09:00 INDEX “มติ” แหลมคม ทาง “การเมือง” “ถวายสัตย์” ถึง “พระราชกำหนด”

ไม่ว่าเรื่อง”ถวายสัตย์ปฏิญาณตน”เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ไม่ว่าเรื่อง “พระราชกำหนด” เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม

มีความสัมพันธ์กับ”รัฐธรรมนูญ”เช่นเดียวกัน

เหตุใดท่าทีทางการเมืองจึงแตกต่างกัน

ไม่เพียงแต่ “ภายใน” พรรคอนาคตใหม่ หากแม้กระทั่ง “ระหว่าง” พรรคอนาคตใหม่กับพรรคร่วมฝ่ายค้าน

Advertisement

นี่จึงเป็น “กรณีศึกษา” อันแหลมคมกรณีหนึ่งในทางการเมือง

สะท้อนให้เห็นความเข้าใจและตีความทางการเมืองแตกต่างกันทั้งๆที่ยึดกุมหลักการของรัฐธรรมนูญอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

นี่จึงเป็นเรื่องที่ภายในแต่ละ 7 พรรคร่วมฝ่ายค้านจักต้องขบคิดและพิจารณาอย่างจริงจัง

Advertisement

ต้องยอมรับว่าต่อกรณี”ถวายสัตย์ปฏิญาณตน”แม้ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยไม่รับพิจารณาตามคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่ก็มิได้มีคำสั่งใดๆ

และหากพิจารณาจากรายละเอียดคำอภิปรายของพรรคอนาคตใหม่ เหตุผลหลักก็แทบไม่แตกต่างไปจากกรณี”พระราชกำหนด”

นั่นก็คือ พรรคอนาคตใหม่ถือเรื่องของ”พระราชกำหนด”กับเรื่องของ”การถวายสัตย์ปฏิญาณตน”เป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎร

นั่นก็คือ เป็นเรื่องระหว่าง”อำนาจบริหาร” กับ ”อำนาจนิติบัญญัติ”

นั่นก็คือ ยึดกุมหลักการของ ”รัฐธรรมนูญ” เป็นหลัก

คำถามก็คือ เหตุใดท่าทีระหว่าง”การถวายสัตย์ปฏิญาณตน” กับ “พระราชกำหนด” ผลของการยึดกุมและลงมติจึงแตกต่างกัน

ความแตกต่างในการสรุปและปรากฏออกมาในกรณีของ ส.ส.จำนวน หนึ่งแห่งพรรคอนาคตใหม่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมติและบทสรุปของพรรคฝ่ายค้านร่วมอื่นๆ

ก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างท่าทีของ 70 ส.ส.พรรคอนาคต ใหม่กับท่าทีของอีกหลายร้อยคนในพรรคร่วมฝ่ายค้านขึ้นมา

ทั้งๆที่หลักคิดโดยมูลฐานคือ “รัฐธรรมนูญ”เหมือนกัน

นี่จึงเป็นเรื่องที่บรรดา “นักรัฐธรรมนูญนิยม” และบรรดา “นักสังเกตการณ์”ทางการเมืองสมควรให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษ

ก่อนประเมินและสรุปต่อมติของพรรคอนาคตใหม่

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image