วัดพลังชิงผู้ว่าฯกทม. เมื่อ ‘ชัชชาติ’ ลงอิสระ

ออกมาประกาศจุดยืนที่ชัดเจนด้วยตัวเอง เมื่ออดีต รมต.ทริป-ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เจ้าของฉายา รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” สมัยรัฐบาล ..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับทางเลือกที่จะขอลงสมัครรับเลือกตั้ง ชิงเก้าอี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17 ในนามอิสระ ไร้พรรคสังกัด ที่คาดกันว่าจะเกิดขึ้นห้วงต้นปี 2563

“ชัชชาติ” ให้เหตุผลถึงการตัดสินใจลงชิงผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระว่า เพราะสามารถทำงานได้กับทุกภาคส่วนมากกว่าลงในนามพรรคการเมือง และยืนยันไม่ได้มีความขัดแย้งหรือคิดทรยศพรรคเพื่อไทย (พท.) และยังคงให้เกียรติพรรค พท.เสมอ เพราะเกิดมาจากพรรค พท. แต่การทำงานกรุงเทพฯต้องเป็นการทำงานร่วมกับทุกฝ่าย และการทำงานในนามอิสระ จะช่วยหาแนวร่วมคนที่จะมาร่วมทำงานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากปัจจุบันคนกรุงเทพฯเบื่อการเมือง ที่ไม่ใช่เฉพาะพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่ง

“นอกจากนี้ในช่วงที่ยังไม่มีความชัดเจนในการกำหนดวันเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ที่ชัดเจน จะยังลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับฟังความคิดเห็น และเตรียมจะจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นว่าคนกรุงเทพฯต้องการผู้ว่าฯแบบไหน โดยจะทำให้เป็นระยะตามสถานการณ์ หากมั่นใจว่ามีโอกาสเป็นไปได้ที่จะชนะการเลือกตั้งก็จะลงสมัคร แต่หากไม่ได้รับการตอบรับก็จะพิจารณาอีกครั้ง” ชัชชาติระบุ

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์การเมือง มองกรณีที่ “ชัชชาติ” ตัดสินใจลงชิงผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระนั้น อาจเป็นการใช้กลยุทธ์เพื่อไม่ให้มีภาพติดกับพรรคการเมือง อย่างพรรค พท. ซึ่งอาจจะถูกโจมตีว่ามีจุดอ่อนถึงการครอบงำและสั่งการจากผู้มีอำนาจนอกพรรค พท. อย่าง ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ

Advertisement

เพราะด้วยดีกรีนักบริหารและจุดแข็งของ “ชัชชาติ” ที่มีภาพของนักการเมือง ที่เน้นผลการทำงาน ไม่เล่นการเมืองแบบเก่า ที่การใช้วาทกรรมและการโจมตีทางการเมือง จึงเป็นข้อดีและเป็นกระแสหนุนของกลุ่มคนรุ่นใหม่และชนชั้นกลางในพื้นที่กรุงเทพฯ

ยิ่งเมื่อดูผลการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ในพื้นที่ 30 เขตของ กทม. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่เป็นพรรคใหม่ สามารถกวาดคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ได้ ส.ส. ไปมากที่สุด 12 ที่นั่ง ด้วยคะแนน 845,365 เสียง ตามมาด้วยอันดับ 2 พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) คว้ามาได้ 9 ที่นั่ง 807,942 เสียง และพรรค พท. ได้ 9 ที่นั่ง ด้วยคะแนน 604,699 เสียง

หากจะสแกนดูในพื้นที่และคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา พรรค พท.รักษาที่นั่ง ส.ส.ของตัวเอง ในพื้นที่ของอดีต ส.ส. ทั้งจากพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก และฝั่งเหนือ ขณะที่พื้นที่อื่นๆ ใน กทม. ซึ่งเป็นพื้นที่ของอดีต ส.ส. อย่างพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ต้องเจอกับสภาพสอบตกยกพื้นที่ กทม. ด้วยการโดน พรรคน้องใหม่อย่าง พรรค พปชร. และพรรค อนค.เข้ามาชิงที่นั่งอย่างราบคาบ

