เหยี่ยวถลาลม : ถึงคราวที่แพ้พ่าย

รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ความรุนแรงของกองทัพในเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ 35”

“พฤษภาทมิฬ” เป็นแรงผลักให้ภาคประชาชนเห็นภัยจากกลุ่มคนที่มีการจัดตั้ง มีระเบียบวินัย และมีอาวุธครบมือ

รัฐธรรมนูญ 2540 จึงประสงค์ “จะสร้าง” 3 สิ่ง

1.คือความเข้มแข็งให้พรรคการเมืองเติบโต เข้มแข็ง ได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีนายกรัฐมนตรีที่มีภาวะผู้นำสูง 2.ขยายสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนให้กว้างขวาง และ 3.เพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อการถ่วงดุลและสร้างสังคมสุจริต

Advertisement

ผลคือ ได้พรรคการเมืองใหญ่ 2 ขั้ว

สายหนึ่ง “แนวอนุรักษ์” กับอีกสาย “แนวเสรีนิยม”

จากปี 2540 มาเกือบ 1 ทศวรรษ “พรรคสายอนุรักษนิยม” พ่ายแพ้เลือกตั้งตลอด

Advertisement

ประเมินกันว่า อีก 10-20 ปีข้างหน้า พรรคการเมือง “แนวอนุรักษ์” จะโงหัวไม่ขึ้น ด้วยเหตุปัจจัยจาก        “ข้อจำกัด” ทางความคิดที่ไม่สามารถผลิตนโยบายตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้

เสียงส่วนใหญ่จึงเทให้กับพรรคการเมืองขั้ว “เสรีนิยม” อย่างถล่มทลาย

แต่แล้ว…พรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมกับกองทัพก็เดินไปเจอกันที่ “จุดบรรจบ”

รัฐธรรมนูญ 2540 พบจุดจบ !

รัฐประหาร 19 ก.ย.2549 เปลี่ยนแนวคิดและทิศทางใหม่หมด !

หลังควันรัฐประหารจางลง การเลือกตั้งถูกจัดขึ้นภายใต้ “กติกาใหม่” เรียกว่า รัฐธรรมนูญ 2550

“ทหารกลุ่มหนึ่ง” มีบทเรียนจาก “พฤษภาทมิฬ” จึงไม่จัดตั้ง “พรรคทหาร”

แต่ใช้พรรคการเมืองแนวอนุรักษ์เป็น “แนวร่วม”

กระทั่งการเลือกตั้งภายใต้กติกาใหม่ 2550 จบลงด้วยการพ่ายแพ้อย่างสิ้นท่าของพรรคแนวอนุรักษนิยม

กลยุทธ์ทางการเมืองนับจากนั้นของ “พรรคสายอนุรักษนิยม” จึงเปลี่ยนไป

จาก “สภา” สู่ “ถนน” !

จาก “เสียงข้างมาก” สู่ “เสียงจากค่ายทหาร” !

เมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2554 พรรคการเมืองแนวเสรีนิยมยังคงได้เสียงท่วมท้น

“ทหารกลุ่มหนึ่ง” สิ้นหวัง

22 พฤษภาคม 2557 รัฐประหารอีกครั้ง พร้อมกับเขียนกติกาใหม่ เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ 60”

คราวนี้ ไม่พึ่งพาพรรคการเมือง “แนวอนุรักษนิยม” ที่เคยเป็น “แนวร่วม” กันอีกแล้ว

แต่ใช้ยุทธวิธี “ดูด” กับ “ดับ” คือ ดึงเอาตัวนักการเมืองที่มีฐานเสียงแน่นมารวมตัวกันใน “พรรคการเมืองใหม่”

พรรคเพื่อนพ้องแนวร่วมถูกสายทหารบดขยี้จนแทบสูญพันธุ์

แต่ก็ยังมีอีกหลายคน ที่อยากซบ “พลังประชารัฐ” !?!!

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image