“วันนอร์”หน.พรรคประชาชาติ ชูแก้”เหลื่อมล้ำ-แตกแยก”

หมายเหตุ…นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ให้สัมภาษณ์ ‘มติชน’ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน และทิศทางการทำงานของพรรคประชาชาติ ช่วงเริ่มเข้าสู่การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น

ความคืบหน้าในการจัดตั้งพรรคประชาชาติ หลังจากที่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ตั้งแต่เปิดตัวพรรคประชาชาติ มีผู้แสดงความสนใจที่จะเป็นผู้สมัครในนามพรรค เพื่อลงเลือกตั้งแบบเขต ตอนนี้กำลังคัดเลือกคนที่เหมาะสม เพราะแต่ละเขตมีผู้สมัครเกินกว่าเขคละคน สำหรับพื้นที่ภาคใต้ดำเนินการเสร็จประมาณ 100% อาทิ จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส จ.สงขลา จ.สตูล และจ.พัทลุง ส่วนฝั่งอันดามัน คือ จ.ภูเก็ต จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ระนอง และจ.ตรัง แต่ยังต้องไปซาวเสียงส่วน ส่วนจ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช และจ.ชุมพร ยังไม่เรียบร้อยน่าจะเสร็จช่วงต้นเดือนตุลาคม ส่วนภาคกลางและกทม.เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจมี 120 กว่าเขต เป็นพื้นที่หลากหลายผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10 กว่าล้านคน การเลือกตั้งครั้งหลังสุดไม่มีพรรคใดได้ส.ส.ชนะแบบขาดลอย จะคละเคล้าแบ่งกัน ส่วนกทม.พรรคเพื่อไทย(พท.) และ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) เป็นผู้ครองพื้นที่
แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ยังประเมินไม่ถูก เพราะคนกทม.เลือกตั้งแต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดตามกระแสการเมือง สำหรับพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ กำลังเตรียมแผนการทำงาน บางพื้นที่ได้ลงมือทำงานไปบ้างแล้ว ทั้งนี้ เมื่อพรรคประชาราช ได้รับแจ้งจากคณะกรารมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่าจัดตั้งพรรคโดยสมบูรณ์เมื่อไหร่ จากนั้นจะเปิดเพื่อรับสมาชิกทันที
ส่วนเรื่องเป้าสมาชิกพรรคนั้นก็ต้องรอให้มีการปลดล็อกให้หาเสียงได้เสียก่อน ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงกลางเดือนธันวาคม ขณะที่สมาชิกพรรคนั้น มีอดีต ส.ส.ในพื้นที่ภาคใต้จากพรรคและผู้มีชื่อเสียงมายื่นสมัครเข้าพรรคหลาย แต่ด้วยมารยาทในขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดชื่อได้ เพราะหลายคนยังไม่ได้ลาออกจากพรรคเดิม ต้องให้เขาลาออกให้เสร็จก่อนจึงจะเปิดตัวได้ ในพื้นที่ภาคอีสานมีนักธุรกิจ นักวิชาการแสดงความสนใจจะลงเลือกตั้งในนามพรรคประชาชาติ เพราะชอบในนโยบายของพรรค และหลายคนลงสมัครเป็นครั้งแรก

หลังจากเปิดตัวพรรคไปแล้ว มีกระแสอย่างไรบ้าง
เรากลายเป็นที่น่าสนใจ นอกจากประชาชนสนใจแล้ว ฝ่ายต่างๆ พรรคการเมืองอื่น หรือฝ่ายความมั่นคนต่างให้ความสนใจที่จะมาแทรกแซง มาชิงตัว มาขู่ขวัญผู้สมัครบ้าง แต่ผมถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เราผ่านสถานการณ์นี้มาหลายรอบแล้ว ยิ่งเรามีการต่อสู้ แล้วได้รับการข่มขู่ ขู่ขวัญในสิ่งที่มันไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย ผมว่าเรายิ่งได้รับความเห็นใจจากประชาชนมายิ่งขึ้น และไม่ได้ทำให้เราเสียกำลังใจแต่อย่างใด

