09.00 INDEX ปัญหา แรงงาน และ GSP จากเพื่อไทย ถึง พลังประชารัฐ

ปัญหาอันเนื่องจากสหรัฐประกาศตัดสิทธิ GSP กำลังจะสะท้อนลักษณะเฉพาะของการบริหารแบบ”ไทย” และโดยเฉพาะไทยในแบบหลังรัฐประหารจากเดือนพฤษภาคม 2557 เด่นชัดมากยิ่งขึ้น

นั่นก็เห็นได้จากคำอ้างที่ว่าที่ถูกตัดเนื่องจากสหรัฐเห็นว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าและเติบใหญ่ในทางเศรษฐกิจ

นั่นก็เห็นได้จากคำอ้างที่ว่ามาจากกรณีการแบน 3 สารพิษ

นั่นก็เห็นได้จากเหตุผลที่ว่าสหรัฐต้องการให้เปิดโอกาสให้แรงงาน ต่างด้าวได้จัดตั้งสหภาพแรงงาน

Advertisement

นั่นก็เห็นได้จากเหตุผลที่ว่าเป็นการเตือนไทยไม่ให้เอนไปทางจีน

ทั้งๆที่ในความเป็นจริงเหตุผลหลักของสหรัฐอยู่ที่ประเด็นในเรื่อง ของแรงงานและมิได้เป็นแรงงานต่างด้าวหากแต่เป็นแรงงานไทย

ตรงนี้ต่างหากคือเนื้อหา”ใจกลาง”ของปัญหา

Advertisement

มติจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่มอบหมายให้เป็นงานด้านหลักของกระทรวงพาณิชย์ โดยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวหนุน

และก็ดำเนินไปอย่างที่กระทรวงแรงงานสรุปออกมาว่า

“กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ไปเจรจาเรื่อง GSP ขณะที่เรื่องแรงงานไม่ค่อยมีอะไร”

ซึ่งสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับคำประกาศจากสหรัฐ

และสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับคำยืนยันภายหลังอุปทูตรักษาการเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศเข้าพบรองนายกรัฐมนตรีว่าเรื่องของแรงงานคือหัวใจ

“สหรัฐจะหารือกับรัฐบาลไทยในข้อกฎหมายต่างๆในเรื่องของแรงงานว่าจะดำเนินการร่วมกันอย่างไร”

เมื่อสหรัฐเน้นเรื่องของแรงงานเป็น”หัวใจ”การให้กระทรวงพาณิชย์ไปเจรจาในที่สุดก็ต้องย้อนกลับมายังประเด็น”แรงงาน”

ขณะเดียวกัน การที่กระทรวงแรงงานเน้นเพียงประเด็นในเรื่องของสหภาพแรงงานของ”แรงงานต่างด้าว”ก็เป็นวิธีวิทยาในแบบเดียวกับของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นั่นก็คือ หลบเลี่ยงและไม่ยอมเผชิญกับปัญหาและความเป็นจริง อันเป็นข้อสังเกตและข้อเสนอของสหรัฐ

ทั้งๆที่เรื่องนี้มีมาตั้งแต่เมื่อปี 2558

เป็นปัญหาจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยต่อเนื่องมายังรัฐบาลพรรคพลังประชารัฐก็ยังอยู่ในที่เดิม

เท่ากับพรรคเพื่อไทยกับพรรคพลังประชารัฐก็คิดไม่ต่างกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image