สมาชิกรัฐสภาอาเซียน จี้ผู้นำอาเซียน ป้องปัญหาละเมิดสิทธิ ยกกรณีฝ่ายค้านถูกฟ้องปิดปาก

กลุ่มสมาชิกรัฐสภาเพื่อสิทธิมนุษยชน ร่อนแถลงการณ์ อาเซียนให้ความสำคัญกับปัญหาการละเมิด สิทธิมนุษยชน นำพาภูมิภาคสู่ประชาธิปไตย พบข้อมูล ฝ่ายค้านในลาว-ไทย-ฟิลิปปินส์ ถูกฟ้องปิดปาก

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights: APHR) เผยแพร่แถลงการณ์เรียกร้องให้ผู้นําประเทศอาเซียน ซึ่งจะรวมตัวกันเพื่อร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนที่ประเทศไทย ครั้งที่ 35 จะจัดขึ้นในวันที่ 2-4 พฤศจิกายนนี้ ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาที่เร่งด่วนที่สุด

“สมาชิกสภาทั่วภูมิภาคต่างกังวลว่า ผู้นําอาเซียนจะล้มเหลวอีกครั้งในการอภิปรายถกเถียงเรื่องเผด็จการอํานาจนิยมที่ก่อตัวขึ้นในภูมิภาคและการไม่ธำรงต่อการให้คํามั่นสัญญาว่า รัฐจะปกป้องสิทธิมนุษยชน ประเด็นที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การกดขี่โรฮิงญา และชนกลุ่มน้อย
ทางชาติพันธุ์ในเมียนมาร์การทําลายประชาธิปไตยและทําร้ายผู้เห็นต่างในกัมพูชา การไม่รับผิด
ชอบต่อการวิสามัญฆาตกรรมเหยื่อหลายพันคนในฟิลิปปินส์ การจํากัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
เมืองในประเทศไทย รวมถึงการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร” กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อ
สิทธิมนุษยชน กล่าว

“รายการสิ่งที่ควรจะได้รับการถกเถียงอภิปราย ณ ประชุมสุดยอดอาเซียนนั้น ยาวเกินไป และเป็น
ประเด็นร้ายแรงเกินกว่าจะสาธยายรายละเอียดได้เพียงพอ แต่เรารู้กันดีว่า ความเป็นไปได้ที่ประเด็น
เหล่านั้น จะได้รับการกล่าวถึงในการประชุมมีน้อยเต็มที APHR และองค์กรภาคประชาสังคมได้เรียก
ร้องหลายครั้งหลายคราให้อาเซียนลุกขึ้นมา แต่อาเซียนก็ล้มเหลวทุกครั้งไป ไม่ว่า ผู้นำบางคนจะมี
ความตั้งใจดีเช่นไร อาเซียนก็ไม่มีพื้นที่ แม้แต่นิ้วเดียวให้แก่การสนทนาอย่างมีความหมายในเรื่องการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชากรอาเซียน” Charles Santiago สมาชิกรัฐสภามาเลเซีย และประธาน
APHR กล่าว

Advertisement

ท่ามกลางความกังวลหลายอย่างที่จําเป็นต้องได้รับความสนใจจากภูมิภาคอย่างเร่งด่วน APHR เน้น
ย้ำความล้มเหลวของอาเซียนในการโต้ตอบอย่างเพียงพอต่อข้อกล่าวหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้น
ในประเทศสมาชิกอาเซียน และการรับรองความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่ออาชญากรรม

“ความทุกข์ทรมานของโรฮิงญาไม่มีวีแววว่าจะจบลง” Eva Sundari อดีตสมาชิกรัฐสภาอินโดนีเซีย
และบอรด์ APHR กล่าว “อาเซียนจะต้องรับผิดชอบ และใช้สถานะกดดันเมียนมาร์ใหแก้ปัญหาที่
ต้นตอของวิกฤติ ซึ่งรวมถึงฟื้นคืนสิทธิของโรฮิงญา การหารือเรื่องการส่งกลับประเทศไม่มี ความ
หมายอะไร ถ้าเราไม่ฟังความต้องการของโรฮิงญา และถ้าเมียนมาร์ไมสามารถรับรองความปลอดภัยและเกียรติของพวกเรา”

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลเผด็จการก็ปิดพื้นที่ทางประชาธิปไตยและพุ่งเป้าไปยังนักกิจกรรมและ
สมาชิกพรรคฝ่ายค้านที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลอย่างสันติ

Advertisement

APHR ได้เก็บข้อมูลการใช้กระบวนการยุติธรรมคุกคามฝ่ายค้านในกัมพูชา ไทย และฟิลิปปินส์ ในปีนี้ มีนักกิจกรรมกว่า 50 คน และสมาชิกพรรคฝ่ายค้านคือพรรค Cambodia National Rescue Party (CNRP) ที่ถูกจับกุม และควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดีและถูกบังคับให้ยอมรับต่อ “อาชญากรรม” เพียงเพราะแสดงออกอย่างสันติ โดยใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในประชาชนทั่วไป ในประเทศไทย ผู้มีอํานาจจะต้องยกเลิกการจํากัดเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และ หยุดความพยายามในการปิดปากฝ่ายค้าน และภาคประชาสังคม นอกจากนี้ APHR ยังได้ออกรายงานเปิดเผยการปราบปรามฝ่ายค้านโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์อีกด้วย

สมาชิกรัฐสภาเตือนอาเซียนว่า การล้มเหลวในการทําตามหลักการประชาธิปไตยตามที่กล่าวไว้ และ
ในการให้ประเทศสมาชิกรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชนอาจทําให้อาเซียนเกิดรอยร้าว สมาชิกรัฐสภา
ยังเน้นย้ำบทบาทที่สําคัญของนานาชาติในการผลักดันความเคารพสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ผู้นํา
อาเซียนจะพบปะกับพันธมิตรหลักในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และการประชุมสุดยอด
อื่นๆกับจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย และสหประชาชาติด้วย

“การสนับสนุนระบอบเผด็จการที่จํากัดสิทธิเสรีภาพของผู้คนจะไม่นำพาเราไปสู่สันติภาพ และความ
เจริญรุ่งเรืองในระยะยาวที่อาเซียนคาดหวัง เราต้องไม่ลืมว่า ลาว บรูไน และเวียดนามไม่ได้เข้าใกล้
การเปิดประเทศมากไปกว่าที่เคยเป็นเมื่อทศวรรษที่แล้ว” นายกษิต ภิรมย์ อดีตสมาชิกรฐัสภาไทย และ
สมาชิกบอร์ด APHR กล่าว

“ในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ ประเทศไทยต้องเป็นผู้นำ ต้องแสดงให้เห็น เป็นตัวอย่างโดยการลุกขึ้น
พูด และผู้นำ จากนานาชาติที่เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนจะต้องกระตุ้นอาเซียนและประเทศ
สมาชิกให้ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนอย่างถึงที่สุด”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image