คำต่อคำ ‘สุวัจน์ ลิปตพัลลภ’ อีอีซี-โอกาสประเทศไทย และเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจ?

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 14.00 น. ที่ รอยอลพารากอน ฮอลล์ 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอน จัดงานสัมนาวิชาการด้านอสังหาริมทรัพย์ “ASA Real Estate Forum 2019” นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายรัฐมนตรี กล่าวในหัวข้อ Thailand – Country of Opportunities & Equality

นายสุวัจน์กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ได้พูดคุยกับคนในวงการสถาปนิก ส่วนตัวเป็นวิศวกร ถือเป็นอาชีพที่ใกล้เคียงกัน ตอนสอบเอนทรานซ์ก็ตัดสินใจจะเรียนอะไร แต่ที่บ้านทำก่อสร้างจึงอยากเรียนวิศวกร เพราะอยากช่วยงานของครอบครัว รู้สึกภูมิใจกับอาชีพนี้ ว่านอกเหนือจากธุรกิจที่เราได้ ยังช่วยสร้างสังคม สร้างความเจริญ ตอนเด็กสร้างถนน จะนั่งรถไปกับพ่อ พ่อบอกว่ามีความสุข ทำถนนแล้วบ้านเมืองเจริญ ชุนชนเกิดขึ้น เศรษฐกิจเกิด เวลาพ่อทำถนน วัดออกมาจะยาวกว่าสัญญา อย่างสัญญา 10 กม. ก็เกิน 10 กม. 500 เมตร เราจึงรู้ถึงความเจริญของชุมชน จึงรู้สึกว่ามีเกียรติ เป็นการปิดทองหลังพระ ยังคิดต่อไปว่า เดเวลอปอเปอร์ สถาปนิก และวิศวกร ไม่ใช่แค่สร้างประโยชน์ใช้สอย ไม่เพียงบ้าน ตึก หรือผังเมือง แต่เติมเต็ม ทำให้เกิดความสวยงาม และการพัฒนาของบ้านเมือง เมืองสำคัญของโลกสถาปนิกจะเป็นผู้กำหนดบทบาท ซึ่งสะท้อนบุคลิกของคนนั้น เช่น ปารีส เมืองคลาสิกของโลก แต่ถามว่าคนรู้จักอะไร ไปปารีสเพื่อดูปารีส หรือไปเพื่อดูหอไอเฟล ที่เกิดจากการออกแบบของสถาปนิกระดับโลก กุสตาฟ ไอเฟล ในโอกาสที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการค้าโลก ซึ่งตอนแรกคนฝรั่งเศสไม่ยอมรับ เกือบรื้อทิ้ง แต่ปัจจุบันกลายเป็นเดสทิเนชั่นของปารีส มีคนไปชมมากที่สุดในโลก  วันนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ความคลาสสิก เมื่อพูดถึงฝรั่งเศส หอไอเฟลมาก่อน หรือพูดถึงฟอเรนส์ ก็นึกถึงไมเคิลแองเจลโล ที่เอาหินอ่อนมาแกะสลักรูปเดวิด หรือ วิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม อยากให้สถาปนิกภูมิใจว่าเราเป็นผู้กำหนดทิศทาง ผู้สร้าง และก่อให้เกิดความเจริญ

อย่างในเมืองไทยมีวิศวกรผู้หนึ่งที่สร้างบุคลิกของเมืองหัวหิน จนมีอายุ 107 ปี นับจากวันที่ทางรถไฟไปถึง นอกจากสร้างทางรถไฟ ยังสร้างผังเมือง สร้างโรงแรมรถไฟ โรงแรมแห่งแรกขงไทยที่เป็นมาตรฐานโลก เป็นรีสอร์ทชั้นนำของเอเชีย เป็นเมืองคลาสสิก มีความสวยหรู การออกแบบ แบบโคลอลเนียล เป็นที่พักตากอากาศของชนชั้นสูง อารมณ์นีส คานส์ โมนาโค สถาปนิกมีส่วนสำคัญมากในโอกาสของการพัฒนาประเทศ

Advertisement

ในเรื่องโอกาสและความเท่าเทียม ในฐานะอาชีพของผม และฐานะคนไทยมีหน้าที่สร้างโอกาสให้คนไทย ให้ทุกคนได้สัมผัสและรับ

โอกาสของเมืองไทยคืออะไร โอกาสของวิศวกร เดเวลล็อปเปอร์ และสถาปนิก คืออะไร โฮกาสของเกษตรกร นักลงทุน นักอุตาสหกรรม แพทย์คืออะไร ต้องมามองว่าวันนี้ประเทศไทยอยู่กับอะไร อะไรบ้างที่เป็นปัจจัยก่อโอกาสหรือก่อวิกฤต

