09.00 INDEX เมื่อ ‘ไม่รับ’ กลายเป็น ‘ก่อกวน’ แก่นแท้ ‘ประชามติ’ เป็นอย่างไร

เมื่อ “ไม่รับ” กลายเป็น “ก่อกวน”

แก่นแท้ “ประชามติ” เป็นอย่างไร

 

บทสรุปต่อคนที่ออกมาแสดงออกในทาง “ไม่รับ” ต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นการก่อกวน สร้างความวุ่นวาย

Advertisement

เป็นบทสรุปอันชวนให้ “คิด”

ทั้งๆ ที่ภายในกระบวนการ “ประชามติ” ย่อมมีทั้งฝ่ายที่ “รับ” และฝ่ายที่ “ไม่รับ”

เหตุใดจึงมองฝ่ายที่ “ไม่รับ” ว่า “ก่อกวน”

Advertisement

ทั้งๆ ที่บัตรลงประชามติที่จัดทำโดยคณะกรรมการ กกต.ก็ระบุช่องในการกาอย่างเด่นชัด

เป็นช่อง “รับ” เป็นช่อง “ไม่รับ”

แล้วเหตุใดจึงมีการออกมาสรุปอย่างชัดถ้อยชัดคำ เสมือนกับว่าฝ่ายที่แสดงออกไปในทิศทาง “ไม่รับ” ต้องกลายเป็นฝ่ายก่อกวน สร้างความวุ่นวาย

นี่คือลักษณะ “วิปริต” ภายในกระบวนการ “ประชามติ”

 

จะเข้าใจกระบวนการในทาง “ความคิด” เช่นนี้ได้จำเป็นต้องมองอย่างมี “บูรณาการ”

บูรณาการตั้งแต่ คำสั่ง คสช.ที่ 13/2559

เหมือนกับ “เป้าหมาย” ของคำสั่งนี้จะมุ่งไปยัง “ผู้ทรงอิทธิพล” ในท้องถิ่น

แต่มักไปลงที่บ้านของ “อดีต ส.ส.”

คำสั่ง คสช.ที่ 13/2559 อาศัยอำนาจของมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557

เท่ากับฟื้น “กฎอัยการศึก” ขึ้นมาใช้

ตอนประชามติเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 อาจดำเนินภายใต้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่

แต่คำสั่ง คสช.ที่ 13/2559 ครอบคลุม “ทั่วประเทศ”

ไม่เพียงแต่เมื่อ “ควบคุม” ตัวแล้วจะโยงไปยังมาตรา 116  และมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา

หากยังโยงไปยัง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 อีก

เมื่อมองอย่าง “บูรณาการ” กับ “ประชามติ” ก็จะ “เข้าใจ”

เข้าใจว่าเหตุใดบทสรุปจึงไปอยู่ที่ “การก่อกวน”

 

จากวันที่ 22 เมษายน ที่ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ประกาศและบังคับใช้ ไปถึงวันลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม

จึงมีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

เป็นความเด่นชัดว่า “ประชามติ” ครั้งนี้มี “เป้าหมาย” หรือธงอันแน่นอนอย่างยิ่ง

เป็นธงที่จะต้อง “รับ” เป็นธงที่จะต้อง “ผ่าน”

เพราะหากมิได้ “ปักธง” เช่นนี้ ความหมายของการ “ไม่รับ” ก็ย่อมจะไม่ถูกตีความและกลายเป็น “การก่อกวน”

แม้ว่าการ “ไม่รับ” จะเป็น “สิทธิ” ก็ตาม

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image