รู้หรือยัง! 7 ความจริงกฎหมายหมา-แมว ยันไม่ถอย ต้องแก้ให้เหมาะ-รับทราบ ปชช.ไม่โอเคตรงไหน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “จิ้งจกข้างทำเนียบ” โพสต์ข้อความ  “7 ความจริง ของร่างกฎหมาย หมา แมว ?”

(1).ชื่อเต็มๆ คือ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ (ฉบับที่ … ) พ.ศ. …” เป็นการแก้ไขกฎหมาย ฉบับปี 2557 เพื่อให้มีการทำทะเบียนสัตว์เลี้ยงขึ้นมา

(2).ยังไม่ได้ถูกถอน ถอย หรือตีกลับ อย่างที่เป็นพาดหัวข่าว หรือที่หลายคนเข้าใจในตอนนี้นะครับ แค่ให้รับความเห็นจากสังคมไปทบทวนด้วย

(3).เพราะการที่ร่างกฎหมาย มันผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) คือ ครม.โอเคในหลักการของกฎหมาย ที่จะให้มีการลงทะเบียน เพื่อป้องกันน้องหมาน้องแมวถูกทิ้งขว้างเพิ่ม และให้ท้องถิ่นวางแผนบริหารจัดการหมาแมวจรจัดในพื้นที่ของตัวเอง

Advertisement

แต่ๆๆๆ …

(4).เจ้าของกฎหมาย คือ กรมปศุสัตว์จะต้องไปคุยกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา (สคก.) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของรัฐบาล และเป็นคนที่รับช่วงต่อเอากฎหมายที่ผ่าน ครม.แล้ว ไปปรับแก้และก็ต้องคุยกับคนที่จะต้องปฏิบัติด้วย คือ กระทรวงมหาดไทย (ท้องถิ่น) ว่ารายละเอียดควรเป็นยังไง ในทางปฏิบัติจริง

** ดังนั้น ร่างกฎหมายนี้ ยังอยู่ในกระบวนการตามขั้นตอนปกติ ซึ่งหลังจากนี้ก็คือ การแก้ แก้ แก้ อีกหลายขั้น ให้มันเหมาะสม และใช้ได้จริงยาวๆ

Advertisement

@ สำหรับกระแสในโลกโซเชียล

เขารู้แล้วล่ะครับ ว่าประชาชนไม่โอเคที่ตรงไหน เพราะฉะนั้นมันก็ต้องแก้ในเรื่องพวกนั้นด้วย

(5).แก้แล้วไปไหน ? …..

ตามปกติแล้ว กฎหมายทุกฉบับ ที่ สคก. ปรับแก้จะกลับเข้ามา ครม.อีกครั้งหนึ่ง
— ถ้าปรับไม่เยอะ จะเข้าไปเป็นเรื่อง เพื่อทราบ
— ถ้าปรับเยอะ หรือไปปรับส่วนที่สำคัญก็จะเป็นเรื่อง เพื่อพิจารณาให้ ครม. ได้พิจารณาหรือซักถามกันอีกครั้งนึง

(6).หลังจากผ่านข้อ 5 ด้านบนแล้ว ร่างกฎหมายก็จะต้องไปเข้าสภานิติบัญญัติ หรือ สนช. ซึ่งทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรอยู่ในขณะนี้ มีขั้นตอนการพิจารณาอีก 3 ครั้ง

การออกกฎหมายต้องใช้เวลานานและมีหลายขั้นตอน เพราะมันจะอยู่กับเรายาวนานมาก นานจนกว่าจะมีการเสนอเข้า ครม. เพื่อปรับแก้ใหม่ บางฉบับนานกว่า 50-60 ปีเลยนะ … ซึ่งการจะแก้ไขทีหลัง ก็จะยุ่งๆ พอๆ กับการออกกฎหมายนั่นแหละครับ

ปัจจุบันรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 77 กำหนดว่า การออกกฎหมายจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนด้วย กฎหมายที่กระทบประชาชนโดยตรง อย่างกฎหมายหมาแมว นี่ ก็จะต้องเปิดให้ประชาชนไปแสดงความเห็นด้วยครับ

ดังนั้น

(7). ตอนนี้เขาเปิดรับฟังความคิดเห็นอยู่ เราก็ควรช่วยกันไปเสนอความเห็น ที่ …
— แอปพลิเคชั่น DLD 4.0
— E-mail : [email protected]
— ทางเฟสบุ้ค ปศุสัตว์ก้าวหน้า www.facebook.com/livestocknews

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image