซึ่งสามารถประสานงานได้ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะมีการวิเคราะห์โอกาสในแต่ละตลาดให้ทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ประกอบการทั้งใหม่เก่า สตาร์ทอัพ และประชาชนทั่วไปที่สนใจการค้าสามารถศึกษาหาคำแนะนำได้แม้จะเป็นการค้าช่วงโควิด-19 ก็ตามที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image