09.00 INDEX บทบาท กอ.รมน. กับ ม.116 สกัดกระแส แก้ “รัฐธรรมนูญ”

 

สภาพที่ พล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ รับมอบอำนาจจาก กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้าไปร้องทุกข์กล่าวโทษ 12 นักการเมืองและนักวิชา การที่ร่วมเสวนาที่ลานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี

ทำให้บรรยากาศเหมือนที่เกิดขึ้นก่อนการทำ”ประชามติ”เมื่อ เดือนสิงหาคม 2559 หวนฟื้นคืนมาอีก

เพียงแต่เมื่อ 3 ปีก่อนพุ่งเป้าไปยังกลุ่มการเมืองและบุคคลที่ ออกมารณรงค์เพื่อต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับของ นายมีชัย ฤชุ พันธ์

Advertisement

ไม่ว่าจะเป็นนปช. ไม่ว่าจะเป็นนิสิตนักศึกษา

ขณะที่ในเดือนตุลาคม 2562 เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง เป็น นักวิชาการและเป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการเสวนา

โดย กอ.รมน.ทำหน้าที่แทน”คสช.”

Advertisement

 

ต้องยอมรับว่าในห้วงภายหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 การยกเอามาตรา 116 มาเป็นเครื่องมือในทางการเมืองคึกคักเป็นอย่างมาก

แม้แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยจัดเสวนา 4 ปีรัฐประหารก็พบกับข้อ กล่าวหาโดยมาตรา 116

หรือแม้กระทั่งกลุ่มนักศึกษา ประชาชน ออกมาเคลื่อนไหวในนาม “กลุ่มอยากเลือกตั้ง” ก็ถูกคสช.ตั้งข้อกล่าวหาโดยยกมาตรา 116 มาเป็นเครื่องมือ

ผลก็คือไม่เพียงแต่สำนักงานอัยการสูงสุดไม่ส่งฟ้อง หากแต่เมื่อขึ้นถึงชันศาลก็ได้รับการยกฟ้อง

เมื่อหมดยุคของคสช.ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลและแถลงนโยบายต่อรัฐสภา สังคมคิดว่าสภาพเช่นนี้จะหมดสิ้นไปแต่แล้ว กอ.รมน.ก็เข้ามาทำหน้าที่แทนคสช.

จึงทำให้บรรยากาศในห้วงก่อนประชามติเดือนสิงหาคมเมื่อ 3 ปีก่อนได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

 

การแสดงบทบาทของ กอ.รมน.ครั้งใหม่ด้วยการแสดงบทบาทเดียวกันกับคสช.เช่นนี้น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งว่าจะประสบความสำ เร็จมากน้อยเพียงใด

อย่างน้อยปฏิกิริยาอันมาจาก 7 พรรคร่วมฝ่ายค้านก็เด่นชัด

เด่นชัดว่ามิได้หวาดหวั่นพรั่นพรึงและพร้อมใช้กลไกของรัฐธรรมนูญโต้กลับอย่างทันทีทันควัน ไม่ว่าจะผ่านรูปของกรรมาธิ การ ไม่ว่าจะผ่านรูปของกระทู้ เป็นต้น

นี่คือสภาพการณ์ใหม่ นี่คือบทเรียนใหม่ในทางการเมือง

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image