ผู้อ่านมติชนออนไลน์ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต

จากกรณีที่ ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนความเท่าเทียมทางเพศ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เนื่องจากปัจจุบันมีกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเหมือนครอบครัวปกติ แต่ไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิและหน้าที่รับรองในการเป็นคู่ชีวิต เพราะกฎหมายรับรองการจดทะเบียนสมรสของชายกับหญิงเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและการดำเนินชีวิตของสังคมปัจจุบัน

และเพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ รัฐบาลจึงได้ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ เพื่อการสร้างครอบครัวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

โดยนิยามคำว่า “คู่ชีวิต” หมายถึงบุคคลสองคนที่ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ คือ ไม่ใช่ระหว่างชายและหญิง โดยจะสามารถจดทะเบียนสมรสได้เมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องมีสัญชาติไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงคำร้องและความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน

อ่านข่าว ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต หนุนคนหลากหลายทางเพศ สร้างครอบครัวได้

Advertisement

มติชนออนไลน์ จึงสอบถามความเห็นผู้อ่านว่า ท่านมีความเห็นอย่างไร เห็นด้วยกับร่าง พรบ.คู่ชีวิต หรือไม่ อย่างไร

โดยผู้อ่านที่แสดงความเห็นผ่านทางทวิตเตอร์ พบว่า 74 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วย และ 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย มีอีก 11 เปอร์เซ็นต์ที่ตอบว่า “ไม่แน่ใจเหมือนกัน”

ขณะที่การสำรวจทางเฟซบุีก พบว่า มีถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ที่เห็นด้วย และ 27 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่เห็นด้วย

Advertisement

โดยในส่วนที่ไม่เห็นด้วย ระบุว่า เพราะเนื้อหาในพ.ร.บ.นี้ ไม่เป็นผลดีต่อคนรักเพศเดียวกันเลย ถ้าลองเปรียบเทียบสิทธิ์ของคนรักเพศเดียวกันกับคนรักต่างเพศ จะเข้าใจได้ แต่ก็มีผู้อ่านอีกรายเข้าไปตอบความเห็นดังกล่าวว่า ถ้าเรียกร้องมาก อาจจะตกหมด ให้ได้มาก่อนบางส่วน ที่เหลือก็ค่อยๆแก้ไขไปน่าจะดีกว่า ตามความเห็นส่วนตัว

อีกความเห็นระบุว่า เรื่องภาษีเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่สำคัญคือการเป็นคู่ชีวิตต้องมีผลในเรื่องการรับมรดกหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆเมื่อวายชนม์ การให้ความยินยอมหรือสละสิทธิในการรักษาพยาบาล การเป็นผู้ดำเนินคดีแทนในกรณีผู้เสียหาย เสียชีวิต หรือบาดเจ้บจนไม่อาจดำเนินการเองได้ การให้สิทธิจดทะเบียนคู่ชีวิต จะช่วยแก้ปัญหาของคนโสดยามแก่ชรา การเป็นคู่ชีวิตกันอาจไม่เกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์เลยก็ได้

อีกความเห็น ระบุว่า ควรเพิ่มสิทธิของคู่ชีวิต ตาม พ.ร.บ.ให้ทัดเทียมกับคู่สมรส เช่นการยื่นภาษีร่วม การกู้ร่วม การทำธุรกรรมทางการเงินร่วม ฯลฯ เหมือนกับคู่สมรส ชาย-หญิง เพราะคนกลุ่มนี้มีศักยภพาทางการเงินสูงทีเดียว

ผู้อ่านอีกรายที่ไม่เห็นด้วย ระบุว่า “ไม่ใช่ว่ามันไม่ดีนะ แต่ตอนนี้อัตราการเกิด ตั้งแต่ปี 2555 ถึงปัจจุบัน

กำลังตกลงทุกๆปีครับควรออกมาตราการรองรับก่อนครับ อัตราการเกิดและตาย ปี 2560 พอเอาอัตราการเกิดไปลบกับอัตราการตาย อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมันแค่ 33.27% ของอัตราการเกิด

ต่ำกว่า 50% แถมมีแน้วโน้มลดต่ำลงอีก นี่เอาจริงเหรอครับ ที่จะออก พรบ.คู่ชีวิต กันตอนนี้”

บางความเห็นมองว่า ต้องดูที่วัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าจะส่งเสริมหรือควบคุม

และสามารถเข้าไปอ่านความคิดเห็นทั้งหมดได้ที่

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image