สถานีคิดเลขที่ 12 : เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหน? : ปราปต์ บุนปาน

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมในฐานะประธานการประชุม ครม.เศรษฐกิจ กล่าวยอมรับว่าแม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยและอาเซียนอาจไม่ได้ประสบภาวะ ถดถอยŽ แต่ก็จะ เติบโตช้าลงŽ ในปีหน้าและปีต่อไป

ถึงจะไม่ใช่การยอมรับอย่างตรงไปตรงมา แต่นี่ก็เป็นครั้งแรกๆ ที่ได้ยิน พล.อ.ประยุทธ์ สะท้อนปัญหาสำคัญซึ่งคนไทยจำนวนมากต่างรับรู้กันถ้วนหน้า

นั่นคือเศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัว-เซื่องซึม-อยู่ในช่วงขาลง

ณ ห้วงเวลาใกล้เคียงกัน มติชนทีวีได้สัมภาษณ์ ศิริกัญญา ตันสกุลŽ ส.ส.บัญชีรายชื่อและ ผอ.นโยบายพรรคอนาคตใหม่

Advertisement

ในฐานะที่เธอมิได้เป็นเพียงหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดอยู่ แต่ยังเป็นหนึ่งใน ส.ส.เพียงไม่กี่คนที่อภิปรายเรื่องเศรษฐกิจมหภาคมาอย่างต่อเนื่องจริงจังในช่วงหลายเดือนก่อนหน้านี้ ทั้งยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร

เมื่อถูกถามว่าหากการบริหารจัดการเศรษฐกิจของรัฐบาลที่นำโดยพรรคพลังประชารัฐดำเนินในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และปราศจากความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่สำคัญ

ปลายทางของเศรษฐกิจไทยจะเดินทางไปสู่จุดไหน?

Advertisement

ศิริกัญญามองว่าถ้ารัฐบาลชุดนี้ยังดำเนินนโยบายด้วยความเชื่อแบบเดิมที่ว่า ควรทำให้ ส่วนบนŽ มีความเติบโตและมีรายได้เพิ่มขึ้น แล้ว ส่วนล่างŽ ก็จะได้รับประโยชน์ตามมาเอง โดยละเลยเศรษฐกิจระดับฐานรากที่ซบเซามายาวนาน

อย่างเบาะๆ ที่สุด เศรษฐกิจไทยอาจมีสภาพเหมือนเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งเผชิญหน้ากับ สองทศวรรษที่สูญหายŽ

กล่าวคือถึงญี่ปุ่นจะไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่มีอาการหดตัวอย่างรุนแรง ไม่เคยประกาศตัวว่ามีภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยŽ

แต่ปัญหาสำคัญที่ประเทศญี่ปุ่นต้องเจอ ก็ได้แก่ อาการซึมยาวŽ ในทางเศรษฐกิจ แสดงออกผ่านตัวเลขเงินเฟ้อที่ต่ำ ราคาสินค้าคงตัวเท่าเดิมตลอดสิบปี

เท่ากับว่าเงินในกระเป๋าคนจะไม่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเลย

อย่างไรก็ดี มือเศรษฐกิจจากอนาคตใหม่หมายเหตุเอาไว้ว่าไทยกับญี่ปุ่นนั้นมีความ
แตกต่างประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

นั่นคือเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีปัญหาเหลื่อมล้ำน้อย ช่องว่างทางรายได้ของประชาชนไม่ได้ห่างกันอย่างมหาศาล

ขณะที่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำสูง เห็นชัดเจนจากช่องว่างระหว่างรายได้ ดังนั้น แม้จีดีพีจะเติบโต เศรษฐกิจดูเหมือนจะขยายตัว แต่ไม่ได้หมายความว่ารายได้ของคนส่วนใหญ่จะขยายตัวตามไปด้วย

เรื่องความเหลื่อมล้ำนั่นเอง ที่อาจพาไทยไปเผชิญกับความเป็นไปได้ที่เลวร้ายกว่ากรณี ซึมยาวŽ แบบญี่ปุ่น

เป็นความเป็นไปได้ที่ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันสูงลิ่วหรือความไม่เป็นธรรมในการกระจายทรัพยากร อาจนำไปสู่การก่อจลาจลของประชาชน ดังที่กำลังปรากฏในหลายประเทศ อาทิ เลบานอนและชิลี

แน่นอน คงไม่มีใครคนไหน รวมถึงศิริกัญญา ที่ต้องการให้ปลายทางเช่นนั้นเกิดขึ้นในสังคมไทย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะสามารถจัดสรรส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่? มากน้อยแค่ไหน?

นี่คือภารกิจท้าทาย ที่ ส.ส.หน้าใหม่รายหนึ่ง ฝากไปยังรัฐบาล

เป็นความท้าทายที่ไม่อาจสำเร็จลุล่วงได้ ด้วยการเพิ่มจำนวนวันหยุดหรือการโปรยเงินกระตุ้นการบริโภคเท่านั้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image