‘ทษช.’ ชู 7 มาตรการสร้างสังคมเป็นสุข

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 มกราคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานยุทธ์ศาสตร์การเลือกตั้งพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า ผมเสนอนโยบายไปแล้ว 2 ส่วน ซึ่งเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจ ต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3 นโยบายด้านสังคม ความจริงนโยบายด้านสังคมและด้านอื่นๆ มีการศึกษาไว้อีกมาก มากพอสำหรับแก้ปัญหาประเทศนี้แน่ๆ แต่เลือกมาเฉพาะที่เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ และเป็นที่สนใจหรือเป็นปัญหาที่ประชาชนต้องการให้แก้ความไม่ลงตัวทางความคิดนโยบายเกี่ยวกับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้ระบบสาธารณสุขบริการประชาชนได้ไม่เต็มที่ ต้องการการปรับปรุงครั้งใหญ่
การศึกษาของไทยล้าหลังจนตามใครไม่ทันและยังมีผู้ถูกทอดทิ้งอีกมาก
ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยในเร็วๆ นี้โดยขาดการเตรียมตัวและคนจำนวนมากยังยากจน
ปัญหายาเสพติดกำลังบั่นทอนทั้งสังคมและเป็นความวิตกกังวลของพ่อแม่ทุกคน
ประชาชนทุกคนทำงานและเสียภาษี แต่ไม่สามารถป้องกันการคอร์รัปชั่นที่หนักหนาขึ้นทุกที
4-5 ปีมานี้ ระบบราชการได้ถูกความเป็นอำนาจนิยมทำให้สังคมไทยกลายเป็นรัฐราชการไปแล้ว ทั้งๆ ยุคสมัยนี้ต้องการระบบราชการที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบริการประชาชน
เมืองใหญ่ๆ กำลังประสบปัญหามลภาวะรุนแรงที่ต้องการมาตรการที่ดีมีประสิทธิภาพ แต่จะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ อยู่ที่รัฐบาลจะ “เอาจริง” หรือไม่
ต่อไปนี้เป็นนโยบายด้านสังคม 7 ข้อครับ

“7 มาตรการ สร้างสังคมเป็นสุข”

1.ยกระดับการให้บริการและการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข 30 Plus
1.1 พัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึงและเท่าเทียม มีระบบบริการฉุกเฉินทันท่วงที โดยใช้วิธีคิดและการบริหารจัดการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้หลักการ “สร้างนำซ่อม”
1.3 เพิ่มการผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มากขึ้นและมีการกระจายที่ดี ดูแลสวัสดิภาพและคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเหมาะสม

2.พลิกโฉมการศึกษาไทยสู่ศตวรรษที่ 21
2.1 สร้างเด็กด้วยการสร้างหลักสูตรและสร้างครู ด้วยหลัก 7Cs
2.2 ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาด้วยโครงการ Baby start box, Smart family app, smart kid center, 1 learning park, Thinking classroom, 1 ศูนย์ 1 พัฒนาเด็ก LD
2.3 ยกระดับโครงการกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ICL) ระดับอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุนการเตรียมทรัพยากรมนุษย์สู่อาชีพใหม่ และพัฒนาทักษะอาชีพของคนยุคใหม่ ด้วยอาชีวศึกษา ระดับสากล

Advertisement

3.สังคมสูงวัย
3.1 โครงการ Retraining aging workforce เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้เพื่อการชราภาพและอาชีพที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่สำหรับผู้สูงอายุ
3.2 ส่งเสริมการออมของผู้สูงอายุในอนาคต
3.3 พัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่ตอบรับสังคมสูงวัย

4.แก้ปัญหายาเสพติด : ฟื้นนโยบายผู้เสพเป็นผู้ป่วย ดำเนินคดีกับผู้ค้าตามกฎหมายอย่างเข้มงวด และให้ประชาชนมีส่วนสอดส่องปัญหาในชุมชนและมีช่องทางรายงานผ่าน application

5. แก้ปัญหาคอรรัปชั่น : ต้องปรับปรุง ป.ป.ช. แก้กฎหมาย ป.ป.ช. ให้กรรมการชุดนี้พ้นจากหน้าที่ และมีการสรรหาใหม่, หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด ต้องยื่นบัญชี
ทรัพย์สินและเปิดเผยต่อประชาชน, ปรับปรุงกฎระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง และให้มีการเผยแพร่ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างผ่านเว็บไชต์, เพิ่มบทบาทให้ประชาชนตรวจสอบ

Advertisement

6.ปรับเปลี่ยนรัฐราชการเป็นระบบราชการที่ต้องบริการประชาชน ปรับปรุงการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีมาทำให้การบริการรวดเร็วมีประสิทธิภาพ

7.กำหนดให้การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ พัฒนากลไกขีดความสามารถในการควบคุมมลพิษ โดยเฉพาะการลดมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ มีระบบจัดการขยะที่ทันสมัยใหม่ นำการบริหารจัดการและเทคโนโลยีมาบูรณาการกับหน่วยงานทุกระดับ บังคับใช้กฎหมายผังเมือง และหลัก PPP (Polluter Pays Principle) อย่างเคร่งครัด

ทั้งหมดนี้เป็นนโยบายสำคัญๆ ที่จะเสนอในการเลือกตั้งที่จะมาถึง แต่นโยบายเหล่านี้จะได้ใช้หรือถูกนำไปปฏิบัติหรือไม่ก็ขึ้นกับว่าฝ่ายประชาธิปไตยจะได้จัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ และบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ เมื่อเงื่อนไขสำคัญเป็นอย่างนี้ จึงนำไปสู่นโยบายที่สำคัญและขาดไม่ได้ ซึ่งผมจะนำเสนอต่อไปครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image