นักวิชาการ เตือนผู้ผลิต รับมือยุโรปเพิ่มเงื่อนไขใหม่ หลังโควิด กางผลดีผลเสีย

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานคณะกรรมการยุโรปสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่า  หอค้าไทยร่วมกับคณะกรรมการยุโรป จัดสัมมนา ทางรอดธุรกิจไทยปรับตัวอย่างไรในวิกฤตโลกปัจจุบัน ผ่านระบบ ZOOM และเพจเฟซบุ๊ก Thai Chamber เพราะปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ผลกระทบจากโควิด ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหมวดของยานยนต์  ภาคเกษตรตั้งแต่เรื่องอาหารสัตว์จนถึงการทำปศุสัตว์ที่ต้องมีการติดตามทุกด้าน ภาคการเงิน ด้านผลกระทบและทางออกในของอนาคตเศรษฐกิจไทย รวมถึงความเป็นห่วง หากสงครามยืดเยื้อ ส่งผลให้เศรษฐกิจจะเติบโตได้ช้า

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีการเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจภัยต่อมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป ว่า เมื่อธันวาคม 2562 มีประกาศนโยบายของ EU Green Deal ซึ่งตั้งเป้าหมาย net zero ในปี 2050 โดยจะใช้ CBAM เพื่อแก้ปัญหาการรั่วไหลของคาร์บอน ซึ่งคณะกรรมธิการยุโรปได้เผยแพร่ร่างกฏหมาย CBAM และเปิดรับฟังความเห็นจากนานาประเทศต่างๆ ขณะนี้ ร่างกฎหมายอยู่ในกระบวนการนิติบัญญัติของ EU คาดว่ากลางปี 2565 รัฐสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปให้การรับรองกฎหมายแล้วเสร็จจะเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2566

นายดวงอาทิตย์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำคาดว่าภายในปี 2593  ปริมาณการผลิตน้ำมันและก๊าซจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปัจจุบันถึง 55% และ 70% ตามลำดับและการผลิตถ่านหินเพื่อใช้เป็นพลังงานจะลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ ความต้องการรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน (ICE) จะทยอยลดลงเรื่อยเรื่อยในขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นจาก 5% ของการขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดในปี 2563 เป็นเกือบ 100% ภายในปี 2593ปริมาณการผลิตเหล็กกล้าจะเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปัจจุบันโดยสัดส่วนการผลิตเหล็กกล้าที่ปล่อยกลับบ้านต่ำจะเพิ่มขึ้นจากหนึ่งในสี่ของการผลิตเหล็กกล้าทั้งหมดในปัจจุบันเป็นเกือบ 100% ภายในปี 2593 การบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 14% ภายในปี 2583โดยการบริโภคเนื้อไก่จะเพิ่มขึ้นในขณะที่การบริโภคเนื้อวัว ซึ่งปล่อยก๊าซเรื่องกระจกสูงจะลดลง

นายดวงอาทิตย์ กล่าวว่า ข้อเสนอแนะการเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจไทยปรับตัว 8 ข้อ 1.ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้กระบวนการผลิตมีการปล่อยคาร์บอนต่ำพยายามจะมุ่งสู่ Net zero อาจนำแนวคิดเรื่องบีซีจีโมเดลมาประยุกต์ใช้ 2.เตรียมความพร้อมเรื่องการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและผลิตภัณฑ์ โดยอาจขอความร่วมมือหรือรายละเอียดได้จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(อบก) เพื่อขอคำปรึกษาหรือประเมินผลิตภัณฑ์ว่าเป็นอย่างไร 3.ใช้ความพยายามเรื่อง climate changes เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้โดยอาจพิจารณาการติดฉลากสิ่งแวดล้อมและการใช้กลไกราคาคาร์บอนภายในองค์กร 4.เข้าร่วมโครงการลดละเลิกกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (t-ver) และซื้อขายคาร์บอลเครดิต 5. แสวงหาโอกาสใหม่ใหม่เกี่ยวกับธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ 6. พิจารณาสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ภาครัฐไทยมีให้และอาจขอรับการสับสนุนทางเทคนิคและการเงินจากต่างประเทศ 7. ติดตามพัฒนาการที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเกี่ยวกับประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมายได้ศึกษารายละเอียดของมาตรการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจ 8. จับมือกับภาครัฐสื่อสารสองทางในการทำงาน

Advertisement

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สงครามรัสเซียยูเครนทำเศรษฐกิจยุโรปถดถอยเกิดวิกฤติอาหารโลก แต่มองว่าเป็นผลดีต่อประเทศไทยเนื่องจากเป็นโอกาสเติบโต เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าทางเกษตรเยอะอาจมีช่องทางหรือโอกาสที่ทำให้เศรษฐกิจอาหารไทยเติบโตมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นเกษตรกรอาจมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของปุ๋ยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากรัสเซียเป็นตลาดหลักของการนำเข้าปุ๋ยจึงอยากให้ไทยหาช่องทางหรือทำอุตสาหกรรมปุ๋ยแห่งชาติ หรือทำปุ๋ยอินทรีเข้ามาทดแทนปุ๋ยเคมีที่ใช้ต้นทุนในการนำเข้าสูง เพื่อแบ่งเบาภาระเกษตรกร

