ด่วน! ‘ชวน’ นั่งปธ.สภา คะแนนทิ้งห่าง ‘สมพงษ์’ 258-235 (ภาพชุด)

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมสภาผู้แทนฯนัดแรก ที่มีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานสภาชั่วคราว ดำเนินการประชุมตามระเบียบเลือกประธานสภา โดยนายซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะลา พรรคประชาชาติ เสนอชื่อนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ชิงประธานสภา และนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พปชร. เสนอชื่อนายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ปชป.

เวลา 18.10 น. ปิดการลงคะแนนลับเลือกประธานสภา จากนั้นนับคะแนนซึ่งมี ส.ส.ใช้สิทธิทั้งหมด 494 คน จาก 496 คนที่เข้าประชุมสภา โดยใช้เวลานับคะแนนจนถึงเวลา 18.56 น.

ปรากฏว่า นายชวน หลีกภัย ได้คะแนนนำนายสมพงษ์ 258 ต่อ 235 เสียง งดออกเสียง 1

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้มีเสียงปรบมือด้วยเมื่อนับคะแนนนายชวนถึง 250 คะแนน

Advertisement

สำหรับประวัตินายชวน เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลทับเที่ยง) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของนายนิยม กับนางถ้วน หลีกภัย เมื่อยังเด็ก ชวนมีชื่อเรียกในครอบครัวว่า “เอียด” หมายถึง เล็ก เนื่องจากเป็นคนรูปร่างเล็ก

Advertisement

มีบุตรชายกับภักดิพร สุจริตกุล หนึ่งคน คือ สุรบถ หลีกภัย

การศึกษา :
นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ 17, ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สูงสุด นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การทำงาน

ชวน หลีกภัย เริ่มทำงานเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ใน พ.ศ.2534 ชวนเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการหลายกระทรวง ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน ใน พ.ศ.2533 ชวน หลีกภัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และต่อมาใน พ.ศ.2535 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 สมัยที่ 2 ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับรัฐมนตรีในพรรคประชาธิปัตย์อีก 2 คน คือ ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และสุรินทร์ มาศดิตถ์

สรุปประวัติทางการเมือง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยแรก) พ.ศ. 2512
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สอง) พ.ศ. 2518
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สาม) พ.ศ. 2519
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2519[3][4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สี่) พ.ศ. 2522
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2523[5]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524
รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525 – 2526
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่ห้า) พ.ศ. 2526
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่หก) พ.ศ. 2529
ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529 – 2531
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เจ็ด) พ.ศ. 2531
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2531 – 2532
รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2532 – 26 ส.ค. 2533
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 (ส.ค.- ธ.ค. พ.ศ. 2533)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (26 ม.ค.2534 – 4 พ.ค. พ.ศ. 2546)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่แปด) พ.ศ. 2535 (22 มี.ค. พ.ศ. 2535)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่เก้า) พ.ศ. 2535 (13 ก.ย. พ.ศ. 2535)
นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย. พ.ศ. 2535 – 20 ก.ค. พ.ศ. 2538)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค. พ.ศ. 2538)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค. พ.ศ. 2538)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย. พ.ศ. 2539)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค. พ.ศ. 2539)
นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย. พ.ศ. 2540 – 8 ก.พ. พ.ศ. 2544)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย. พ.ศ. 2540-18 ก.พ. พ.ศ. 2544)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค. พ.ศ. 2544)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค. พ.ศ. 2544)
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน)
นายกรัฐมนตรี

ชวนขณะอภิปรายในสภา
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก
– โดยรัฐบาลชวนสมันแรกถือนโยบายการปฏิรูปที่ดินเป็นสำคัญ ในการแจกจ่ายที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดข้อผิดพลาด กรณี สปก.4-01 เป็นเหตุให้รัฐบาลนี้ต้องยุบสภาในเวลาต่อมา

วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ชวน หลีกภัย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง โดยรับช่วงต่อหลังจากพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยตัวค่าเงินบาท

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกา ต่อนายชวน ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มือสะอาด จนได้รับฉายา Mr. Clean (นายสะอาด)

 

ขอบคุณข้อมูลประวัตินายชวน หลีกภัย : wiki

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image