รองคณบดีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ฟันธง ‘รัฐบาลแห่งชาติ’ ไม่แก้ปัญหา ยกปวศ.การเมือง 14 ตุลาเทียบ ชี้ยังไม่ถึงทางตัน

สืบเนื่องกรณีมีผู้เสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเสนอรายชื่อนายกคนกลาง 4 ราย (อ่านข่าว ‘เทพไท’ ชวนทุกฝ่าย ตั้งรบ.แห่งชาติ ให้ “พลากร” นายกฯ กู้วิกฤต-เคลียร์ทุกอย่าง 2 ปี)

เมื่อวันที่ 15 เมษายน ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รองคณบดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นถึงประเด็นดังกล่าวว่า การตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้น โดยตัวรัฐธรรมนูญไม่มีช่องที่ให้ทำได้ การไม่ตามทำรัฐธรรมนูญ จะแก้ปัญหาได้อย่างไร ถ้าจะอ้างประเพณีที่จะผ่านมา ก็ยิ่งไม่มีช่อง กล่าวคือ การตั้งรัฐบาลแห่งชาติในทางหลักการควรต้องถึงจุดที่เป็นวิกฤต เป็นทางตันจริงๆ ซึ่งในเวลานี้ยังไม่มี ปัญหาใหญ่คือการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ประการแรก กกต. ต้องดำเนินการให้เรียบร้อย ให้ถูกต้อง ว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาคะแนนเสียงเป็นอย่างไร เมื่อดำเนินการแล้วจะไม่มีข้อกังขาว่าใครควรตั้งรัฐบาล แต่ตอนนี้เหมือนมีความพยายามแก้ปัญหาไม่ใช่ที่ตัวปัญหา ปกติกลไกของรัฐธรรมนูญทุกฉบับ อย่างฉบับนี้ก็ตามที่ไม่ได้ร่างโดยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางเมื่อเทียบกับฉบับอื่น ก็ยังมีกลไกของการแก้ปัญหา เพราฉะนั้นเมื่อกลไกยังทำงานได้ การผลักดันให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติจึงยังไม่สมควร

“ส่วนตัวคิดว่าจุดที่สำคัญที่สุดคือ กกต. ต้องแถลงคะแนนทั้งประเทศ ทุกหน่วย ผ่านมาหลายสัปดาห์แล้ว กกต.ยังไม่สามมทรถประกาศคะแนนได้ นี่เป็นสิ่งที่เสริมสร้างวิกฤต กล่าวโดยสรุปคือปัญหาจริงๆไม่ได้อยู่ที่ว่าเราควรตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือไม่ แต่สถาบันทางการเมืองต้องทำหน้าที่เป็นทำนบไม่ให้เกิดความกังขา ความสับสนกังวล วิกฤตการมืองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสถาบันหลักเหล่านี้ไม่ทำหน้าที่อย่างที่ควรเป็น

เราต้องไว้ใจในระบบการเมือง ช่องทางการแก้ปัญหายังไม่ถึงจุดที่ต้องใช้วิธีพิเศษใดๆเข้ามาจัดการ เว้นเสียแต่ว่าถ้าพูดถึงวิกฤตการเมืองในรอบ 10-20 ปีที่ผ่านมา จะเกิดช่องเป็นครั้งๆ แต่ถึงที่สุดแล้วประวัติศาสตร์การเมืองไทยสะท้อนให้เห็นว่า ต่อให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติก็ไม่ได้แก้ปัญหา ถ้าจะเรียกว่ารัฐบาล 14 ตุลา 2516 คือรัฐบาลแห่งชาติก็ต้องดูด้วยว่าสิ่งที่เขาทำคืออะไร ประการแรกคือ สว.ที่มาจากการแต่งตั้งทยอยลาออกหมดเลย จะเกิดสภาวะแบบนั้นหรือไม่ ถ้าจะเอาแบบนั้น คสช. ก็ต้องไม่แต่งตั้ง สว. และเปิดทางให้มีการใช้กระบวนการพิเศษ เพื่อให้เกิดสว.ขึ้นมา เพราะหากพิจารณาจากกรอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ วางไว้ สว.ก็ไม่เป็นกลาง และยังไม่รู้เลยว่า สว.อีก 244 คน เป็นใคร ที่รู้แน่ๆมี 6 คน และจะเกิดปัญหาตามมาอีกมาก เช่น สว. ที่เป็นข้าราชการประจำ จะดำรงตำแหน่ง ข้าราชการประจำต่อได้อีกหรือไม่ นอกจากกรณี 6 ท่านที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นฉบับที่ประหลาดที่สุดคือมีการสืบตำแหน่งโดยใช้ตำแหน่งถาวรในกองทัพ นี่เป็นโครงสร้างที่แปลกมาก”  ผศ.ดร. บัณฑิตกล่าว

Advertisement

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image