Advertisement

วันนี้ที่เราแสวงหาโอกาสเพราะเรากำลังรู้สึกไม่สบายใจ เราอยู่ในสถานการณ์ที่ทุกคนจะพูดเรื่องเศรษฐกิจไม่ดีก่อน ถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจ วันนี้โลกทั้งใบทุกประเทศเหมือนเป็นประเทศเดียวกัน ไม่มีพรมแดน อะไรที่เกิดอีกมุมหนึ่งของโลก ก็ไปเกิดอีกประเทศหนึ่ง ถ้าพูดเรื่องเศรษฐกิจไม่ดีต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจโลก ที่ขึ้นลงเหมือนคลื่น 10 ปีมาแล้วที่เศรษฐกิจดี แต่ตอนนี้แย่ลง IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกควรจะโต 3.6-3.7 ก็เหลือแค่ 3.1 การค้าโลกอกว่าจะขยายตัว 2.7-2.9 ตอนนี้ก็เหลือแค่ 6 เปอร์เซ็นต์ ถ้าปีหน้าเกิดสถานการณ์แบบนี้อีก อะไรที่เศรษฐกิจไม่โต การค้าม่โนต ติดต่อกันกัน 2-3 ปี จะเริ่มถดถอย สาเหตุมาจากวัฎจักรของเศรษฐกิจ และประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจก็ไม่ค่อยถูกกัน ส่วนหนึ่งที่สำคัญมาจากสงครามการค้าระว่างสหรัฐกับจีน สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนมาก การจะไปลงทุนนจีนาจะต้องถูกบังคับเรื่องการถ่ายทอกเทคโนโลยี รวมทั้งเรื่องทรัพย์สิน ลิขสิทธิ์ทางปัญญา สหรัฐจึงเอาเรื่องเหล่านี้มาสร้างกำแพงภาษี กลายเป็นเทรดวอร์ เมื่อยิ่งใหญ่ที่สุดในเศรษฐกิจโลก เมื่อรบกันทำให้สงครามการค้ายิ่งฉุด สหรัฐก็ถดอย เหลือ 2.1 เปอร์เซ็นต์ จีนเคย 10 เปอร์เซ็นต์กว่าทุกปี ตอนนี้เหลืแค่ 6 เปอร์เซ็นต์ ด้านอียูก็เหลือแค่ 1.1 เปอร์เซ็นต์ เพราะปัญหาที่อังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปทำให้ไม่สามารถทำการค้าเสรีกับประเทศใดประเทศหนึ่งได้ ขัดแย้งจนวันนี้ยังไม่จบ จะเห็นว่าอียูก็มีปัญหา กระทบกับเศรษฐกิจโลกทั้งหมด จึงกระทบไทยด้วยเพราะเราพึ่งการลงทุน การส่งออก และการท่องเที่ยว ประเทศคู่ค้าใหญ่ๆ อย่างเมริกา จีน ยุโรป ญี่ปุ่น เกิดปัญหาหมด เมื่อเกิดทั้ง 2 อย่างพร้อมๆ กัน ทั้งเศรษฐกิจถดถอย และดิสรัปทีฟเทคโนโลยี

ทุกวันนี้เป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เจอเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ เทคโนโลยีชีวภาพ AI, Robotic, บล็อกเชน ฯลฯ ดังนั้นดิสรัปทีฟจึงเข้ามาเป็นมูลเหตุให้เกิดการปฏิวัติอุตสากรรมครั้งที่ 4 ทำให้เกิดความผันผวนในไลฟ์สไตล์ ในระบบการทำธุรกิจ การค้าเปลี่ยนเป็นออนไลน์ คนไม่ไปซื้อของที่ห้าง รถยนต์จากปกติมาเป็นรถพลังงาน การเปลี่ยนแปงของเทคโนสโลยี จึงเปลี่ยรูปแบบไลฟสไตล์รูปแบบการทำธุรกิจ จังหวะของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ลงตัว และอานุภาพความรุนแรงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 แม้จะมาสั้นๆ แต่อานุภาพมหาศาล ทุกคนรอดูว่าเมื่อไหร่ดิสรัปทีฟเทคโนโลยีจะลงตัว หรือควรเปลี่ยนอาชีพ

วันนี้เราเจอทั้งเรื่องเศรษฐกิจโลก และดิสรัปทีฟ จึงกระทบเศรษฐกิจประเทศไทย ชนชั้นกลาง เกษตรกร ราคาสินค้าเกษตร จีดีพีเหลือ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หนี้ครัวเรือน 180,000 บาท เป็นที่ 3 ในเอเซีย

