‘พท.-ปชป.’จับมือ ค้านยกเลิก‘ส.ข.’

หมายเหตุ – ความเห็นของสมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) และประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้ความเห็นถึงข้อเสนอของกรุงเทพมหานคร ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … โดยให้ยกเลิกสมาชิกสภาเขต (ส.ข.)

ศิริพงษ์ รัสมี
อดีตประธานสภาเขต กทม.
(ตัวแทน พท.)

ตอนนี้เหมือนคน กทม.กำลังจะโดนดูถูก เพราะใครจะทำอะไรก็ได้ ต่างจากในต่างจังหวัด ส.ข.อาจเหมือนเป็นฐานอำนาจทางการเมือง แต่ว่าไม่ใช่ เพียงแค่ใน กทม.แคบและเล็กกว่า จึงสงสารประชาชน ผมเองเคยเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้านปีสุดท้ายของ กทม. ปี 2547 ก่อนจะเป็นสภาเขต ผมรู้ว่า ส.ข.มีความสำคัญอย่างไร ตอนนี้เห็นประชาชนแล้วสงสาร เพราะ ส.ก.ในยุคนี้ที่แต่งตั้งมา ผมยังไม่เคยเห็นหน้าเขาเลย

Advertisement

แต่พวกที่หมดวาระไปแล้วทั้ง ส.ก. ส.ข.ต่างก็ไปร่วมงานของประชาชน ยังไปช่วยประชาชน และยังคิดไม่ออกว่าพวกที่ถูกสรรหาเข้ามา จะดำเนินงานต่อไปได้อย่างไร

ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ
อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร (ตัวแทน พท.)


ขอคัดค้านการแก้ไขกฎหมายตามข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ให้มีการยกเลิก ส.ข. แล้วตั้งประชาคมเขต กทม.แทน เพราะประชาคมที่ตั้งนั้น เป็นการเลือกโดยกลุ่มบุคคล ไม่ยึดโดยประชาชนเหมือน ส.ข.ที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ผ่านมา ส.ข.มีความสำคัญมาก เพราะถือเป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนโดยตรงเมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้ ประชาคมเขตที่จะมีการสรรหานั้น ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มสาขาอาชีพ ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ที่ควรเลือกตามกลุ่มผู้อยู่อาศัย หรือโซนพื้นที่ เพราะจะได้รับทราบปัญหาของประชาชนแต่ละพื้นที่

Advertisement

นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ กทม.เปิดให้มีการทำประชาพิจารณ์ใหม่ เพราะที่แล้วมา กทม.รับฟังความเห็นเรื่องนี้ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งไม่ครอบคลุมชาว กทม.ทุกกลุ่ม และการเปิดรับฟังความเห็นอย่างไม่ครอบกลุ่ม ถือว่าไม่ยอมเปิดโอกาสให้ประชาชนอย่างทั่วถึง พร้อมกันนี้ยังขอเรียกร้องให้ กทม.เปิดเผยผลการประชาพิจารณ์ที่ทำผ่านเว็บไซต์ เพราะถ้ามีคนมาแสดงความเห็นเพียงไม่กี่พัน ก็ไม่ถือว่าเป็นประชาพิจารณ์ไม่สมเหตุผมผล ดังนั้น กทม.จึงควรใช้ 50 เขตใน กทม.ทำประชาพิจารณ์เต็มรูปแบบ เพื่อที่จะได้รับทราบความต้องการให้ประชาชนอย่างแท้จริง

ส่วนประเด็นที่ สปช.ต้องเสนอยกเลิก ส.ข.เพราะเอื้อประโยชน์ทางการเมืองนั้น ส่วนตัวไม่ทราบเรื่องดังกล่าว จึงอยากขอความชัดเจนในเรื่องนี้จาก กทม.และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย แต่ด้วยหลักการแล้ว กทม.เป็นเมืองใหญ่ จึงเชื่อว่าผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง ย่อมมีสามัญสำนึกกว่าคนที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างแน่นอน แม้จะไม่ได้ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถูกเลือกโดยประชาชนในพื้นที่ ซึ่งไม่ควรมองเป็นประเด็นทางการเมือง หรือหวั่นกลัวว่าจะเป็นฐานเสียงของใคร เพราะท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ต่างก็มีเลือกตั้งกันทั้งนั้น ล้วนเป็นเรื่องปกติ เพราะการทำหน้าที่ของผู้แทนท้องถิ่นย่อมใกล้ชิดประชาชน หากพบว่ามีปัญหาก็ต้องหาวิธีจัดการ หาใช่การยกเลิก

อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี
อดีต ส.ส.กทม. พรรค ปชป.

ที่ผ่านมาคนเป็นสมาชิกสภาเขต หรือ ส.ข.มีเงินเดือนเพียงแค่ 1 หมื่นต้นๆ ถือเป็นเงินเดือนที่น้อยกว่าข้าราชการ

บรรจุใหม่ รวมไปถึงลูกจ้างประจำที่มีวุฒิการศึกษาจบปริญญาตรีของสำนักงานเขตต่างๆ เสียอีก ถือว่ามีค่าตอบแทนที่น้อยมาก

และที่สำคัญ ส.ข.เป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเพียงตำแหน่งเดียซึ่งถือว่าห่างไกลกับโอกาสที่จะมีส่วนกับการทุจริตคอร์รัปชั่นได้

ขณะเดียวกัน ส.ข.ยังมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้อำนวยการเขต เสมือนเป็นสะพานเชื่อมในการนำเสนอปัญหาหรือเรื่องทุกข์ร้อนของประชาชนไปสู่เขต หรือข้าราชการในแต่ละสำนักงานเขต และที่สำคัญ ยังมีหน้าที่ในการเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของข้าราชการในเขตนั้นๆ

