09.00 INDEX การตัดสินใจ ประชาธิปัตย์ อิทธิพล สุเทพ เทือกสุบรรณ

ท่าทีของ นายชวน หลีกภัย ต่อท่าทีของ นายถาวร เสนเนียม เรื่อง จะร่วมหรือไม่ร่วมกับพรรคพลังประชารัฐในการจัดตั้งรัฐบาล เป็นท่าที่สำคัญและทรงความหมายเป็นอย่างสูง
สำคัญเพราะเป็นเรื่องการตัดสินใจที่จะร่วมหรือไม่ร่วมพรรค พลังประชารัฐในการจัดตั้งรัฐบาล
สำคัญเพราะมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นตัวเลือก
ทรงความหมายเพราะว่าเป็นท่าทีอันออกมาจาก นายชวน หลีกภัย ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นประธานที่ปรึกษาพรรค ไม่เพียงแต่จะเคยเป็นหัวหน้าพรรค
หากยังเป็นอดีตหัวหน้าพรรคที่มากด้วยเกียรติภูมิเป็นอย่าง สูงสำหรับพรรคประชาธิปัตย์
ทรงความหมายเพราะเท่ากับออกมาติด”ดิสเบรก”

ในบรรดาชาวพรรคประชาธิปัตย์ด้วยกันถือว่า นายชวน หลีกภัย ผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
ตั้งแต่เป็น ส.ส.ครั้งแรกเมื่อปี 2512
จากเมื่อปี 2512 ตราบกระทั่งในเดือนเมษายน 2562 เป็นเวลา 50 ปี นายชวน หลีกภัย อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์กระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค
ภาพของ นายชวน หลีกภัย จึงเป็นภาพที่เคียงข้างอยู่กับ พรรคประชาธิปัตย์
ท่าทีของ นายชวน หลีกภัย จึงดำเนินไปในเชิง”ตัวแทน”
ไม่ว่าจะนำไปเปรียบเทียบกับท่าทีของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งแยกตัวออกไปจัดตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ไม่ว่า จะนำไปเปรียบเทียบกับท่าทีของ นายถาวร เสนเนียม
หรือ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย หรือ นายวิทยา แก้วภราดัย ที่ต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์ไปร่วมกับพรรคพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ถามว่า นายชวน หลีกภัย จะเลือกอย่างไร

การเลือกของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะร่วมหรือไม่ร่วมกับพรรคพลัง ประชารัฐจึงดำเนินไปด้วยความสลับซับซ้อนก่อให้เกิด 2 ทางเลือกสำคัญ
1 เป็นทางเลือกของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ตกค้างอยู่
ขณะเดียวกัน 1 เป็นทางเลือกของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ยังดำรงอยู่ภายในพรรคประชาธิปัตย์

การตัดสินใจของ นายชวน หลีกภัย จึง ทรงความหมาย

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image