โดยภาพรวม เศรษฐกิจโลกก็แย่เศรษฐกิจไทยก็แย่ จะอยู่อย่างไรให้มีความหวัง อะไรคือโอกาสในความเท่าเทียมที่เราควรช่วยกันสร้าง ช่วยกันมองหา และทำให้เกิดได้ หากอยากให้มีโอเมนตัม ต้องมีการลงทุนใหญ่ๆ เมกกะโปรเจกต์ เพื่อมาทวิสต์ระบบเศรษฐกิจขงประเทศ เราต้องมีพันธมิตรในโลกการทำธุรกิจ เราไม่สามารถชนะเทคโนโลยีได้ จึงต้องตามให้ทันและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ต้องค้นให้เจอว่าอะไรเป็นจุดแข็งของไทยและนำมาใช้ ถ้าสามารถมีเมกกะโปรเจกต์ให้คนทั้งโลกหันมาโฟกัสที่ประเทศไทยได้ ถ้าสามารถตามเทคโนโลยีทัน ถ้าเราสามารถนจับจดแข็งได้ และมีเพื่อนที่ดีในโลก ทั้ง 4 อย่างจะสร้างโอกาสและประโยชน์ให้กับประเทศไทย

ในมุมของผม โอกาสของประเทศไทย คือ 1.เมกะโปรเจกต เนื่องจากเคยเป็น รมต.คมนาคม และ อดีตรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนเมกกะโปรเจ็กต์มากที่สุด และมีผลให้เห็นชัดเจนว่ามีความเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาก ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่น สร้างฐานทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ​ (ประเทศอยู่ได้ด้วย 1.คนมาเที่ยว 2.คนมาลงทุน 3.ส่งออกสินค้า) เมื่อลองไล่ไปทีละรายการในมุมส่วนตัวรู้สึกว่ามีความหวัง เมกกะโปรเจ็กต์ที่จะเป็นประโยชน์และโอกาสความเท่าเทียม คือ 1.โครงการ EEC สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ มีการหมุนแก๊สธรรมขาติลำเลียงมาระยอง มีโครงการอีสเทิร์ซีบอร์ด โครงการพัฒนาชายฝั่งตะวันออก เป็นจุดกำเนิดอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ท่าเรือน้ำลึก มีการลงทุนอุตสาหกรรม มีการส่งออกรถยนต์จากฐานการผลิต จากอีทเทิร์นซีบอร์ด หลัง พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มาเป็นนายก ประเทศไทยจีดีพีขายตัว 3 ปีซ้อน ต่างชาติเรียกว่าเสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย เกิดจากโครงการพัฒนาชายฝั่งตะวันออก แต่ตอนนี้โครงการค่อนข้างเต็มพื้นที่ ดิสรัปทีฟเทคโนโลยี อุตสาหกรรมสมัยใหม่มีความจำเป็นต้องต่อยอด จึงเป็นที่มาของโครงการ อีอีซี เหมือนกับการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวัน ภาคที่ 2 ที่มาทำต่อตามสภาพปัจจุบันที่เปลี่ยนไป

เป้าหมายของ EEC คือ อุตสหกรรมหลัก 5 ตัวเดิม + 7 ใหม่ คืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ หุ่นยนต์ ดิจิทัล โลจิสติก การศึกษา เทคโนโลยีชีวภาพ และการบิน แผนงานของ EEC คือการต่อยอดการลงทุน อุตสาหกรรม เพื่อเป็นเบสจ้างงานและส่งออก ซึ่งหากทำได้ 1.จะทำให้ไทยหลุดพ้นกับดักรายได้ประเทศปานกลาง 5000 เหรียญ/ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 12,000 เหรียญ และเราจะยกระดับขึ้นเป็นประเทศพัฒนา 2.บรรยากาศการลงทุนของไทยจะเติบโตไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ 3.จีดีพี ขยับ 1.5 เปอร์เซ็นต์ 4.จะมีการจ้างงานอีกประมาณ 100,000 คน 5.โลจิสติกส์ที่จะเป็นตัวดึงดูดนักลงทุนจะถูกไปไม่ตำกว่าปีละ 2 แสนบาท 6.รายได้จากนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นไม่ตำกว่า 5 แสนบาท/ปี คือแผนงานของเออีซี