ณ วันนี้เริ่มมีการโจมตี ใส่ร้ายป้ายสี
มีการเสนอว่าถ้าย้ายจากพรรคประชาชาติ ไปพรรครัฐบาล นอกจากจะบอกว่าช่วยสนับสนุน แล้วยังมีการเสนอตัวเลขที่น่าตกใจมาก แต่เชื่อว่าตัวเลขเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะมันไม่มีใครที่จะสามารถบอกว่าจะให้มากน้อยได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับการดำเนินการของพรรคการเมือง ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากกต. ชุดนี้ น่าจะเป็นกกต. ชุดที่ทำงานรักษากติกาประชาธิปไตยได้ดีมากกว่าชุดอื่นๆที่ผ่านมา คือเรื่องการรักษากฎหมายโดยเฉพาะการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม เพราะถ้าการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม มันก็พาลไปถึงรัฐบาลต่อไป เพราะคนที่เข้ามาก็จะถอนทุนคืน มันจึงเกิดการคอรัปชั่น และเกิดปัญหา ในที่สุดก็ทำให้ประชาธิปไตยสั่นคลอนไปด้วย ดังนั้นเราหวังว่ากกต.จะเข้มงวด ไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด และก็ดำเนินตามกติกาอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกติกาใหม่ มันสามารถที่จะหยุดผู้ที่ดำเนินการนอกกติกา ซื้อเสียงขายเสียง กกต.สามารถสั่งให้หยุดผู้นั้นลงจากการเลือกตั้งได้ ด้วยใบสีส้ม ไม่ใช่สีแดง คือให้ออกตั้งแต่ขึ้นตอนหาเสียง แล้วก็ดำเนินคดีกันไป ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ใช้กติกานี้ โดยในสมัยก่อนจะให้ใบเหลืองหรือใบแดง จะให้หลังเลือกตั้งไปแล้ว แต่ตอนนี้ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งหากมีหลักฐานที่พอเชื่อได้ว่า มีการทุจริตการเลือกตั้ง กกต.สามารถสั่งให้หยุดได้ทันที ก็หวังว่ากกต.จะเป็นที่พึ่งของประชาชนได้

Advertisement

มองภาพรวมสถานการการเมืองอย่างไร หลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เริ่มเปิดตัว ร่วมถึงพรรคพลังประชารัฐ
ความจริงไม่อยากจะพูดถึงพรรคอื่น แต่เมื่อถามถึงพรรคที่คิดว่าจะเชียร์รัฐบาล หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จะอยู่ในพรรคนี้หรือไม่ก็ได้ แต่อยากให้เข้าข้อคิดว่า ตั้งแต่มีการรัฐประหาร ผมอยู่ในวงการการเมืองนี้มานานพอสมควร เริ่มเล่นการเมืองตั้งแต่รัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ รัฐประหารปี 2519 และในปี 2521 มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ได้ตั้งพรรคการเมือง หลังจากนายเกรียงศักดิ์แล้ว ก็มีรัฐบาลไปซักระยะ ซึ่งก็เป็นช่วงที่มีประชาธิปไตยครึ่งใบ เพิ่งจะมามีประชาธิปไตยเต็มใบในสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุนหะวัณ แต่พล.อ.สุจินดา คราประยูร ได้ทำรัฐประหารในปี 2534 หลังจากนั้น พล.อ.สุจินดา ได้ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา คือพรรรคสามัคคีธรรม
หลังจากนั้น มาถึงยุคลคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ทำการรัฐประหารในปี 2549 และมีการตั้งพรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคมาตุภูมิ กระทั่งการรัฐประหารในปี 2557 มีพรรคที่เกิดขึ้นใหม่คิดพรรคพลังประชารัฐ แต่อยากจะบอกว่า 4-5 พรรคที่ผ่านมา ไม่มีใครยั่งยืนเลย จบหมด ม่วนเดียวจบ แต่อนาคตของพรรคพลังประชารัฐ ยังพูดไม่ได้ เพราะยังไม่เกิดขึ้น แต่ในฐานะพรรคการเมืองเช่นเดียวกัน ถามว่าตกใจหรือไม่ที่พรรคเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วจะทำให้ชนะการเลือกตั้ง ไปเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ผมไม่ตกใจ เพราะถ้าดูตัวอย่างที่ผ่านมา พรรคการเมืองที่ตั้งโดยคณะรัฐประหาร ยังไม่มีใครประสบความสำเร็จ เพราะช่วงรัฐประหารแรกๆก็ดี แต่พอบริกหารไป ก็จะเกิดปัญหาเรื่องเศรษฐกิจบ้าง เรื่องความไม่พึงพอใจของประชาชนบ้าง และเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งประชาชนจะเป็นผู้ชี้ออกมา
อย่างการเลือกตั้งในปี 2535 พรรคสามัคคีธรรมประสบความสำเร็จ ชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นเสียงข้างมา แต่บริหารไม่ถึง 6 เดือนก็ต้องล้มไป ดังนั้นอะไรที่ไม่ใช่ของแท้ ไม่ใช่ของประชาชนก็มักจะไม่ยังยืน ฉะนั้นถ้าพูดถึงพรรคพลังประชารัฐ ผมอยากให้ดูบทเรียนในอดีต พรรคการเมืองที่ก่อตั้งในทำนองนี้เป็นอย่างไร เพราะบทเรียนไม่ใช้ครั้งเดียว ดังนั้นจึงไม่น่าจะเกิดนเลยในอดีต

