ประกาศแล้ว! พรบ.การจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

ภาพกราฟิกลิขสิทธิ์ของ "มติชนออนไลน์"

วันนี้ (๓ มี.ค.) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมพ.ศ. ๒๕๖๒ มีรายละเอียด ระบุว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยค าแนะน าและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติท าหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๒”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

Advertisement

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ประชารัฐสวัสดิการ” หมายความว่า สวัสดิการที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มศักยภาพให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมแก่ประชาชน โดยมีการด าเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน อันจะเป็นการแก้ไขปัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืน

“โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ” หมายความว่า โครงการที่กระทรวงการคลัง กำหนดให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีคุณสมบัติมาลงทะเบียน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง

คลิกอ่านต่อที่นี่ พระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมพ.ศ. ๒๕๖๒

Advertisement

ทั้งนี้ สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรให้มีการจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม กระจายรายได้อย่างเป็นธรรมตลอดจนยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐภาคเอกชน และประชาชน อันจะมีผลทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีปัจจัยที่เพียงพอและสามารถ ดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งมีความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินการจัดสวัสดิการเป็นไป ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image