ซึ่งมีกฎหมายที่ชัดเจน มีคณะกรรมการอีอีซี มีกฎหายโดยเฉพาะ มีพื้นที่ที่ชัดเจนว่า ฉะเชิงเทราเป็นชุมชนเมืองใหม่ แหลมฉบัง-ศรีราชา เป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ระยองปิโตรเคมี พัทยา-เมืองท่องเที่ยว มีการกำหนดผังเมืองชัดเจน 11รวมทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และดิจิทัล มีผังเมือง กฎหมาย และสิทธิประโยชน์ชัดเจน ซึ่งแผนนี้เกิดแล้วเมื่ออาทิตย์ที่ฝ่านมา ที่ได้มีการลงนามในสัญญาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง 220 กม. กรุงเทพฯ- ระยอง ลงทุน 2 แสนล้าน เมื่อสร้างเสร็จจะใช้เวลาเดินทาง 1 ชม. เชื่อมต่อ 3 สนามบินทั้งอู่ตะเภา สุวรรณมิ และดอนเมือง จะมีกี่ประเทศในโลกที่มีสนามบินนานาชาติ 3 สนามบิน และยังเชื่อมต่อรถไฟ สนามบินจะเพิ่มรันเวย์ และเทอร์มินอล ให้รับคนได้เพิ่มขึ้น ถ้าสร้างเสร็จตามแผนงานจะรองรับได้ 145 ล้านคน/ปี นึกภาพว่านักท่องเที่ยว-นักลงทุนจะมามากแค่ไหน โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะเปิดพื้นที่การพัฒนาเมืองอีกมาก อย่างชุมชนเมืองใหม่ 15,000 ไร่ ที่จะรองรับการขยายตัวของ กทม. คือโอกาสจากโครงการ อีอีซี คือโอกาสของไทยในการดึงนักงทุน และการจ้างงานมหาศาล

เรื่อง อินฟราสาตรักเจอร์ จึงเป็นโอกาสของประเทศไทย สมัยก่อนเรามีรถไฟฟ้าจากหมอชิต-สะพานควาย-อนุสาวรีย์-พญาไท-ราชเทวี-สยาม-ราชดำริ-สีลม-สาทร-ศาลาแดง จากนั้นรถไฟฟ้าต่อไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ต่อจากพระโขนงไปสำโรง สาธร ไปตากสิน บางหว้า ส่วนหมอชิต ทำต่อไปทางถนนพหลโยธิน จะเห็นว่าการพัฒนาของรถไฟฟ้า ทำให้ใครๆ ก็อยากอยู่คนโด สมัยก่อนคอนโดจะเกาะตามรถไฟฟ้า มีราคาแพง แต่เกิดโอกาสการพัฒนา เวลาที่เราต่อรถไฟฟ้าออกไปอย่างสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน ก็มีการต่อจากบางซื่อไปท่าพระ หัวลำโพงไปบางแค เกิดพื้นที่การพัฒนาขึ้นมาก จะเห็นโอกาสของนักพัฒนา ทำให้ราคาถูกลง ประชาชนได้มีคอนโดที่ไม่แพง

การพัฒนาเทียบเคียง คือ บ้านจัดสรรแถบชานเมืองที่รถไฟฟ้าไปถึง คือโอกาสของคนจน คนชั้นกลางที่เกิดจากการพัฒนาโครงสร้างของรถไฟฟ้า

ส่วนคนต่างจังหวัด โอกาสพัฒนาไปไม่ถึง แล้วมีโปรเจกต์อะไรหรือไม่ อย่าง รถไฟ บ้านเรามีรถไฟรางเดี่ยว นานพอสมควรที่เราไม่ได้พัฒนา วันนี้เราได้ยินรถไฟรางคู่ซึ่งกำลังทำ ช่วยลดเวลาการเดินทาง เป็นโอกาสของเกษตรกร คนในชนบท ซึ่งทำต่อไปเรื่อยๆ โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงจะสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ เพราะไปโคราช เพียง 1 ชม. เขาใหญ่แค่ไม่ต้องรอรถไฟรางคู่ แค่เพียงมอเตอร์เวย์ที่จะเสร็จปลายปีหน้า 1 ชม. ก็ถึงเขาใหญ่ คือโอกาสของการพัฒนา

เป็นโอกาสการลงทุน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ยังไม่รวมมอเตอร์เวย์ซึ่งก่อนหน้านี้เรามีที่เดียว คือ กรุงเทพฯ-พัทยา ต่อมาเริ่มสร้างจาก กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี

ต่อไปสายนครปฐม สร้างโอกาสอีกมาก ถนนคือทูตแห่งความเจริญ ตอน พล.อ.ชาติชาย เป็นนายกฯ ท่านตัดถนน 4 เลน ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานการคมนาคมของประเทศ

