บทบาท ความหมาย ของ สถาบัน ประชาธิปัตย์ ในทาง ‘การเมือง’

หากดูจากภูมิหลังของพรรคประชาธิปัตย์ หากดูจากภูมิหลังและกระบวนการท่าของ นายเทพไท เสนพงศ์ ในการปล่อย “รัฐบาลแห่งชาติ” เข้ามา แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็น “รัฐบาลปรองดอง”

จะไม่เข้าใจอย่างรอบด้าน

และอาจมองเห็นท่วงทำนองของ นายเทพไท เสนพงศ์ เป็นเรื่องตลกโปกฮา หรือเป็นเรื่องของวาจาพาไป

เหมือนกับว่าข้อเสนอนี้จะมีจุดเริ่มต้นจากปัญหา “ภายใน”

Advertisement

1 คือความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งกระทั่งกลายเป็นพรรคอันดับ 4 เป็นรองแม้กระทั่งพรรคอนาคตใหม่

1 คือความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์

นั่นก็คือ ความขัดแย้งตั้งแต่เข้าไปมีเอี่ยวกับ “รัฐประหาร” ไม่ว่าเมื่อปี 2549 ไม่ว่าเมื่อปี 2557 นั่นก็คือ ความขัดแย้งที่ทำให้เกิดการแยกตัวไปอยู่พรรคพลังประชารัฐ ไปอยู่พรรครวมพลังประชาชาติไทย

Advertisement

จึงได้กลายมาเป็น “รัฐบาลแห่งชาติ” จึงได้กลายมาเป็น “รัฐบาลปรองดอง”

ทั้งหมดนี้เป็นผลจากการเลือกตั้งอย่างแน่นอน ทั้งหมดนี้เป็นผลจากความขัดแย้งอันสะสมและหมักหมมมาในห้วง 1 ทศวรรษอย่างแน่นอน

ทั้งหมดนี้จะทำความเข้าใจ ต้องทำอย่างมีการเปรียบเทียบ

มีความจำเป็นต้องเปรียบเทียบและหาความต่างระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา

ซึ่งสังคมมองว่ามีความโน้มเอียงไปทางพรรคพลังประชารัฐ

ขณะที่พรรคภูมิใจไทยประกาศจากบุรีรัมย์ว่าพร้อมจะร่วมรัฐบาลกับฝ่ายใดที่ยินยอมรับนโยบายกัญชาเสรีเป็นวาระแห่งชาติ

ภายในพรรคประชาธิปัตย์ก็แตกความคิดเป็น 2 แนว

แนวทาง 1 เป็นกลุ่มของ นายถาวร เสนเนียม ที่สุดลิ่มทิ่มประตูในการหนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับอีกแนวทาง 1 ที่แม้ยังเงียบแต่ นายเทพไท เสนพงศ์ ก็นำเสนอรัฐบาลปรองดอง

เป็นการปรองดองโดยไม่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ต้องยอมรับว่าแนวทางที่เสนอโดย นายเทพไท เสนพงศ์ สร้างความแตกต่างไม่เพียงแต่ต่อกลุ่มของ นายถาวร เสนเนียม เท่านั้น

หากยังเฉียบขาดกว่าคำประกาศของพรรคภูมิใจไทยด้วย

เพราะไม่ว่าจะเรียกว่า “รัฐบาลแห่งชาติ” เพราะไม่ว่าจะเรียกว่า “รัฐบาลปรองดอง” ด้านหลักก็คือไม่มีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เพราะหากมีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ไม่ใช่การปรองดอง

นี่คือข้อเสนอที่ยังรักษาความชัดเจน 1 ซึ่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์เคยยืนยันก่อนการเลือกตั้ง

เท่ากับทำให้ไปยืนบนเส้นทางเดียวกันกับ พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่

ขณะเดียวกัน ก็เท่ากับสร้างจุดต่างอย่างมีนัยสำคัญกับพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา

ทำให้สถานะและเกียรติภูมิของพรรคประชาธิปัตย์ยังดำรงอยู่

อย่าลืมว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความยืนยาวมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2489 อย่าลืมว่าพรรคประชาธิปัตย์มิใช่อยู่จะสามารถเป็น “สถาบัน” ในทางการเมืองได้

การร่วม หรือไม่ร่วม จึงต้องคิดถึง “อนาคต”

มิใช่เฉพาะอนาคตสั้นๆ หลังวันที่ 9 พฤษภาคม ตรงกันข้าม เป็นอนาคตที่พรรคประชาธิปัตย์จะอยู่คู่กับสังคมประเทศไทย

การปฏิเสธ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงสำคัญ  

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image