ประเมินพรรคการเมืองแต่ละพรรคอย่างไร เพราะในจังหวะนี้พรรคการเมืองเริ่มขยับตัว
เมื่อการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น ต่างคนต่างหาเสียง ชื่อว่าจะมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มที่สนับสนุนประชาธิปไตยเต็มใบ กลับกลุ่มที่สนับสนุนประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือออกไปในทางสนับสนุนการต่ออายุของผู้มีอำนาจ และการเอา ส.ว.มาเลือกนายกฯ ผมเชื่อว่ารัฐบาลจะมีอายุไม่ถึง 1 ปี ผมว่าไม่แฟร์ และรัฐบาลจะอยู่ไม่ได้ เพราะกิจกรรมหลายอย่างของรัฐบาลจะอยู่ในสภาฯ ทั้งเรื่องงบประมาณ การเสนอกฎหมาย ต้องได้เสียงสนับสนุนในสภาฯมันไม่ได้ เพราะเสียงส.ว.ช่วยได้ครั้งเดียวคือเลือกนายกฯ เรื่องอื่นช่วยอะไรไม่ได้เลย

กติกาในขณะนี้ใครคือผู้ได้เปรียบเสียเปรียบ ทั้งพรรคเล็กและพรรคใหญ่

ตอนนี้ยังพูดไม่ได้ว่าใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่พรรคใหญ่มีคนมาก ก็จะได้เสียงมาก ขณะที่พรรคเล็ฏก็จะได้คนน้อยหน่อย เพราะไม่มีพลังพอ แต่พรรคใหญ่ก็ต้องอาศัยพรรคเล็ก พรรคเล็กก็ต้องอาศัยพรรคใหญ่ ดังนั้นในระหว่างช่วงหาเสียงตอนนี้ยังไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบซึ่งกันและกัน
ในการหาเสียงสิ่งที่จะได้เปรียบคือ 4-5 ปี ที่ผ่านมา ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างไรบ้าง เช่นปัญหาเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ร้านค้าทั้งหลายต้องปิดตัวลงครึ่งต่อครึ่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ดังนั้นความเดือดร้อนของประชาชนจะเป็นอันดับแรกในการใช้ดุลพินิจในการเลือกผู้แทนและรัฐบาล
สิ่งที่ประชาชนต้องคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะทำอย่างไรให้บ้านเมืองไม่วุ่นวาย เพราะการปฏิวัติก็เกิดจากการที่บ้านเมืองไม่ปกติ ฝ่ายกุมกำลังเข้ามายึดอำนาจเพื่อแก้ปัญหา แต่ประชาชนทั้งประเทศ คงไม่ต้องการเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดซ้ำอีก และหากพรรคได้สามารถรับปากกับประชาชนได้ว่าจะไม่ให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นอีก และอยู่ในระบอบประชาธิปไตยด้วย ก็มีโอกาสที่จะได้เข้ามาบริหารประเทศ
ดังนั้นเรื่องเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาความทุกยาก ความเหลื่อมล้ำ เป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องพูดกันในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น และ การแก้ปัญหาควารมแตกแยกของคนในประเทศ ที่จะนำไปสู่การรัฐประหาร 2 เรื่องนี้จะต้องมีการพูดจากว่าจะมีการหาทางออกอย่างไร
พรรคเราที่ตั้งขึ้นมา ถ้าไม่มี 2 เหตุนี้ เราก็ไม่จำเป็นต้องตั้งพรรค แต่ 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แหลมคม ที่ต้องเสนอ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นพรรคใหญ่เสนอ แล้วพรรคใหญ่ก็คงจะเห็นด้วย ถ้าปฏิเสธสิ่งนี้ประชาชนก็จะไม่เอาด้วย แล้วก็การที่เราเป็นพรรคเล็ก เราไม่ผูกพันกับทุนนิยม ไม่ผูกพันกับอำนาจนิยม เราสามารถที่จะเสนออย่างตรงไปตรงมา โดยใช้พื้นฐานของประชาชนเป็นหลัก ส่วนพรรคใหญ่จะเสนออะไรก็ต้องดูว่ากระทบกับผู้สนับสนุน หรือกระทบนายทุน หรือผู้มีอำนาจหรือไม่

