ปลัดฯยธ. ยันข้อมูลปึ้ก เข้าพบรองข้าหลวงใหญ่ยูเอ็น ถกประเด็น สิทธิมุษยชนไทย   

นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ยธ.)ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย  พร้อมด้วยคณะ พบนางเคต กิลมอร์ รองข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อหารือสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ  พัฒนาการทางกฎหมายและกลไกสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในประเทศ  ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม(ยธ.)ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย  พร้อมด้วยคณะได้เข้าพบนางเคต กิลมอร์ รองข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อหารือสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ  พัฒนาการทางกฎหมายและกลไกสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในประเทศ  หลังจากนั้นนายชาญาเชาวน์ได้ร่วมสังเกตุการณ์ประชุมรายงานชี้แจงยูพีอาร์ของประเทศสวาซิแลนด์   

นายชาญเชาวน์ กล่าวว่า สำหรับประเด็นหารือกับ รองข้าหลวงใหญ่ฯสิทธิมนุษยชน มีด้วยกันหลายประเด็นโดยประเด็นได้อธิบายและชี้แจงว่ารัฐบาลทราบและให้ความสําคัญกับกระบวนการยูพีอาร์ โดยนายกรัฐมนตรี ไทยรับทราบข้อห่วงใยและกังวลของนานาชาติต่อประเทศไทย ทั้งนี้ยังอธิบายเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลนั้นได้ตระหนักถึงการเคารพสิทธิ และยึดมั่นในพันธกรณีระหว่างประเทศ และดําเนินการตามโรดแมป โดยให้ความสําคัญกับการกําหนดกรอบ กฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน

นายชาญเชาวน์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารนั้นรัฐบาลจะใช้เฉพาะบางประเภทคดีเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อรักษาความ สงบสุข โดย ยึดมั่นในหลักนิติธรรมและการดําเนินการในศาลทหารยังคงมีสิทธิทุกอย่างตามป.วิ.อาญา ส่วนประเด็นสื่อมวลชนของประเทศไทย ยังคงมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น แต่ต้องไม่กระทบ ต่อ ความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม นอกจากนี้ยังมีประเด็นบทบาทของภาคประชาสังคมในการถกแถลงในเนื้อหาของร่าง รัฐธรรมนญู และการ ลงประชามติ นั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้การสนับสนุน

jjfj

Advertisement

นายชาญเชาวน์ กล่าวด้วยว่า รองข้าหลวงใหญ่ฯ ยังเน้นยํ้าถึงการที่ประชาชนต้องมีความเชื่อมั่นในรัฐบาล เพื่อให้กระบวนการประชาธิปไตยเป็นไปอย่างสมบรู ณ์ ซึ่งตนก็ได้ยืนยันว่า รัฐบาลได้ให้ ความสําคัญในการรับฟังความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตย

นายชาญเชาวน์  กล่าวว่า ในช่วง 2 วันที่ผ่านมาคณะทำงานได้ร่วมกันกำหนดประเด็นในการชี้แจงตอบข้อซักถาม ต่อที่ประชุม ร่วมทั้งการรายงานอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมในเอกสารรายงานทบทวนหรือยูพีอาร์ ตอนนี้ประเด็นในการตอบชี้แจงมีมากว่า10 ประเด็น โดยเป็นการเตรียมคำตอบ จากคำถามที่ประเทศสมาชิกส่งคำถามมาก่อนนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายประเทศ โดยทางคณะทำงานต้องสรุปประเด็นเพื่อชี้แจงต่อประเทศสมาชิกในที่ประชุมวันที่ 11 พ.ค.

“ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องตอบทุกคำถามก็ได้ เนื่องจากที่ประชุมมีเวลาให้ เพียง  40  นาทีเท่านั้น ในการชี้แจงตอบข้อซักถาม อีกทั้งยังมี 105 ประเทศ ที่ลงชื่ออภิปรายข้อเสนอแนะ ให้ความเห็น คำถาม วิพากษ์ ในประเด็นของประเทศไทย ซึ่งแต่ละประเทศมีเวลาพูดประเทศละ 1 นาที 10 วินาที  นอกจากนั้นยังมีคำถามจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ (ยูเอ็น) 14 ประเทศที่ได้ยื่นคำถามเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในไทยล่วงหน้า”นายชาญเชาวน์กล่าว

Advertisement

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 9 พ.ค. นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม (ยธ.)และคณะได้ประชุมหารือกำหนดประเด็นการชี้แจงการตอบคำถามต่อประเทศสมาชิก สหประชาติ ในการประชุมทบทวนสิทธิมนุษยชนของประเทศตามกลไก Universal Periodic Review (ยูพีอาร์) รอบที่ 2 ในการประชุมคณะทำงานยูพีอาร์ แห่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 25 ที่นครเจนีวา ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ เวลาท้องถิ่น 09.00 -12.30 น. 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image