โปรดเกล้าฯพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ‘กัญชา-กระท่อม’ เผยสาระสำคัญครอบครอง-ใช้ทางการแพทย์

พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ–  เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ระบุว่า  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร   มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 28  มาตรา 34 มาตรา 37 มาตรา 38 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้อง ตามหลักสากล ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป

ทั้งนี้ สำหรับสาระสำคัญในพ.ร.บ.ดังกล่าว อาทิ  มาตรา 26/2  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

1. ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัย
และพัฒนา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์
ทางการแพทย์ด้วย ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
2. ในกรณีที่เป็นกัญชง (Hemp) ซึ่งเป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.
subsp. sativa และมีลักษณะตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งได้นำไป
ใช้ประโยชน์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้กระทำได้เมื่อได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการ

Advertisement

3. ในกรณีที่เป็นการนำติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา ให้กระทำได้ เมื่อได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

การผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5  มีปริมาณตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป ให้สันนิษฐานว่าเป็นการผลิต นำเข้า หรือส่งออกเพื่อจำหน่าย  การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ในการพิจารณาอนุญาต ให้ผู้ขออนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ หรือประเมินเอกสารทางวิชาการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 26/3 ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตการมียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป
ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

Advertisement

มาตรา 26/4  บทบัญญัติมาตรา 26/3 ไม่ใช้บังคับแก่
1. การมียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองไม่เกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับ
ใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพ
ทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ
หมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศ
ก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

2.การมียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองไม่เกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับ
ใช้ประจำในการปฐมพยาบาล หรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือ เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่นใดที่ใช้ใน
การขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักร แต่ถ้ายานพาหนะดังกล่าว
จดทะเบียนในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 26/3

นอกจากนี้ ในเรื่องของกัญชาทางการแพทย์นั้น 

1.การขอรับใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชาเพื่อประโยชน์
ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วยตามมาตรา 26/2  (1) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. 2522  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วย
วิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามมาตรา 26/5(2) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเป็นการปรุงยาส าหรับคนไข้เฉพาะรายซึ่งตนเองเป็นผู้ให้การรักษา

2. การขอรับใบอนุญาตน าเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา
ตามมาตรา 26/2  แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศตามมาตรา 26/5(6)
แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประเมินผลมาตรการตามวรรคหนึ่งทุกหกเดือน
ในกรณีที่เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษด าเนินการได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้
โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 22  ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา
เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การใช้รักษาโรคเฉพาะตัว หรือการศึกษาวิจัย อยู่ก่อนวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไม่ต้องรับโทษส าหรับการกระท านั้นเมื่อด าเนินการดังต่อไปนี้

1.ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภายใน 90 วันนับแต่วันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 26/5 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติด
ให้โทษ พ.ศ.2522  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ และให้สามารถครอบครองยาเสพติดให้โทษ
ดังกล่าวได้ต่อไปจนกว่าการพิจารณาอนุญาตจะแล้วเสร็จ ในกรณีไม่ได้รับอนุญาต ให้ยาเสพติดให้โทษนั้น
ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ทำลาย  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงสาธารณสุขประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

2.  นอกจากนี้ ให้แจ้งการครอบครองต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ หากเป็นผู้ป่วยที่มีความจำเป็น ต้องใช้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชาเพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ สำหรับบุคคลอื่นเมื่อแจ้งการครอบครองแล้วให้ยาเสพติดให้โทษดังกล่าว ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ทำลาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

อ่านรายละเอียดได้ใน เว็บไซต์ราชกจจานุเบกษา  

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image