เมื่อฝุ่นจางมาดูกันว่า ใครอยู่พรรคไหนกันบ้าง

ฝุ่นตลบ จบเดดไลน์ 26 พฤศจิกายน ครบ 90 วัน ในการสังกัดพรรคการเมือง เพื่อเป็นผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 97 (3)ที่ระบุว่า ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคดารเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภาระยะเวลา 90 วันดังล่าว ให้ลดเหลือ 30 วัน


พรรคภูมิใจไทย มีผู้ที่ย้ายมาจาก พรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) 8 คน  นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร อดีตส.ส.อยุธยา  นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ อดีตส.ส.ศรีษะเกษ นายภราดร ปริศนานันทกุล อดีตส.ส.อ่างทอง นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อดีตส.ส.อ่างทอง นายชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีตส.ส.อุทัยธานี นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ อดีตส.ส.ชัยภูมิ นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์  อดีตส.ส.สุโขทัยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ อดีตส.ส.พิจิตร
ย้ายมาจากพรรคเพื่อไทย(พท.) 5 คน นายพหล วรปัญญา อดีตส.ส.ลพบุรี นายดิสทัต คำประกอบ อดีตส.ส.นครสวรรค์ นายสุรศักดิ์ พันธุ์เจริญวรกุล อดีตส.ส.อยุธยา นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ อดีตส.ส.ชัยภูมิ นายพลพีร์ สุวรรณฉวี อดีตส.ส.นครราชสีมา
และย้ายมาจากพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) 3 คน นายประมวล เอมเปีย อดีตส.ส.ชลบุรี นายมานิตย์ ภาวสุทธิ์ อดีตส.ส.ชลบุรี นายสมควร โอบอ้อม อดีตส.ส.นครสวรรค์


สำหรับพรรคการเมืองที่ก่อตั้งใหม่โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำกปปส.ได้ตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ที่มี “หม่อมเต่า” ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล เป็นหัวหน้าพรรค อีกทั้งยังดึงนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง พร้อมบุตรชาย นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ที่มาร่วมพรรคด้วย

และยังมีน้องชายของนายสุเทพที่ตามมาด้วย คือ นายธานี เทือกสุบรรณ อดีตส.ส.สุราษฎร์ธานี และ นายเชนทร์ เทือกสุบรรณ อดีตส.ส.สุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ยังมีอดีตส.ส. 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ตามนายสุเทพมา อีก 6 ได้แก่ นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ อดีตส.ส.นราธิวาส นายรำรี มามะ อดีตส.ส.นราธิวาส, นายเจะอาหมิง โตะตาหยง อดีตส.ส.นราธิวาส , นายอับดุลการิม เต็งกะรีนา อดีตส.ส.ยะลา , นายอับดุลรามัน มะยูโซะ อดีตส.ส.ปัตตานี และนายซาตา อาแวกือจิ อดีตส.ส.ปัตตานี เท่ากับว่า มีส.ส.ย้ายจากพรรคประชาธิปัตยมา 8 คน

Advertisement


ขณะที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ที่มีแต่เลือดจะไหลออกไป แต่ก็ยังมีผู้เข้ามาสมัครสมาชิกแม้จะมีพวก “บิ๊กเนม” ไม่มาก แต่ที่สร้างสีสันให้พรรคปชป.ได้ก็เห็นจะมี อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อย่าง นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ที่เดินทางเข้ามาสมัครสมาชิก ปชป. หลังจากที่หมดบทบาทในองค์กรอิสระ รวมถึง “ผู้การแต้ม” พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เข้ามาร่วมพรรคปชป.ด้วย


ฟากพรรคชาติไทยพัฒนา ที่เพิ่งจะตีตื้นขึ้นมาในช่วงหลัง ทั้งที่ก่อนหน้ามีอดีตส.ส.ไหลออกไม่น้อยที่ย้ายไปอยู่พรรคภูมิใจไทย แต่ก็มีบิ๊กเซอร์ไพรซ์ เมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อดีตหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ เข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาพรรค

นอกจากนี้มีอดีตส.ส.และผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย 8 คน ประกอยด้วย  นายบัณฑูร สุภัควณิช อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีแรงงาน อดีตส.ส.นครปฐม นายอนุชา สะสมทรัพย์ อดีตส.ส.นครปฐม นายพาณุวัฒน์ สะสมทรัพย์ ลูกชายนายไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรี รัฐว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร อดีตส.ส.นครปฐม นายสมคิด บาลไธสง อดีตส.ส.หนองคาย ายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ อดีตรองโฆษกรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ อดีตส.ส.สมุทรสาคร พรรคไทยรักไทย ลูกชาย “เฮียม้อ” มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ นายกอบจ.สมุทรสาคร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา พร้อมทีมงาน

