“บิ๊กฉัตร”สั่งเช็คข้อมูลสารตกค้างหลังใช้”พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส-ไกลโคเสต”อันตรายจริงหรือไม่

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการยังกรมวิชาการเกษตร ที่เป็นหน่วยงานขึ้นทะเบียน และอนุญาตการนำเข้าสารเคมี ให้รายงานความชัดเจนและรายละเอียดการสั่งระงับการนำเข้าสารเคมี 3 ตัว คือ ไกลโคเสต พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ทั้งนี้ยืนยันว่าขณะนี้ตนยังไม่ทราบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่า สารเคมีทั้ง 3 ตัว ใช้แล้วมีสารพิษตกค้าง จึงให้กรมวิชาการเกษตรไปรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมารายงานความชัดเจนอีกครั้ง

“ในการปฏิรูปประเทศ มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสินค้า ที่มีสารบนเปื้อน สารเคมีตกค้าง ดังนั้นกระทรวงเกษตร โดยกรมวิชากการเกษตร ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงสั่งให้กรมวิชากการเกษตรไปดูให้รอบคอบว่า สารที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้แบน มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันได้หรือไม่ว่า เป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ในส่วนของคณะกรรมการปรับปรุงและจัดทำกฎหมายเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และ ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คงมีการหารือกันเบื้องต้น หากต้องมีการขอความเห็น คงเชิญกระทรวงเกษตรฯเข้าประชุมอีกครั้ง”พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

รายงานข่าวจากกระทรวงเกาตรและสหกรณ์ แจ้งว่า ในการประชุมผู้บริหารของกระทรวงเกษตรเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2560 นั้น พล.อ.ฉัตรชัย ได้สอบถามถึงการ ทำประชาพิจารณ์ในเรื่องการยกเลิกยากำจัดศัตรูพืชและแมลง 3 ชนิด ได้แก่ ไกลโคเสต พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ รายงานว่า จากการที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เสนอการควบคุมการใช้สารเคมี 3 ชนิด ดังกล่าว โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้มอบหมายกรมวิชาการเกษตร ในฐานะกรรมการฯ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. จัดการประชุมหารือเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 โดยเชิญผู้แทน สธ. กรมควบคุมมลพิษ และผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารทั้ง 3 ชนิดแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาผลกระทบต่อสุขภาพ และสาพิษตกค้าง จากยากำจัดศัตรูพืช และแมลง 3 ชนิด 2.แต่งตั้งคณะทำงานเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาหาสารทดแทนยากำจัดศัตรูพืช และแมลงทั้ง 3 ชนิด ตามข้อเรียกร้องของ สธ. โดยได้เชิญอาจารย์จาก 5 สถาบันเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน 3.จัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรใน 4 ภาค ได้แก่ จ.ขอนแก่น เชียงใหม่สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพฯ ซึ่งเกษตรกรบางส่วนยังมีความคิดเห็นว่า สารเคมีดังกล่าวยังมีความจำเป็น และบางส่วนคิดว่าควรยกเลิก จึงเกิดความขัดแย้งกัน ทำให้มีการนำเสนอข่าวต่อสื่อดังกล่าว ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร จะพิจารณาความคิดเห็นของเกษตรกร และข้อมูลจากผลการศึกษาของ สธ. ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อสรุปเป็นแนวทางการดำเนินงาน หากเป็นกรณีที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของกรมวิชากการเกษตร ก็จะเสนอเรื่องไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ สธ. ต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image