หมอวรงค์ ชี้ ใต้วิกฤตหนัก นทท.จีนวูบล้านคน สูญเงินมหาศาล ลูกจ้างตกงานอื้อ

วันนี้ (22 ต.ค.) น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตสส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยผลการลงพื้นที่ เพื่อหาเสียงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยระบุว่า วันนี้ ผมลงสำรวจพื้นที่ รอบหาดกระบี่ ประชุม รับฟังปัญหากับตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการการท่องเที่ยวไทย และประชุมข้อมูลเชิงนโยบายใน การบริหารธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงการแก้ปัญหาการประมงในน่านน้ำไทย

รายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวในประเทศไทย ปีละ 3 ล้านล้าน เป็นเงินจากนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติปีละ 2 ล้านล้าน จากจำนวนนักท่องเที่ยว 37 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน 30 ล้านคน และรายได้จากชาวไทยเที่ยวไทยปีละ 1 ล้านล้าน จากจำนวนนักท่องเที่ยวไทย 40 ล้าน คน เป็นรายได้มหาศาลที่ไหลเข้ามาจากต่างประเทศ และหมุนเวียนในประเทศ

โดยปัญหาการท่องเที่ยวซบเซา ที่เกิดจากเรือนักท่องเที่ยวล่ม และยังไม่สามารถกู้เรือ หรือดำเนินการให้เกิดความคืบหน้า ส่งผลกระทบถึงความปลอดภัยในการท่องเที่ยว ทำให้นัก ท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย โดยเฉพาะชาวจีนลดลง 1 ล้านคน ซึ่งเป็นรายได้มหาศาล เพราะมีการประเมินการใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวจีน เฉลี่ยคนละ 50,000 บาท รวมเป็น เงินที่การท่องเที่ยวไทย รายได้ขาดไป 5 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ประสบปัญหาขาดทุนซึ่งทำให้มี ผลกระทบต่อลูกจ้างในพื้นที่ถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนกว่า 200 คน ในพื้นที่นี้ และปัญหาการ ยกเลิกการให้บริการรถสามล้อ เนื่องจากความปลอดภัย ที่ทำให้กว่า 140 ครัวเรือนตกอยู่ใน สภาวะตกงานและขาดรายได้

Advertisement

“เราควรมีการอัพเดทแก้ไข กฎหมายการท่องเที่ยว เพราะฉบับล่าสุดคือปี 2547 โดยจัดการกฎหมายและข้อกำหนดใน ด้านต่าง ๆ เช่น ขึ้นทะเบียนที่พัก การประกอบอาชีพของบุคลากรการท่องเที่ยว การจัดการขึ้น ทะเบียนผู้ประกอบการท่องเที่ยวรายย่อย และกระตุ้นการเข้าประเทศด้วยการให้ Double entry visa และ free visa on arrival สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจทำให้ขาดรายได้จากการทำ วีซ่าเข้าประเทศ แต่เมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ชาวต่างชาติจะเข้ามาใช้จ่ายในประเทศนั้นนับว่าคุ้มค่า”

ในด้านของการพูดคุยปัญหาเรื่องของการประมงไทย คือการใช้แรงงานผิดกฎหมาย การใช้แรงงานเถื่อน อุปกรณ์การจับปลาที่ผิดกฎหมาย เรือที่ไม่ได้มาตรฐาน

โดยหมอวรงค์ กล่าวว่า “ส่วนในการจัดนโยบายการประมงต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน 1 การประมงพื้นบ้าน 2 การประมงเชิงพาณิชย์ในท้องถิ่น 3 การประมงในเชิงอุตสาหกรรม โดย 3 ส่วนนี้ต้องแบ่งกฎหมายที่เกี่ยวกับเรือให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ขนาดของ อุปกรณ์จับปลา ขนาดของเรือ และอุปกรณ์ที่อยู่ภายในเรือ และพื้นที่การจับปลา ชนิดของสัตว์ น้ำที่จับ ซึ่งการประมงในแต่ละประเภท จะต้องมีกฎหมายควบคุมอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ เพื่อไม่ให้ถูกทำลาย และสูญหายไปจากท้องทะเล”

Advertisement

“มาใต้ครั้งนี้ ผมเดินหน้ามาทำงานครับ”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image