Advertisement

อีกทั้งเมื่อดูผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เมื่อปี 2556 มีผู้มาใช้สิทธิ 2,715,640 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ 4,244,465 คิดเป็น 63.98% ซึ่งเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่าง 2 พรรคการเมืองกับ 1 ผู้สมัครอิสระ โดยผลปรากฏว่าชาวกรุงเทพฯ เทคะแนนให้ “คุณชายหมู ...สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นผู้ว่าฯกทม. ด้วยคะแนน 1,256,349 เสียง เฉือน พล...พงศพัศ พงษ์เจริญ จากพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่มีเสียงหนุนเกิน 1 ล้านคะแนนเหมือนกัน คือ 1,077,899 เสียง ไปเพียง 178,450 เสียง ตามมาด้วยอันดับ 3 คือ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ที่ลงสมัครในนามอิสระ 166,582 เสียง

แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. แต่ละครั้ง โหวตเตอร์ที่จะเข้าคูหาไปกาบัตร เลือกผู้ว่าฯกทม. ไม่ได้ดูปัจจัยชี้ขาดแค่ พรรคการเมืองต้นสังกัด แต่ยังมีปัจจัยเรื่องผลงานส่วนตัว และบริบททางการเมืองที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นด้วย

แม้ตามทฤษฎีของนักวิเคราะห์ทางการเมืองที่มองภาพการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. แต่ละครั้งที่ผ่านมาจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ชาวกรุงเทพฯมักจะเลือกผู้ว่าฯกทม. ที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในเวลานั้น เพื่อให้เกิดการทำงานแบบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

แต่เมื่อ “ชัชชาติ” แสดงจุดยืนลงชิง ผู้ว่าฯกทม. ในนามอิสระ กระแสที่คนยังมองว่า “ชัชชาติ” ยังเป็นคนของพรรค พท. อาจจะดีขึ้นบ้าง แม้ว่าสมาชิกพรรค พท. บางส่วนทั้ง ภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค พท. และ กิตติรัตน์ ระนอง อดีตรองนายกฯและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะรองหัวหน้าพรรค พท. จะประกาศสนับสนุนเทคะแนนให้ “ชัชชาติ” ในนามส่วนตัว ส่วนพรรค พท.จะส่งใครมาชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องคิดหนักว่าจะส่งมาชิงเก้าอี้หรือไม่ เพราะจะตัดคะแนนกันเอง

ขณะที่คู่แข่งขัน ทั้งจากพรรค พปชร. และพรรค ปชป. แม้จะยังไม่เคาะแคนดิเดต ตัวจริงŽ ลงชิงผู้ว่าฯกทม. อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นเจ้าของพื้นที่เดิม โดยเฉพาะพรรค ปชป.ที่จะต้องล้างตาขอทวงคืนฐานเสียงใน กทม.ที่สูญเสียไปกับการเลือกตั้ง ส.ส.กลับมาจากพรรค พปชร.

และพรรค อนค.ให้ได้ จึงจำเป็นต้องเลือกเฟ้นขุนพล ที่ต้องครบเครื่องทั้งโปรไฟล์และฝีมือ มาสู้ศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.อย่างแน่นอน

ส่วนพรรค อนค. จากคำยืนยันของ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค อนค. ที่ระบุว่า พรรค อนค.มีบุคคล 2-3 คน ที่จะลงชิงผู้ว่าฯกทม.แน่นอน รอเพียงข้อสรุปจากพรรค อนค.อย่างเป็นทางการ

ยิ่งในสนาม กทม. โดยเฉพาะผลการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา พรรค อนค.ปักธง ส.ส.กทม. ได้เป็นสมัยแรกถึง 9 ที่นั่ง ด้วยคะแนน 807,942 คะแนน เป็นไปได้ที่พรรค อนค. จะต้องคัดเฟ้นคนดีมีฝีมือ มาลงชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. เพื่อวัดเรตติ้งคะแนนนิยมของพรรค โดยเฉพาะจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งคู่แข่งที่สมน้ำ สมเนื้อ ที่จะมาช่วงชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.กับ “ชัชชาติ” คงหนีไม่พ้น “เสี่ยเอก” ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

หัวหน้าพรรค อนค.

ส่วนจะดีเดย์เปิดศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.วันใด เมื่อนั้นจะได้เห็นหน้าค่าตา ทั้งผู้ท้าชิงของแต่ละพรรค ผู้ท้าชิงอิสระว่าใครจะชิงชัยกับใคร เพื่อคว้าเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. คนที่ 17 ไปครอง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image