เพจของพรรคประชาชาติ ชูแคมเปญที่จะล้มกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
ไม่ใช่กฎหมายหรือประกาศของคสช.อย่างเดียวที่จะเสนอให้ยกเลิก แม้แต่รัฐธรรมนูญ ซึ่งเรารณรงค์ต่อต้านว่าเราไม่เห็นเพราะไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วหลายอย่างในรัฐธรรมนูญเอื่อต่อการขยายอำนาจ ทำให้ประชาชนมีความเดือดร้อน เราก็จะเสนอแก้ แต่การเสนอแก้ถึงแม้จะยาก แต่เราก็ขอเสนอไปในแนว ทางของประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดกระแส แน่นอนถ้าประชาชนจำนวนมาเห็นด้วย และพรรคการเมืองเห็นตรงกัน เชื่อว่ายากแค่ไหนก็จะต้องแก้ได้
กฎหมายทั่วไปที่มีตั้งแต่บรรพบุรุษ หลายอย่างไม่สามารถจะใช้ได้แล้วก็ยังมีอยู่ หรือกฎหมายบางอย่างที่ไม่สอดคลองกับยุคสมัย ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ทันสังคมโลกออนไลน์ กฎหมายเหล่านี้ต้องตั้งคณะกรรมการศึกษา ถ้าไม่ใช้ก็ยกเลิกไป ประกาศคสช. กฎหมายของคสช. แน่นอน ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจ ก็ต้องยกเลิกแล้วทำกฎหมายใหม่ให้เป็นประชาธิปไตย น่าจะมีสง่าราศีมากกว่า ในอดีตก็ได้มีการยกเลิกกฎหมายเป็นจำนวนมาก ส่วนกฎหมายที่เป็นประโยชน์ก็จะเก็บเอาไว้

Advertisement

ช่วยวิเคราะห์สถานการณ์พรรคเพื่อไทย กับประชาธิปัตย์
ในฐานะพรรคการเมืองพูดได้ในแง่กลางๆ ในเรื่องลบคงพูดไม่ได้ เพราะพรรคเพื่อไทย ก็เคยอยู่มายาวนาย พรรคประชาธิปัตย์ ก็เช่นเดียวกัน อันที่จริง 2 พรรคนี้ควรเป็นหลักให้ประชาชน เป็นที่พึ่งของประชาธิปไตย และเชื่อว่าในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น พรรคที่จะได้คะแนนเพื่อ คือพรรคที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้กับประชาชนจะได้เสียงมาก ส่วนพรรคไหนไม่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้กับประชาชน คะแนนก็จะลดลง ดังนั้นกับทั้ง 2 พรรค คงพูดอะไรไม่ได้มาก เพราะหัวหน้าทั้ง 2 พรรคกำลังจะมีการเลือกอยู่ รวมถึงกรรมการบริหาร และอยู่ในระหว่างการนโยบายเสนออยู่ แต่ผมหวังว่าเขาจะยืนข้างประชาธิปไตย โดยไม่ลังเลใจไปในทางเผด็จการ เขาจะได้คะแนนเพิ่มขึ้น

นัฐวัฒน์ ดวงแก้ว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image