นายอัทธ์ กล่าวว่า การปรับตัวจากการผันผวน ความไม่แน่นอน การซับซ้อน และความคลุมเครือต่อสถานการณ์ของโลกที่ไม่ชัดเจนจากสงคราม มองว่าตลาดที่กำลังโตมีอินเดียและตะวันออกกลางหรืออาเซียนที่การขยายตัวยังไม่ลดลงมาก แนะนำว่าการส่งให้สินค้าไทยเข้าไปทำในตลาดเพิ่มมากขึ้น และปุ๋ยเคมีต้องมีการผลิตใช้ในประเทศไทยให้มากขึ้น อีกทั้งต้องสร้างแบรนด์ที่เน้นสิ่งแวดล้อม

“ไทยอาจส่งออกน้ำมันมะพร้าวได้จะทำให้เกิดเป็นสินค้าที่มีการส่งออกมากในตลาดยุโรป เนื่องจากยุโรปเป็นตลาดเครื่องสำอางที่ใหญ่ที่สุดโดยใช้น้ำมันจากเมล็ดในปาล์ม ckpo แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมปาล์มอาเซียนทั้งระบบมีปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม ยุโรปจึงมีการนำเข้าน้ำมันมะพร้าว ซึ่งเหมาะสำหรับทำเครื่องสำอางที่อาจเป็นตลาด สินค้าใหม่ของไทย” นายอัทธ์ กล่าว

Advertisement

นายสมพล ธนาดำรงค์ศักดิ์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์ไทยถือเป็นการส่งออกรายได้หลักของประเทศ ภาพรวมอุตสาหกรรมชิ้นส่วนในปี 2562 มีการส่งออกการผลิตรถยนต์จำนวน 1.43 ล้านคัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.68 ล้านคัน ซึ่งปี 2565 คาดการณ์ว่าจะมีการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 1.8 ล้านคัน อย่างไรก็ตาม สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนก็ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจการผลิตรถยนต์ที่ทำให้ขาดแคนชิป หรือชิ้นส่วนยานยนต์เป็นวงกว้าง แต่การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยไปตลาดยุโรปยังคงมีดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังเป็นที่นิยมในตลาดยานยนต์สำคัญและได้รับผลกระทบในระดับที่ต่ำ

นายสมพล กล่าวว่า แม้เทรนด์การใช้รถยนต์อีวีเป็นกระแสมากขึ้น แต่ประเทศไทยยังขาดชิ้นส่วนต่างๆที่นำมาทำแบตเตอรี่หรือองค์ประกอบของรถยนต์อีวี ซึ่งต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่หากจะผลักดันการใช้รถอีวีเป็น 100% มองว่าทำได้ยากและสร้างมูลค่าน้อยเพราะต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและประเทศไทยยังมีการใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งโอกาสของประเทศไทยที่จะขยายตลาดยังเป็นการผลิตรถยนต์ประเภทสันดาป (ICE) จากการส่งออกตลาดยุโรปยังได้ผลดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง รถยนต์อีวีหรือรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ได้มีการรองรับในทุกประเทศ หรือเกิดการแพร่หลายในวงกว้าง

นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดส่งผลกระทบให้การส่งออกเนื้อไก่ของไทยลดลง เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีมาตรการล็อคดาวน์ประเทศ จึงทำให้การส่งออกลดลง อย่างไรก็ตาม ตลาดการส่งออกหลักของไทยที่ยังคงส่งออกต่อเนื่องคือประเทศญี่ปุ่น 50% รองลงมาเป็นอังกฤษและยุโรป ส่งออกรวมกันราว 30% รองลงมาจีนและเกาหลีใต้ ขณะที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงเกิดปัญหาส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากไก่เกิดการติดเชื้อทำให้การส่งออกหยุดชะงัก คู่ค้าที่เคยซื้อไก่จากไทยก็แสวงหาตลาดใหม่ๆมาทดแทน ในระยะต่อมาผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ปรับตัวได้และการแพร่ระบาดลดลง ได้เกิดปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน อย่างไรก็ตาม ไทยใช้โอกาสนี้การส่งออกเนื้อไก่ตลาดใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ทำให้กำลังการผลิตและการส่งออกขยายตัว ซึ่งได้มองถึงการผลิตข้าวโพดภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้นด้วยการทำการวิจัยการพัฒนาข้าวโพดอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการผลิตภายในประเทศ

นางขวัญใจ เตชเสนสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) กล่าวว่า ผู้ประกอบการเผชิญกับวิกฤตโควิด สงครามรัสเซีย-ยูเครน และภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ผู้บริโภคมีมุมมองต่อการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ปี 2565 ผู้คนคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิดอาจทำให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้นจากการกลับมาใช้จ่ายของประชาชน แต่ในปัจจุบันโลกได้ปรับเปลี่ยนไปตามเทรนด์ที่มีการลดภาวะโลกร้อนจึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการใช้พลังงานที่นำมาเป็นเทคโนโลยีในการสร้างธุรกิจ อยากให้ผู้ประกอบการดูทิศทางของผู้บริโภคด้วย ซึ่งจากเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นเอ็กซิมแบงค์ก็ยังคงให้การสนับสนุนผู้ประกอบการจะช่วยในส่วนของการให้คำแนะนำและมีการรับรองประกันการส่งออกที่คุ้มครองความเสี่ยงทางการค้าจะมีการประเมินความเสี่ยงโดยผู้ส่งออกจะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังมีการคุ้มครองทางการเมืองในกรณีการเกิดสงครามหรือจลาจล จะครอบคลุมในส่วนนี้ด้วย หากการทำประกันการส่งออกของเอ็กซิมแบงก์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image