รายงาน : ความนัย ลึกซึ้ง ของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา มรึง มาไล่ ดูสิ

การปล่อยของว่าด้วย “มรึงมาไล่ดูสิ” ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความสำคัญอย่างสูงทั้งในทางวัฒนธรรมและในทางการเมือง

สำคัญถึงขั้น แบ่งยุค แบ่งสมัย

ไม่เพียงเพราะเป็นการปล่อยออกมาจาก 1 ทำเนียบรัฐบาล หากแต่ 1 ยังเป็นวันแถลงผลงาน 4 ปี ของรัฐบาลภายหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

และ 1 เป็นวันเดียวกับ “เทียบเชิญ” จากพรรคพลังประชารัฐจะมา

Advertisement

ความหมายอย่างสำคัญยิ่งหมายความว่า นับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเข้าไปสู่ยุคใหม่

มิใช่ยุค “รัฐประหาร” หากแต่เป็นยุค “เลือกตั้ง”

เมื่อเป็นยุคเลือกตั้งอำนาจก็ย่อมอยู่ในมือของ “ประชาชน” มิได้อยู่ที่ปากกระบอกปืนหรือกองทัพเหมือนกับที่เคยเป็นในยุครัฐประหาร

Advertisement

คำถามจึงอยู่ที่ว่าทำไมจึงใช้คำว่า “มรึง”

คล้ายกับคำว่า “มรึง” อันออกมาจากปากของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะพุ่งเป้าไปยังพรรค
การเมืองและนักการเมือง

บรรดา “นักการเมือง” เองก็คิดเช่นนั้น

เห็นได้จากการตอบโต้ทันทีทันควันจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เพราะว่าภายในรายละเอียดของคำว่า “มรึง” มีการยกจุดอ่อนของพรรคประชาธิปัตย์ในยุคของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมา

ว่าแพ้การเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่เป็น “รัฐบาล”

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง คำว่า “มรึง” ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มิได้หมายเพียงพรรคการเมืองและนักการเมือง

หากแต่เป็น “มรึง” ที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง “เลือกตั้ง”

เพียงแต่เมื่อใช้คำว่า “มรึง” ย่อมหมายถึงฝ่ายตรงกันข้าม นั่นก็คือ “พวกมรึง” ที่ออกมา “ไล่” ก็เท่ากับไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่อีกต่อไป

ในฐานะที่เป็นชายชาติทหาร แม้จะเคยผ่านการอบรมใน “ระบบเกียรติศักดิ์” ตามแบบสุภาพบุรุษของ เวสต์ปอยต์ มา

แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังเป็น “สุภาพบุรุษ” อยู่

หากเป็นฝ่ายเดียวกัน คือ ฝ่ายที่สนับสนุนและต้องการให้ คสช.และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สืบทอดอำนาจก็จะเรียกว่า “คุณ” หรือ “ท่าน”

แต่หากเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ต้องเรียกว่า “มรึง”

คำเชิญชวนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมเล่นลิ้น หากเป็นการเชิญชวนคนที่มีความต้องการ “ไล่” ให้ออกมา

มิใช่ให้ “เดินขบวน” หรือถือกระเทียม พริกไปหน้าทำเนียบรัฐบาล

ตรงกันข้าม ให้เดินขบวนตรงไปยังคูหาเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม แล้วกาเลือกนักการเมืองที่ไม่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สืบทอดอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีอีก

ที่ว่า “พวกมรึง” ก็คือ พวกนี้เอง

จากนี้ก็เท่ากับว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนอให้กระบวนการเลือกตั้งดำเนินไปเหมือนกับเป็นการตัดสินใจสำคัญในทางการเมือง

นั่นก็คือ จะเอา “คสช.” หรือ ไม่เอา “คสช.”

นั่นก็คือ จะเอาพรรคการเมืองที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือจะเอาพรรคที่ยืนอยู่ตรงกันข้าม
กับ คสช.และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นี่คือเส้นแบ่งอย่างทรงความหมายในทางการเมือง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image