‘ตรีนุช’ ย้ำองค์กรหลัก แม้ยุบสภา ต้องเดินหน้านโยบายการศึกษา เร่งทำความเข้าใจบัตร 2 ใบ หวั่น ‘น.ร.-น.ศ.’ เสียสิทธิ

‘ตรีนุช’ ย้ำองค์กรหลัก แม้ยุบสภา ต้องเดินหน้านโยบายการศึกษา เร่งทำความเข้าใจบัตร 2 ใบ หวั่น ‘น.ร.-น.ศ.’ เสียสิทธิ

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยกรณีที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว ทำรัฐบาลขณะนี้ อยู่ในรูปแบบรัฐบาลรักษาการ ว่า หลังจากยุบสภาไป การทำงานอาจจะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น การลงพื้นที่ตรวจราชการ แม้จะทำได้ปกติ แต่ต้องระมัดระวังหลีกเลี่ยงไม่ให้มีนักการเมือง หรือผู้สมัคร ส.ส.เข้ามาในกิจกรรม เป็นต้น ส่วนของการทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ก็สามารถทำงานต่อได้ปกติ จนกว่าจะมีการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่ ส่วนการแต่งตั้งผู้บริหาร ที่ว่างอยู่ ได้แก่ เลขาธิการสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) หรืออธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 และรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) 2 ตำแหน่ง ก็สามารถต่อทำได้ แต่ต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน ดังนั้น การสรรหาผู้บริหารระดับสูง ก็จะเดินหน้าต่อตามกระบวนการที่มีอยู่ เพราะขณะนี้ มีการเปิดการสรรหาตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงแล้ว

น.ส.ตรีนุชกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ แม้จะยุบสภา เป็นรัฐบาลรักษาการแล้ว ได้เน้นย้ำผู้บริหารระดับสูง และองค์กรหลัก ว่า ให้ช่วยกำกับติดตามนโยบายต่างๆ ที่ยังค้างคาอยู่ รวมทั้งวางแผนการทำงานให้เป็นไปตามปกติ เพราะตนสามารถกำกับติดตามงานได้ตามปกติ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ไม่ว่าจะเป็นการรับนักเรียน การสอบครูผู้ช่วย การแต่งตั้งผู้อำนวยโรงเรียนขนาดเล็ก การสรรหารองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และการเตรียมตวามพร้อมด้านต่างๆ เพื่อให้การเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยที่สุด

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษาที่มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือก ส..เขต และ บัตรเลือกพรรค (..บัญชีรายชื่อ) ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนให้กับนักเรียนได้ น..ตรีนุชกล่าวว่า เชื่อว่าโรงเรียนแต่ละแห่งจะมีช่องทางให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษาอยู่แล้ว แต่ก็ได้ให้นโยบายกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และ กศน. ว่าจะต้องให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งกับนักเรียนนักศึกษาเพื่อไม่ให้นักเรียนนักศึกษาเสียสิทธิและมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image