GSP คืออะไร?? หลังสหรัฐตัดสิทธิ GSP 600 รายการ เฉียด 4 หมื่นล้านบ.

กรณีสหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้า (GSP) จากไทย มีผล 6 เดือนหลังประกาศเมื่อ 25 ต.ค. โดยอ้างเหตุเรื่องสิทธิแรงงาน แต่สาเหตุที่แท้จริง เพื่อตอบโต้เรื่องที่ทางการไทยสั่งแบนสารพิษ

อ่าน :  ตอบโต้ไทยแบน ‘สารพิษ’ เหตุมะกันตัดสิทธิ GSP เตรียมหาเวทีถกแก้เกมต้นพ.ย.

อ่าน : ด่วน!! เปิดรายละเอียด สหรัฐฯพักสิทธิ GSP ไทย อ้างไทยไม่ให้สิทธิแรงงานตามมาตรฐาน มีผล 6 ด. หลังประกาศ 25 ต.ค.

อ่าน : ด่วน !! กระทรวงพาณิชย์ แถลงกรณีสหรัฐฯ ตัดสิทธิ จีเอสพี ไทย

Advertisement

อ่าน : ด่วน!! ไทยถูกสหรัฐตัดจีเอสพี เกือบ 600 รายการ เฉียดสี่หมื่นล้าน มีผลปีหน้า !!

อ่าน : “บิ๊กตู่”ให้แจงปมทูตมะกัน ส่งหนังสือค้านแบนไกลโฟเซต อ้างไทยไร้หลักฐานวิทย์พิสูจน์สารอันตราย

GSP คืออะไร?

Advertisement

ท.พ.ประโยชน์  เพ็ญสุต อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระบุว่า จีเอสพี (GSP) ซึ่งย่อมาจาก generalized system preference คือ สิทธิทางภาษีที่ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย โดยไม่ต้องเสียภาษีสินค้านำเข้าบางรายการเมื่อส่งสินค้าไปขายในประเทศผู้ให้สิทธิ เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถส่งออกสินค้าไปแข่งกับสินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแข่งกับประเทศที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าได้ราคาถูกและมีประสิทธิภาพ เช่น จีน เป็นต้น

การให้สิทธิ GSP นี้ เป็นการให้แบบฝ่ายเดียว (unilateral) คือประเทศที่ให้สิทธิ GSP ไม่ได้เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากประเทศผู้รับ แต่เป็นการให้แบบมีเงื่อนไข คือ ประเทศที่จะได้รับสิทธิ GSP นี้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ประเทศผู้ให้วางไว้ เช่น ในกรณีของประเทศสหรัฐ ประเทศผู้มีสิทธิได้รับ GSP จากสหรัฐ จะต้องมีรายได้ของประชากรต่อหัว (GNP per capita) ไม่เกิน 12,476.00 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี (ประเทศไทยมีรายได้ประมาณหกพันเหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี) ต้องเป็นประเทศที่ไม่สนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ต้องมีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในระดับที่ดีพอสมควร มีการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามมาตรฐานสากล มีความพยายามในการขจัดการใช้แรงงานเด็ก และมีเงื่อนไขอื่น ๆ ในด้านการค้าและการปฏิบัติต่อสหรัฐอย่างเท่าเทียมกับประเทศอื่น เป็นต้น

ในปัจจุบันสหรัฐให้สิทธิ GSP แก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ 125 ประเทศ ครอบคลุมสินค้าประมาณ 3,500 รายการ สำหรับประเทศกำลังพัฒนาทั่วไป แต่ประเทศกำลังพัฒนาในระดับน้อยที่สุด (least developed country : ซึ่งมีรายได้โดยเฉลี่ยต่อหัวน้อยกว่า 1,305 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี) สหรัฐจะเพิ่มรายการที่ได้รับสิทธิ GSP นี้อีกประมาณ 1,500 รายการ สหรัฐเริ่มให้สิทธิทางภาษีแก่ประเทศต่าง ๆ โดยออกเป็นกฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 แต่ไม่ได้เป็นการถาวร โดยเมื่อกฎหมายหมดอายุลงก็มีการต่ออายุออกไปเป็นระยะ ๆ จนถึงปัจจุบัน

ในอดีตสหรัฐ มีการยกเลิกการให้สิทธิ GSP แก่ประเทศต่าง ๆ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ ได้แก่ กรณีไม่คุ้มครองสิทธิแรงงาน เช่น บังกลาเทศ ในปี 2556 เบลารุส ในปี 2543 กรณีไม่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ฮอนดูรัส ในปี 2541 ยูเครน ในปี 2544 ซึ่งเมื่อประเทศที่ถูกยกเลิก GSP มีการปรับปรุงและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จะได้สิทธิ GSP กลับคืนมา

แต่มีบางประเทศที่ถูกยกเลิกสิทธิ GSP เป็นการถาวรเมื่อมีระดับการพัฒนาประเทศที่สูงมากจนไม่จำเป็นต้องได้รับสิทธิ GSP แล้ว ได้แก่ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง ในปี 2532 มาเลเซีย ในปี 2541 และรัสเซีย ในปี 2556

ส่วนประเทศไทยยังคงเป็นประเทศหนึ่งที่ยังได้รับสิทธิทางภาษี GSP จากสหรัฐ

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับสิทธิ GSP จากสหรัฐเป็นมูลค่าเกือบ 4,000 ล้านบาท (เป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย) และ “ประเทศไทย” เคยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐมาแล้ว 11 รายการ จากสินค้าที่ครอบคลุมทั้งหมด 3,500 รายการ

ขอบคุณข้อมูลประชาชาติ :
“สหรัฐ” ตัด GSP “อินเดีย-ตุรกี” ไทย-อินโดนีเซีย ลุ้นระทึก
จีเอสพี (GSP) คืออะไร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image