ด้วย ถือเป็นอำนาจในการตรวจสอบ ซึ่งเป็นกลไกในการถ่วงดุลที่ทำให้งานในแก้ไขปัญหาของประชาชน
ในแต่ละเขตเดินหน้าไปได้

ผมจึงไม่เห็นด้วยกับการยกเลิก ส.ข. เพราะจะทำให้สิทธิของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ข.โดยตรงถูกลดทอนลงไป การเสนอร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ฉบับใหม่ ที่มีสาระ

ยกเลิก ส.ข. ซึ่งมีที่มาจากข้อเสนอของรายงานของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอดีตข้าราชการ กทม.เก่า จึงเป็นความพยายามในการรวมศูนย์อำนาจกลับไปสู่มือของข้าราชการมากยิ่งขึ้น ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายของประชาชน และระบอบประชาธิปไตย

การปรับเปลี่ยนจาก ส.ข.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนไปสู่ “กรรมการประชาคมเขต” ซึ่งมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้แต่งตั้งนั้น จะทำให้การตรวจสอบถ่วงดุลจะหายไป และที่สำคัญประชาชนชาว กทม.จะขาดคนที่จะเป็นสะพานเชื่อมในการสะท้อนปัญหาหรือเรื่องทุกข์ร้อนไปสู่ข้าราชการเพื่อนำไปสู่การแก้ไขเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ประพนธ์ เนตรรังษี
อดีตรองประธานสภา กทม. (ตัวแทน พท.)

การสรรหาประชาคมเขต นอกจากไม่ยึดโยงประชาชนแล้ว ยังมีข้อกังกลว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะการแก้กฎหมายครั้งนี้ ไม่ต่างไปจากการรวบอำนาจเข้าส่วนกลาง โดยไม่ยอมกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ส่วน

ผู้ที่กุมอำนาจ ได้แก่ ผู้อำนวยการเขต ปลัด กทม.และผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งการไม่กระจายอำนาจนี้ สวนทางกับรัฐธรรมนูญอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น การได้มาซึ่งประชาคมเขต จึงไม่ได้หมายความว่าจะไม่เอื้อประโยชน์ทางการเมือง และต้องถามว่าสิ่งที่แก้ไขนั้น คนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ ประชาชนได้ประโยชน์หรือไม่ หากไม่เป็นประโยชน์ ก็อาจเป็นตราบาปแก่ตัวเองในอนาคต

ที่พรรคเพื่อไทยต้องคัดค้านประเด็นนี้ เพราะคำนึงถึงประโยชน์ประชาชน เพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ครองฐานเสียง ส.ข. มากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่มี ส.ข.มากที่สุด จึงเรียกร้องให้ กทม.และ สนช.ทบทวนการแก้ไขกฎหมาย โดยรับฟังความเห็นจากประชาชนตามรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้องทุกกระบวนการ ซึ่งที่ผ่านอดีต ส.ข.พรรคเพื่อไทย ก็ได้ไปขอรับฟังเวทีประชาพิจารณ์ในเรื่องนี้
แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปแสดงความเห็น เพราะเป็นการเปิดเวทีอย่างจำกัด ไม่เปิดโอกาสอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร

ที่น่าแปลกใจ และน่าสงสัย คือการเอื้อการเมือง โดยเฉพาะการตั้งประชาคมเขต เพราะการจะแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่นั้น คนในพื้นที่ย่อมรู้ดีกว่าคนจากสาขาอาชีพ เพราะคนจากสาขาอาชีพนั้น ไม่ได้มาสนใจว่าพื้นที่ไหนมีปัญหาอะไรบ้าง ดังนั้น การตั้งประชาคมโดยกลุ่มอาชีพนั้นผิด แต่ควรเลือกจากโซนพื้นที่ตามที่อยู่อาศัย ใน กทม.ความจริงแล้วต้องเลือก ผอ.เขต โดย ส.ข.ทำหน้าที่นิติบัญญัติ ตรวจสอบการทำงาน แต่วันนี้ ส.ข.ยังจะยกเลิกเลย การ

กระจายอำนาจจะถูกลดระดับลงไปอีก
เราจึงขอดูผลการทำประชาพิจารณ์ผ่านเว็บ ถ้าได้มาหลายแสนคนเราพอฟังได้ แต่ถ้าได้แค่พันคน คิดว่ามันล้มเหลว จึงต้องตั้งเวทีทุกเขต เพื่อให้ประชาชนได้ตอบคำถาม เพื่อที่จะได้รู้สิ่งที่เขาบอกกับเรา จะได้สมดุลและลงมติกันใหม่ แต่ถ้าผลออกมาแล้วประชาชนส่วนใหญ่ไม่เอา ก็ต้องยอมรับ แต่วันนี้ยังไปไม่ถึง ปัญหาคือประชาชนยังไม่รู้ เพราะทำผ่านเว็บ ใครจะไปเห็น เรื่องนี้แม้จะดูว่าเล็ก แต่มีผลมากต่อประชาชน ยืนยันว่า ส.ข.กับพรรคเพื่อไทย มีน้อยมาก แต่เราคิดว่ามีประโยชน์ต่อ กทม.ก็เท่านั้นเอง

การสรรหากับการแต่งตั้งนั้นต่างกัน เพราะ 50 เขต เขตละ 20 คน เท่ากับ 1,000 คน เขาสามารถชี้เอาใครเข้ามาก็ได้ ที่สำคัญคือ ผู้อำนวยการเขตจะเป็นประธานประชาคม แทนที่จะให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นประธาน แล้วคิดว่าเขาจะบริหารกันได้หรือไม่ ผมว่าถือเป็นการรวบอำนาจจริงๆ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image