Advertisement

ส่วนอดีตส.ส.ที่จากพรรคภูมิใจไทย มี  นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรองหัวหน้าพรรค  พร้อมด้วยภรรยา นางลักษณา แกล้วกล้าหาญ  นายปัญญา ศรีปัญญา อดีตส.ส.ขอนแก่น
ของเดิม ตระกูลศิลปอาชา,เที่ยงธรรม,โพธสุธน,ประเสริฐสุวรรณ ในพื้นที่สุพรรณฯยังอยู่ครบ รวมไปถึงตระกูลอังกินันทน์ เมืองเพชรบุรี ด้วย

 


ขณะที่นักกาเมืองจากพรรคต่างๆที่ย้ายมาเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) 3 คน คือ นายนคร มาฉิม จากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายวินัย ภัทรประดิษฐ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ จากพรรคชาติไทยพัฒนา


นักการเมืองที่ย้ายมาเข้าพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ประกอบด้วย และเป็นอดีตส.ส.และอดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย(พท.)มีทั้งหมด 25 คน ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช อดีต ส.ส. ขอนแก่น มาทำหน้าที่หัวหน้าพรรค และรุ่นใหญ่ที่นำทีมประกอบด้วย นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช.  นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุธรรม แสงประทุม  นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตรองประธานวุฒิสภา นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ แกนนำนปช.
นายวุฒิพงษ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางฐิติมา ฉายแสง อดีต ส.ส.ฉะเชิงเทรา นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช. นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตส.ว. น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ แกนนำนปช. นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำนปช. นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท แกนนำนปช. น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ นายพายัพ ปั้นเกตุ อดีตส.ส.บัญชีนายชื่อ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ อดีตส.ส.อุบลราชธานี นายหัสนัย สอนสิทธิ์ อดีตส.ส.พิษณุโลก น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ อดีตรองเลขาธิการพรรค นายวิม รุ่งวัฒนจินดา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ คณะทำงานฝ่ายต่างประเทศพรรคพท.
และยังมีอีก 1 ส.ส. จากพรรคประชาธิปัตย์ คือนายอสิ มะหะมัดยังกี อดีตส.ส.สตูล


ส่วนพรรคเพื่อชาติ (พช.) มีนักการเมืองที่ย้ายเข้าสังกัดพรรค ที่มาจากพรรคเพื่อไทย 3 คนประกอบด้วย นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ พ.ต.ท. สมชาย เพศประเสริฐ อดีต ส.ส.นครราชสีมา นางลินดา เชิดชัย อดีต ส.ส.นครราชสีมา นางบุศรินทร์ ติยะไพรัช อดีต ส.ส.เชียงราย


นักการเมืองที่ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อธรรม (พธ.) ขณะนี้ทีเพียง นางนลินี ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ที่ย้ายมาจากพรรคพท. เท่านั้น


สำหรับพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ต้องถือว่าเป็นขุมพลังแห่งการดูดอย่างแท้จริง นักการเมืองทั้งระดับชาติและท่องถิ่นต่างเรียงหน้าเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคจนหัวกระไดไม่แห้ง มีนักดูตัวยงอย่างนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ในนามกลุ่มสามมิตร และสุชาติ ตันเจริญ แกนนำบ้านริมน้ำ
ผู้ที่ย้ายมาจากพรรคภูมิใจไทย 6 คน ประกอบด้วย นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประนอม โพธิ์คำ อดีต ส.ส.นครราชสีมา นายมานิต นพอมรบดี อดีต ส.ส. ราชบุรี นายบุญยิ่ง นิติกาญจนา อดีต ส.ส.ราชบุรี นายชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร อดีต ส.ส.ราชบุรี นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล อดีต ส.ส.สุโขทัย

พรรคพลังชล 3 คน คือ นายอิทธิพล คุณปลื้ม อดีต ส.ส.ชลบุรี  นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา อดีต ส.ส.ชลบุรี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ อดีต ส.ส.ชลบุรี

