‘ดร.ณัฎฐ์’ สอนมวย นรินทร์พงศ์ ชี้ปมส.ว.โหวตนายกฯ ไม่ใช่ภารกิจหลัก คาดคะเน ตีปลาหน้าไซ

เมื่อวันที่ 24 เมษายน จากกรณี นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมสภาทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ว่า ประเทศไทยยังสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตทางการเมืองหลายครั้ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญ 2560 ออกแบบโดยเผด็จการ ที่มีเจตนาต้องการสืบทอดอำนาจ ได้เขียนกำหนดไว้ในมาตรา 272 ให้ ส.ว.มีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลการลงมติของ ส.ว.จะนำไปสู่วิกฤตของบ้านเมือง

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฎฐ์ นักกฎหมายมหาชน ให้สัมภาษณ์ต่อประเด็นดังกล่าว โดยได้อธิบายและให้ความรู้กฎหมายมหาชนแก่ประชาชนว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจ ก่อนว่า เดิมสมาคมทนายความแห่งทนายความแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นก่อนสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยสภาทนายความเกิดขึ้น ตามพ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ทำให้บทบาทของสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยถูกลดบทบาทลงเป็นเพียงสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประชาชนยังสับสนระหว่าง สภาทนายความกับสมาคมทนายความ แต่ภารกิจหลักในการควบคุมวิชาชีพทนายความและมรรยาทนายความเป็นหน้าที่ของสภาทนายความ ส่วนสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งแพะพาณิชย์ โดยมีภารกิจช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง การออกแถลงการณ์ทางการเมืองไม่ได้เป็นภารกิจหลัก ทำให้ประชาชนสับสนว่า เอาองค์กรทนายความมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่ความจริงแล้ว สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย แยกเด็ดขาด ต่างหากจากสภาทนายความฯ ประชาชนอย่าไปสับสน จะสอนมวย นายนรินทร์พงศ์ ให้ หากจะให้สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยแข่งขันให้เท่าเทียมกับสภาทนายความ ให้ประชาชนยอมรับในภารกิจหลักในการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและยากจน จะต้องไม่เอาสมาคมทนายความฯมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

