เริ่มแล้ว 7 วันอันตราย คอลัมน์โลกสองวัย

สัปดาห์แห่ง “7 วันอันตราย ลดตายบนถนน” ห้วงสงกรานต์ตั้งแต่วันนี้ 10 เมษายน ถึง 16 เมษายน 2561

ทั้งมูลนิธิเมาไม่ขับ ทั้งคณะแพทย์วชิรพยาบาลฉุกเฉินเตรียมรับสถานการณ์ และคณะอื่นที่ไม่ต้องการเห็นตัวเลขนักขับขี่มอเตอร์ไซค์บาดเจ็บล้มตายจากอุบัติเหตุสงกรานต์ไม่ว่าด้วยกรณีใด

หลายปีที่ผ่านมา สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) จากการสนับสนุนของสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รายงานข้อมูลทั้งอุบัติเหตุสงกรานต์และอุบัติเหตุปีใหม่ยังมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

ปัญหาที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุยังเป็นปัญหาเดิม โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางถนน มีมอเตอร์ไซค์เป็นหลัก สาเหตุจากเมาแล้วขับ กับขับรถเร็ว ที่สำคัญคือประมาท

Advertisement

มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนมี 2-3 ประการ อาทิ

มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน มีหลายประการ ตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง ยังไม่มีการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างแท้จริง เช่น การจำกัดความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ขับรถย้อนศร ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่มีใบขับขี่ เมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ และผู้ขับขี่ไม่ยอมทดสอบความสามารถในอันที่จะขับ หรือเมาสุรา หรืออย่างอื่น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเมาสุรา หรือเมายาอย่างอื่น รวมถึงการห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ระหว่างทาง

นอกจากนั้นยังละเมิดกฎหมายกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกฎหมายสถานบริการ กฎหมายทางหลวง กฎหมายขนส่งทางบก

Advertisement

อันเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุจากการไม่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่เช่นนักปกครองท้องที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การจัดตั้งด่านชุมชนเพื่อสกัดกลุ่มเสี่ยงและลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นที่ มาจากสาเหตุเดิม คือเมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด มอเตอร์ไซค์ไม่สวมหมากกันน็อก

เหล่านี้ควรมีกิจกรรมเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นประจำ เช่นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อให้ประชาชนรับทราบถึงสถานการณ์ความปลอดภัย และสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงที่ผ่านมา ทั้งปีใหม่และสงกรานต์ในแต่ละปี ในแต่ละท้องที่

มาตรการลดปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนนมี อาทิ

“1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย” ให้องค์กรปกครองบริหารส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจัดให้มีถนนปลอดภัยในพื้นที่เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และสร้างวินัยจราจรให้ผู้ใช้รถใช้ถนน

ให้หน่วยงานเจ้าของถนนตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน และปรับปรุงซ่อมแซมให้มีความปลอดภัย รวมทั้งขอความร่วมมือผู้รับจ้างก่อสร้าง ซ่อมแซมถนนให้เร่งดำเนินแล้วเสร็จก่อนถึงวันเทศกาลสงกรานต์

หากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ควรติดตั้งเครื่องหมาย ป้ายเตือน ให้ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเห็น

ให้ตรวจสอบจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และจุดเกิดุบัติเหตุใหญ่ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เสร็จสิ้นในเร็ววันนี้ หากยังไม่เสร็จต้องมีป้ายเตือนให้ชัดเจนเป็นระยะ

จุดสำคัญอีกบางจุด เช่นจุดตัดทางรถไฟที่เกิดปัญหาบ่อยให้มีความปลอดภัยในการสัญจร เช่นจัดทำคลื่นระนาดเพื่อชะลอความเร็ว ติดตั้งสัญญาณไฟ หรือสัญญาณเสียง จัดทำป้ายเตือนในระยะห่างพอสมควรเพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นชัดเจนในระยะถี่ๆ

ระยะแห่งเทศกาลสงกรานต์ควรจัดเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครสับเปลี่ยนในการเฝ้าระวัง ปิดแผงกั้น ตามช่วงเวลารถไฟมา

ควรจัดเตรียมจุดพักรถและจุดบริการเพิ่ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน

มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ รถโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง พนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ มีการตรวจสภาพรถโดยสารสาธารณะให้ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และกำชับในเรื่องความเร็ว ผลัดเปลี่ยนพนักงานขับรถตามระยะทางและกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัด ยังมีมาตรการอีกหลายประการจากนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image