กลุ่มสมุทรปราการ ของนายชลสวัสดิ์ อัศวเหม นายอัครวัฒน์ อัศวเหม อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) สมุทรปราการ และผู้ช่วยเลขานุการรมว.คลัง นายวรพร อัศวเหม ประธานสภาเทศบาล ตำบลบางปู นายต่อศักดิ์ อัศวเหม อดีตรองนายกเทศมนตรี นครสมุทรปราการ นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก อดีต ส.ส.สมุทรปราการ นายยงยุทธ สุวรรณบุตร นายกเทศมนตรี ตำบลแพรกษา นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ นายจาตุรนต์ นกขมิ้น นายสัมพันธ์ เตชะเจริญกุล อดีตนายกเทศมนตรีนครสมุทรปราการ น.ส.ภริม พูลเจริญ สมาชิกสภาอบจ. สมุทรปราการ นายทวีศักดิ์ ตั้งเด่นไชย นายกสมาคมพ่อค้าเหล็กแห่งประเทศไทย

จากพรรคประชาธิปัตย์ 11 คน ประกอบด้วย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ อดีต ส.ส.กทม. พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีต ส.ส.กทม. นายธวัชชัย อนามพงศ์ อดีต ส.ส.จันทบุรี นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา อดีต ส.ส.จันทบุรี นายบุญเลิศ ไพรินทร์ อดีต ส.ส. ฉะเชิงเทรา พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ อดีต ส.ส. ฉะเชิงเทรา
นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ อดีต ส.ส.ชลบุรี นายวิชัย ล้ำสุทธิ อดีต ส.ส.ระยอง น.ส.กัลยา รุ่งวิวิตรชัย อดีต ส.ส.สระบุรี นายแสนคม อนามพงษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายทศพล เพ็งส้ม อดีต ส.ส.นนทบุรี
ท้องถิ่น กทม. พรรคประชาธิปัตย์
น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ อดีต ส.ก.เขตพระนคร นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา อดีต ส.ก.เขตคลองเตย นางกนกนุช นากสุวรรณภา ส.ก.เขตดอนเมือง นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ อดีต ส.ก.เขตลาดพร้าว

จากพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน-เพื่อไทย 36 คน ประกอบด้วย นายวราเทพ รัตนากร (ถูกตัดสิทธิทางการเมือง) แต่มีใจให้ พปชร. นายสันติ พร้อมพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุพล ฟองงาม อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายวีระกร คำประกอบ อดีต ส.ส.12 สมัย นายฐานิสร์ เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจำลอง ครุฑขุนทด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์ นายเอี่ยม ทองใจสด อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์  นายจักรัตน์ พั้วช่วย อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์
นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ อดีต ส.ส.เพชรบูรณ์ นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ อดีต ส.ส.ลำปาง นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ อดีต ส.ส.ลำปาง นายไผ่ ลิกค์ อดีต ส.ส.กำแพงเพชร พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ อดีต ส.ส.กำแพงเพชร นายปริญญา ฤกษ์หร่าย อดีต ส.ส.กำแพงเพชร นายอนันต์ ผลอำนวย อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
นายสุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์ อดีต ส.ส.กำแพงเพชร นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข อดีต ส.ส.เลย นายวันชัย บุษบา อดีต ส.ส.เลย นายสุทธิชัย จรูญเนตร อดีต ส.ส.อุบลฯ นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ อดีต ส.ส.อุบลฯ นายเวียง วรเชษฐ์ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ นายศุภสิธ เตชะตานนท์ อดีต ส.ส.ขอนแก่น
นายชูกัน กุลวงษา อดีต ส.ส.นครพนม นายวิรัช รัตนเศรษฐ อดีต ส.ส.นครราชสี นางทัศนียา รัตนเศรษฐ อดีต ส.ส.นครราชสี นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ อดีต ส.ส.นครราชสี นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีต ส.ส.นครราชสี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง อดีต ส.ส. สระแก้ว พล.อ.สมชาย วิษณุวงษ์ อดีต ส.ส.กาญจนบุรี นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี นายฉลอง เรี่ยวแรง ส.ส.อดีต นนทบุรี นายทวี สุระบาล ส.ส.อดีต ตรัง นายกล่ำคาน ปาทาน อดีตส.ส.ศรีสะเกษ

หลังจากนี้เพียงแค่รอให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 แล้วมาดูกันว่าใครจะเป็นผู้ถูกเลือกให้เข้าไปนั่งในสภาอันทรงเกียรติ

เพราะอำนาจอยู่ในมือประชาชน!!!!

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image