ประเทศที่ ‘ตั้งไข่ล้ม’ โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ประกาศใช้ไปเรียบร้อยแล้ว ทว่ายังมีความเคลื่อนไหวคืนหน้าที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุด พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ในนามของวิปสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ออกมาเปิดเผยว่ามีการเสนอรายงานของคณะกรรมการการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เรื่อง “ข้อเสนอการปฏิรูปการเมืองเพื่อเป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ”

ซึ่งเรื่องหนึ่งในข้อเสนอนั้นคือ “การให้ทบทวนปรับแก้รัฐธรรมนูญให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเหตุการณ์ สถานการณ์บ้านเมืองทุก 10 ปี”

ในหลักทั่วไปการอยู่ร่วมกันในสังคมจะต้องมีกติกาที่ยอมรับร่วมกัน

Advertisement

แม้ฟังดูมีเหตุผลมีผลที่กติกาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมกับสภาวะสังคมในแต่ละช่วงเวลา

หากแต่ว่าการบริหารประเทศจัดการประเทศให้เกิดการยอมรับ และน่าเชื่อถือทั้งในจากคนในประเทศเอง หรือจากนานาประเทศกติกาจะต้องมีความแน่นอนในระดับหนึ่ง

เพราะมีความจำเป็นต้องจัดการกติกาให้ลงตัวทั้งยืดหยุ่น ปรับตัวได้อย่างเหมาะควรกับสถานการณ์ และมีความแน่นอนมั่นคงในขณะเดียวกัน การบริหารจึงแบ่งแบ่งกติกาเป็นหลายระดับ

Advertisement

มี “รัฐธรรมนูญ” เป็นกติกาสูงสุด ซึ่งต้องอยู่ในอยู่ในสถานะของกติกาที่มั่นคง แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง โอนเอนไปง่ายๆ เพื่อสร้างความไว้เชื่อเชื่อใจว่าประเทศชาติมีหลักที่จะของความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ไม่แปลเปลี่ยนไปตามแต่ใจของใครได้ง่ายๆ

รองลงมาเป็นกฎหมายทั่วไป อย่างประมวลกฎหมายต่างๆ ที่จะลงในรายละเอียดในเรื่องการกระทำตัวไว้ ตามด้วย พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก. และระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของแต่ละหน่วยงาน

หลักการของกฎหมายคือ ความแน่นอนมั่นคงอยู่ที่กฎหมายระดับสูง การโอนอ่อน ยืดหยุ่น แปลเปลี่ยนขึ้นอยู่ไปอยู่ที่กฎหมายระดับรองๆ ลงมาเรื่อยๆ

“รัฐธรรมนูญ” เป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นต้องเขียนโดยยึดหลักของรัฐธรรมนูญไว้ จะเขียนให้ขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

แต่ละเรื่องละราวที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ต้องจัดทำกฎหมายมากมายขึ้นมาเพื่องรองรับเป็นทอดๆ ไป

ลองคิดดูว่าหากต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่กันอยู่เรื่อยๆ ไม่ใช่แค่ผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะสับสนอลหม่านไม่หยุดหย่อนว่าประเทศนี้จะเอาอย่างไรกันแน่ในกรอบของกติกาความสัมพันธ์ระหว่างกัน จะอยู่ร่วมกันในหลักใหญ่ๆ อย่างไร ใครเป็นเจ้าของอำนาจ จะใช้อำนาจอย่างไร เปลี่ยนไปอย่างนี้ แล้วภายหน้าเปลี่ยนไปแบบไหน อะไรคือความแน่นอน เท่านั้น

แต่ “กฎหมายระดับล่าง” จะต้องร่างกันใหม่หมดตามกติกาสูงสุดที่เปลี่ยนไป ความโกลาหลจะเกิดขึ้นไม่รู้หยุดรู้หย่อน

ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกระทั่งประเทศทั่วไปไม่มีที่ไหนจะเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกันบ่อยๆ เพราะมันโกลาหลอย่างว่า ทำให้กฎหมายที่ออกตามๆ มาไม่สามารถบังคับใช้ได้

ยกเว้นเสียแต่จะมั่วๆ กันไป

ทว่าเรื่องราวที่ดูพิลึกกึกกือแบบนี้เอง กลับกลายเป็นข้อเสนอที่ฟังดูแล้วมีเหตุมีผล และเหมาะสมควรจะเป็นไป

“การมีรัฐธรรมนูญที่ต้องแก้ทุก 10 ปี” เป็นเรื่องที่หลายคนเห็นดีเห็นงามด้วยแน่นอน

ส่วนหนึ่งเพราะคนกลุ่มหนึ่งที่เชื่อมั่นในการบริหารจัดการประเทศในหลักการ “สิทธิที่เท่าเทียมกันของประชาชน” ย่อมเห็นคสามพิกลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้และอยากจะแก้ไข

แต่นั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่ง

สำหรับส่วนใหญ่ของการเห็นดีเห็นงามกับการมีรัฐธรรมนูญที่ต้องแก้ไขทุก 10 ปีนั้น เกิดจากความเคยชิน ไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ

เพราะว่าประเทศไทยเราใช้รัฐธรรมนูญเปลืองที่สุด

เป็นประเทศที่ไม่ลงตัวเสียดีสำหรับกติกาการอยู่ร่วมกัน

ผิดกับที่อารยะประเทศเขาเป็นกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image