ประเทศไทยไม่ได้ตกอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมือง ทางตันทางการเมือง ขณะนี้รัฐบาลมีคณะรัฐมนตรีรักษาการฯภายหลังยุบสภา โดยอยู่ในระหว่างเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองและนักการเมือง อยู่ระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง นายนรินทร์พงศ์ จะรู้ได้อย่างไรว่า พรรคการเมืองใด ชนะการเลือกตั้ง และพรรคการเมืองใดจัดตั้งรัฐบาลได้ ขนาดผลโพลต่างๆยังชี้นำ เป็นโพลที่สำรวจข้อมูลไม่ครบถ้วนในการเก็บตัวอย่าง ไร้ความน่าเชื่อถือ เป็นไปตามพรรคการเมืองใดจ้าง ไม่ได้อิสระตามหลักวิชาการ การโยนหินถามทาง ปมโหวตเสียงสมาชิกวุฒิสภาล่วงหน้าเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี เรียกว่า “ตีปลาหน้าไซ” นายนรินทร์ เป็นนักกฎหมาย จะต้องศึกษารัฐธรรมนูญให้รอบด้าน เป็นนายกสมาคมทนายความฯอย่าไปเอาสมาคมองค์กรไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะไม่ใช่ภารกิจหลักของสมาคมทนายความฯ โดยขณะนี้บ้านเมืองยังไม่ถึงทางตัน การแถลงการณ์เหมือนจะห่วงใยบ้านเมือง แต่แฝงไปด้วยตีปลาหน้าไซ ประชาชนอ่านเกมออก โดยเฉพาะข้อกฎหมายมาตรา 272 วรรคหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้ว่า ในระหว่างห้าปีแรกนับตั้งแต่ที่มีรัฐสภาชุดแรก การให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ให้ประชุมร่วมกันของรัฐสภาและมีมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ให้ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในสภา หมายความว่า ใช้เสียงทั้ง ส.ส.และสว.รวมกัน 700 เสียง เกินกึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี แต่กระนั้นเลย กระบวนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรียังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ทราบผลการเลือกตั้ง ส.ส. และยังไม่ถึงวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 โดยพรรคการเมืองใด จะชนะเลือกตั้ง รวบรวมเสียง เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แล้วนายนรินทร์พงศ์จะไป หยั่งรู้ฟ้าดินได้อย่างไร ว่า ส.ว.จะโหวตเลือกใคร เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นดุลพินิจ สว. โดยเฉพาะหาก รวบรวม ส.ส.ได้ถึง 376 เสียง โดยไม่จำต้องพึ่งเสียง ส.ว. 250 เสียง การเมืองอาจเกิดขึ้นได้หมด อาจพลิกได้เพียงข้ามคืน อย่าประมาท ข้อแถลงการณ์ทั้งสองข้อของนายนรินทร์พงศ์ เป็นการคาดเดา เปรียบดังหมอดู ไม่ต่างจากหมดเดา แบบนี้ ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องแถลงการณ์ในนามสมาคมทนายความฯเลย เพราะเหตุการณ์ยังไม่ได้เกิด เป็นการคาดคะเนทั้งสิ้น เพราะยังไม่แน่ชัดว่า ถึงเวลาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี สว.จะเลือกใคร เพราะบุคคลที่จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองนั้นจะต้องคว้าที่นั่ง 25 ขึ้นไป และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 วรรคสอง การเสนอชื่อต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้ง พรรคการเมืองได้เสนอแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจำนวนมาก ไม่อาจคาดหมายว่า ว่าที่นายกรัฐมนตรีเป็นใคร เป็นการคาดเดาล้วนๆ นายนรินทร์พงศ์ ไม่ต้องไปกังวลใจแทนพรรคเพื่อไทยว่า จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ อย่างไร เพราะแถลงการณ์อย่างนี้ ไม่ได้อยู่ในสภาวะทางตันของบ้านเมือง ประชาชนมองออกว่า เจตนาเพื่ออะไร สนับสนุนฝ่ายใด แทนที่จะผลักดันภารกิจช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ถามว่า สมาคมทนายความฯมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการเมืองหรือไม่ อย่างไร

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า การออกแบบรัฐธรรมนูญ เป็นผลผลิตจากการรัฐประหาร แต่ผ่านการโหวตประชามติจากเสียงส่วนใหญ่ของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ เป็นประชาธิปไตยโดยตรง เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง โดยเขียนไว้ในหลายมาตรา ส่วนมาตรา 272 ให้อำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี แต่มีกรอบระยะเวลา คือ อายุ ส.ว.ครั้งแรก คือ 250 คน เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา ส.ว. ลดลงเหลือ 200 คน โดยไม่มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เหลืออีกไม่เกินสองปีกว่าๆ เดิมฝ่ายค้านหาช่องทางแก้ไขมาตรานี้ ทุกช่องทางแล้ว แต่ล้มเหลวไม่เป็นท่า แต่ทำไมถึง นายนรินทร์ กลับไม่พูดถึงรัฐธรรมฉบับปี 2560 เป็นฉบับแก้ไขยาก เพราะในมาตรา 256 (6) การออกเสียงลงคะแนนในวาระสาม ขั้นสุดท้ายให้ใช้วิธีเรียกชื่อและต้องมีคะแนนเห็นชอบจาก ส.ว.หนึ่งในสามหรือประมาณ 84 คน ประเด็นดังกล่าวนี้ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล เสนอมาทุกช่องทางแล้ว ล้มไม่เป็นท่า ตนว่า หากจะเอาดีทางด้านนี้ นายนรินทร์พงศ์ อย่าลืม ทำหน้าที่นายกสมาคมทนายความฯ ต้องผลักดันภารกิจช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย เพราะประชาชนให้ความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของนายกสภาทนายความมากกว่า ที่ไม่เอาองค์กรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

Advertisement

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image