ศาลเเพ่งใต้ยกคำร้อง “ณพ ณรงค์เดช”ขอให้ถอน “กฤษณ์ ณรงค์เดช”พี่ชายจากผู้จัดการมรดก

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ พ.2605/25566 เรื่องขอถอนนายกฤษณ์ ณรงค์เดช ผู้จัดการมรดกของคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช (ลูกชายคนโต) โดยมี นายณพ ณรงค์ เดชอดีตรองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด(ลูกชายคนกลาง)เป็นผู้คัดค้านที่1,นายกรณ์ ณรงค์เดช (ลูกชายคนเล็ก) CEO บริษัทเคพีเอน  เเละ นายเกษม ณรงค์เดช (บิดา)ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท เคพีเอ็น เป็นผู้คัดค้านที่2-3

คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 ก.พ.57 ศาลนี้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดชผู้ตาย ต่อมาวันที่ 7 เม.ย.63 นายณพ ณรงค์เดช นายณพ ณรงค์ เดช รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด(ลูกชายคนกลาง) ยื่นคำร้องขอให้ถอนนายกฤษณ์ ณรงค์เดช(ลูกชายคนโต) ผู้จัดการมรดกของคุณหญิงพรทิพย์  จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแทน  วันที่ 3 ส.ค.63  นายกรณ์ ณรงค์เดช (ลูกชายคนเล็ก) CEO บริษัทเคพีเอน  และ นายเกษม ณรงค์เดชเดช (บิดา)ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท เคพีเอ็น ยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของ นายณพ และคัดค้านการที่นายณพขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน กับขอให้นายกฤษณ์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป ศาลจึงให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาทและเพื่อความสะดวกแก่การพิจารณา ให้เรียกนายณพเป็นผู้คัดค้านที่ 1 เรียกนายกรณ์เเละนานเกษม เป็นผู้คัดค้านที่ 2-3

โดยศาลพิเคราะห์เเล้วสรุปว่า มรดกที่ผู้ร้องจักต้องจัดการทรัพย์ตามพินัยกรรมตามข้อ16 ได้จำหน่ายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วและไม่มีผู้ใดโต้แย้งหรือคัดค้าน ส่วนทรัพย์ตามพินัยกรรมข้อ17.1,17.2,17.4  ยังมีชื่อผู้คัดค้านที่ 3 เป็นเจ้าของและทรัพย์ ตามพินัยกรรมข้อ 8,10,12,13,14เเละ18 ยังไม่ได้แบ่งปันกันตามพินัยกรรมทั้งนี้ทรัพย์รายการดังกล่าวนี้ผู้ร้องผู้คัดค้านที่2-3 กล่าวอ้างและนำสืบพยานร่วมกันว่าเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับผู้คัดค้านที่ 3 โดยผู้คัดค้านที่ 3 สั่งให้ผู้ร้องระงับการจัดการมรดกไว้ก่อนเนื่องจากผู้คัดค้านที่ 1 มีปัญหาขัดแย้งกับทายาทของกองมรดกและมีคดีความพิพาทกันหลายคดีดังนี้ในการทำพินัยกรรมหากมีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างสามีภริยากรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1481 ที่ระบุว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมและเอกสารที่ปรากฏต่อศาลฟังได้ความว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 3 และในส่วนที่เป็นสินสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 3 กับเจ้ามรดกให้แก่บุคคลอื่น แม้จะฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 3 ให้ความยินยอมในการที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นส่วนของตนและที่เป็นสินสมรสให้แก่บุตรทั้ง 3คนหรือบุคคลอื่นก็ตามข้อตกลงเช่นว่านั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเเละยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็ แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่เจ้ามรดกจัดทำมีผลผูกพันไปถึงทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสและทรัพย์สินที่เป็นส่วนตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ด้วยผู้คัดค้านที่ 3 ย่อมอ้างสิทธิของตนที่มีอยู่ในทรัพย์สินดังกล่าวและขอให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกระงับการจัดการมรดกเพื่อขอให้โอนทรัพย์สินส่วนของตนที่ได้โอนไปตามพินัยกรรมคืนและอาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสหรือทรัพย์สินที่เป็นส่วนของตนได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ความว่าการที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเนื่องจากทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมอยู่แล้ว ผู้ร้องได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมจำนวนมากแล้วและการที่ไม่ทำการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทายาท

ตามพินัยกรรมต่อไปอีกเป็นเพราะผู้คัดค้านที่ 3โต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินตามพินัยกรรมว่าเป็นสินสมรสระหว่างตนกับเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมและบางส่วนเป็นทรัพย์สินของตนรวมอยู่ด้วย

Advertisement

กรณีดังนี้จึงหาใช่เหตุที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1327 ไม่

นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 2-3 ยังยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1  และผู้คัดค้านที่2ยังมาเป็นพยานเบิกความยืนยันว่าผู้ร้องได้ทำหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายด้วยความสุจริตและเป็นธรรมด้วยดีตลอดมา ผู้ร้องยังเหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไปและคัดค้านหากจะให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพราะผู้คัดค้านที่ 1 มีความประพฤติไปในทางที่เสื่อมเสียแก่กองมรดกและวงศ์ตระกูล กรณียิ่งทำให้เห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรอื่นใดที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและยิ่งไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นอย่างยิ่งไม่เช่นนั้นจะเป็นการสร้างปัญหาความขัดแย้งระหว่างทายาทของกองมรดกขึ้นมาอีกมากมาย

หากผู้คัดค้านที่ 1ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจัดการมรดกหรือแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างไรก็ชอบที่จะฟ้องคดีได้ต่างหากอยู่แล้วผู้คัดค้านที่ 1 มีเพียงตัวผู้คัดค้านที่ 1 เป็นพยานเบิกความต่อศาลโดยไม่มีทายาทอื่นหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นยื่นคำร้องหรือเป็นพยานเบิกความสนับสนุนให้เห็นตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1 พยานหลักฐานตามทางไต่สวนของฝ่ายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้น้อยกว่าฝ่ายผู้ร้องคดี

Advertisement

ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นหรือปัญหาอื่นนอกเหนือจากนี้อีกเพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปพิพากษายกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้ตกเป็นพับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image