“จุรินทร์” ลงพื้นที่ปทุมธานีหารือเคาะประกันราคาข้าว

ประกันข้าว-เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ และทีมที่ปรึกษาพร้อมด้วยคณะทำงาน ได้เดินทางไปที่โรงสีสหกรณ์การเกษตรคลองหลวง จำกัด ถนนวงแหวนตะวันนออก ตำบลคลองเจ็ด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อพบปะเกษตรกรปลูกข้าวและผู้ประกอบการโรงสีประชุมหารือประกันราคาข้าว ซึ่งมีเกษตรกรปลูกข้าวกว่า 500 คนเข้าร่วมรับฟังนโยบาย โดยมีนายพินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พร้อมทั้งข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งนายพันธุ์ทิพย์ เปอร์เชาว์ ผู้จัดการโรงสีสหกรณ์การเกษตรคลองหลวง จำกัด ให้การต้อนรับพาชมกระบวนการรับซื้อข้าวเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ

นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้ได้เดินทางมาพบพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อกำหนดนโยบายประกันรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งเกษตรกรชาวนาที่มาในวันนี้เข้าใจส่วนต่างกันทุกคนวิธีคิดส่วนต่างทำอย่างไรทราบหรือไม่ วิธีคิดส่วนต่างเขาเอารายได้ที่ประกันเป็นตัวตั้ง เช่น สมมุติว่าข้าวเจ้ประกันรายได้เดือนละหมื่น ก็เอาเงิน 1000 ตัวตั้งลบด้วยราคาตันละของข้าวเจ้า ถ้าราคาข้าวเจ้าในขณะนั้นเกวียนละ 8,000 บาทก็แปลว่าส่วนต่าง1000 – 8,000 บาทก็จะเป็นส่วนต่าง 2,000 บาท เงิน 2,000 นี้ ถ้าพี่น้องขายข้าวก็จะโอนผ่าน ธกส.ไปเข้าบัญชีเกษตรกรที่ทำนาที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อเงินนั้นถูกโอนเข้ามาเราก็จะสามารถเบิกไปใช้เป็นรายได้ของเรา ฉะนั้น ถ้าประกันรายได้เราจะมีรายได้ 2 ก้อนหนึ่งจากการขายข้าวของเราเองข้าวคุณภาพดีก็จะได้เงินเยอะถ้าสภาพต่ำก็จะได้เงินน้อย ก็เป็นเรื่องธรรมดากับ 2 เงินส่วนต่างเวียนละ 2,000 3,000 หรือพันกว่าสุดแท้แต่ ถ้าราคาประกัน1000 ยืนพื้นราคาเป็น 9,000 บาทส่วนต่างก็ก็เหลือ 1,000 บาทถ้าราคาข้าวตันละ 7,000 บาทส่วนต่างก็จะ 3,000 บาท ซึ่งก็จะทำให้เรามีรายได้พอยังชีพ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่พบปะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเสร็จแล้ว ก็เดินทางไปประชุม 3 ฝ่าย ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เพราะได้กำหนดเป็นนโยบายว่าต่อไปนี้ นโยบายประกันรายได้ต้องประชุมตัดสินใจร่วมกัน 3 ฝ่ายไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตัดสินใจแต่เพียงลำพัง ซึ่ง 3  ฝ่ายที่ว่าคือ 1 ภาครัฐคือกระทรวงพาณิชย์กระทรวงการคลัง ธกส.กระทรวงเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 ภาคเอกชนคือ โรงสีผู้ส่งออกข้าวพ่อค้าข้าวกับ 3 คือตัวแทนเกษตรกร ตัดสินใจร่วมกัน หลังจากประชุมกันก็จะมีการเคาะราคาประกัน ข้าวเจ้าตันละเท่าไหร่ข้าวเหนียวตันละเท่าไรข้าวหอมตันละเท่าไรเมื่อเคาะได้แล้วก็จะเอาความเห็น 3 ฝ่ายร่วมกันไปเข้าสู่ที่ประชุม กบข. คือคณะกรรมการนโยบายข้าวและบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ ที่มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ถ้าผ่านกรรมการชุดนี้ไปก็เหลือขั้นตอนสุดท้ายคือนำเข้าครม. ถ้าครม.ผ่านต่อไปก็ประกันราคาได้เลย ซึ่งตรงนี้ก็คือแนวทางการประกันรายได้ชาวนาผู้ปลูกข้าว

Advertisement

ต่อมาเวลา 16.30 น.สรุปผลการประชุม 3 ฝ่ายเคาะราคาตามที่ตกลงกันคือ 1.ข้าวจ้าว ราคาประกันตันละ 10,000 บาทครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตันหรือ 40 ไร่ 2. ข้าวเหนียว ราคาประกัน 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตันหรือ 40 ไร่ 3.ข้าวหอมมะลิ ราคาประกัน 15,000 บาท ครัวเรือนไม่เกิน 40 ไร่ หรือ 14 ตัน 4.ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกัน 14,000 ครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่ หรือ 16 ตัน 5. ข้าวหอมปทุม ราคาประกัน 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่หรือ 25 ตัน ความชื้น 15% เท่ากันหมด โดยนายจุรินทร์  จะนำผลการประชุมในวันนี้ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวและบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ เพื่อความเห็นชอบต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image