เทคนิคช่วย “คนทำงานยุค 4.0” พิชิต “ความเสื่อม” ร่างกาย

Serious businessman working with analysis financial at office.

จากผลการสำรวจล่าสุด พบว่าคนกรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 จาก 71 เมืองที่มีชั่วโมงการทำงานมากที่สุด โดยทำงานมากถึง 42.13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ข้อมูลจากรายงาน Prices and earnings 2015: Do I earn enough for the life I want? ของธนาคาร UBS) ทำให้ชีวิตส่วนตัวและเวลาพักผ่อนน้อยลง จนเกิดภาวะ “Burn out Syndrome”

นายแพทย์สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก และเวชศาสตร์ชะลอวัย ให้ข้อมูลว่า Burn out Syndrome เป็นโรคทางร่างกายและจิตใจชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำงานหนักมากเกินไปจนหมดพลัง เพราะเสียสมดุลระหว่างเรื่องงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว (work-life balance) ทำให้เกิดอาการสมองไม่แล่น ความจำไม่ดี มีอาการนอนไม่หลับ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน และรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับการทำงาน หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดโรคทางกาย เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคทางจิต เช่น โรคประสาทเครียดและโรคซึมเศร้าตามมาได้

“วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะในยุคนี้ที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงการทำงาน คนสามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลาไม่เว้นวันหยุด จนทำให้การพักผ่อนรวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพให้มีความสมบูรณ์และสมดุลเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นหรือถูกละเลยไป สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อร่างการเริ่มมีภาวะ Burnout Syndrome แล้วปล่อยให้เรื้อรัง ไม่รีบดึงร่างกายและจิตใจให้กลับมาอยู่ในภาวะสมดุลตามธรรมชาติ สุดท้ายจะหาทางออกด้วยการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป สูบบุหรี่จัด กินมากกว่าปกติ และพึ่งการใช้ยานอนหลับ”

Portrait of young stressed man sitting on bed with laptop wearing smart casual clothing, holding his head in hands with frustrated facial expression, having headache, negative human emotions

พฤติกรรมนี้จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเสื่อม เพราะมีสารอนุมูลอิสระเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป จึงไม่แปลกที่เห็นคนอายุน้อยหลายคนมีปัญหาสุขภาพ นายแพทย์สิทธวีร์ จึงได้ให้วิธีป้องกันตัวเองจากภาวะ Burn out Syndrome ไว้ว่า

Advertisement

1. จัดระเบียบให้ชีวิต

จัดสรรเวลาทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวให้ลงตัว จัดลำดับความสำคัญของงานก่อน-หลัง และรับผิดชอบให้เสร็จตามกำหนด และรู้จักการแบ่งเวลาทั้งเรื่องงาน ครอบครัว เพื่อนฝูง และเวลาสำหรับการพักผ่อนส่วนตัวให้ชัดเจน เช่น เวลาทำงานหนึ่งชั่วโมง ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วพัก 10-15 นาที หมุนเวียนทุกๆ ชั่วโมง หรือเมื่อทำงาน 5 วันแล้ว ควรพักสัก 2 วัน ไม่ใช่ทำงานตลอดทั้ง 7 วัน

2. ลดการใช้โทรศัพท์และโซเชียลมีเดีย

Advertisement

เมื่อถึงเวลาพักผ่อนควรงดใช้โทรศัพท์และโซเชียลมีเดียทั้งหมด แม้จะเป็นเรื่องยากมากก็ตาม ควรฝึกการแบ่งเวลาและตั้งกฎสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียให้เหมาะสม หากกังวลอยู่กับการใช้โซเชียลมีเดียหรือเช็คอีเมลอยู่ตลอดเวลาก็จะทำให้เวลาพักผ่อนน้อยลง แถมจะทำให้เกิดความเครียดในเวลาพักผ่อนอีกด้วย

3. เลือกอาหารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระสามารถสร้างได้หากรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระได้ดี เช่น อาหารที่ให้วิตามินซีอย่าง ฝรั่ง ส้ม มะขามป้อม ส่วนวิตามินเอและแคโรทีนอยด์มีมากในพืชผักที่มีสีเขียวเข้ม และผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image