การสร้างเมกกะโปรเจกต์ จึงสร้างงาน สร้างอาชีพอย่างมหาศาล เราต้องตามเรื่องเทคโนโลยีให้ทัน แต่ข่าวดีคือ อาทิตย์ที่ผ่านมา กสทช. กำลังจะให้ไลเซ่น 5G จำนวน 56 ใบ ครั้งแรกในไทย ซึ่งจะได้เห็นในปีหน้า ข้อดีคือ 5G เร็วกว่า 4G ถึง 50 เท่า รับข้อมูลมากกว่า 10 เท่า รองรับการให้บริการล้านคนล้านเครื่อง จะเป็นเทคโนโลยีที่สื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ เป็นที่มาของคำว่า Internet of Things จะเป็นพื้นฐานที่เครื่องจักรสั่งเครื่องจักร ซึ่งจะเติมเต็มโอกาสให้คนชนบท อย่างการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม แพทย์ในกรุงเทพผ่าตัดถึงชนบทได้ผ่านการควบคุมเครื่องจักร จึงเป็นการลดความเหลื่อมลำ สร้างความเสมอภาคให้เกิดด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจะสร้างได้ต้องมีเมกะโปรเจ็กต์ เทคโนโลยี และพันธมิตร

อาทิตย์ที่แล้วประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการปาระชุมอาเซียน เราได้เห็นว่าโลกเปลี่ยนแปลงมาก โดยเฉพาะการเชกแฮนด์ เป็นพันธมิตร หรือเป็นส่วสนหนึ่งวของกลุ่มธุรกิจ เป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งใครตกกลุ่มจะเสียเปรียบ การประชุมอาเซียนทำให้ไทยมีเพื่อน เหมือนกับเราได้ไปอยู่ในกลุ่มการค้าที่มีความเป็นสากล เรามี อาร์เซ็ป เอเปก คณะกรรมการภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เราไปอยู่ในกลุ่มการค้าระดับใหญ่ของโลก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก เมื่อกลุ่มการค้าอาเซียนเกิดขึ้นประเทศต่างๆ ก็จะมาผูกกับอาเซียนเพื่อจะไม่เสียภาษี เป็นโอกาสการลงทุนที่หลายประเทศจะไหลมา เราจึงต้องมีเมกะโปรเจ็กต์และมีเพื่อน สุดท้าย หยิบจุดแข็งของเรามาใช้ ตามเทคโนโลยีให้ทันแล้วเอามาเติมวัตถุดิบที่เรามีอยู่ คือ 1.การเกษตร 2.การท่องเที่ยว บิ๊กไฟต์ ข้าว อ้อย ยาง น้ำมันปาลม์ เราติด 1 ใน 5 แต่เรายังไม่เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ขายเป็นสินค้าเกษตรส่วนกลาง ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่คือโอกาสของไทย เราต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น และสร้างมูลค่าเพิ่มกับวัตถุดิบโดยเน้นโครงสร้างแข็งของไทย ไม่ว่าจะการเกษตร หรือการท่องเที่ยว

ประเทศไทยมีเสน่ห์ เป็นประเทศท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ทั้งนิสัย หน้าตา รอยยิ้ม สินค้า โอท็อป อาหารการกิน วิถีชีวิต 4 ภาคที่แตกต่าง วัฒนธรรม ความสวยงามของทะเล ไม่มีใครสู้ไทยได้ ท่ามกลางเศรษฐกจที่ไม่ดีแต่การท่องเที่ยวยังอยู๋ได้ เชื่อว่าจากนี้ไปไม่น่าเกิน 7 ปี จะได้เห็นตัวเลขนักท่องเที่ยวเท่ากับประชากรประเทศ และมีนัยสำคัญต่อจีดีพีประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ เพราะการท่องเที่ยวกระจายในทุกพื้นที่

นอกจากนี้ ดิสรัปทีฟเทคโนโลยีไม่ได้มาขัดจังหวะการท่องเที่ยว แต่มาเสริม เพราะทำให้คนเดินทางง่าย ทำงานนอกสถานที่ได้ จองโรงแรม การเดินทางที่สะดวกและถูกลง ซึ่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั่วโลกจึงหยิบการท่องเที่ยวมาแข่ง ซึ่งเราต้องแข่งบนจุดแข็งของเรา

ไทยมีพื้นฐานที่ดี มีเพื่อน เทคโนโลยี การลงทุนภาครัฐขนาดใหญ่ ทุกวันนี้ต่างประเทศเรียกว่าเราเป็นจุดที่ปลอดที่สุดทางด้านการเงิน ค่าเงินบาทเราแข็ง เพราะเรามีเงินลงทุนสำรองระหว่างประเทศ 2.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีหนี้ 1.6 แสนล้านเหรีญน้อยกว่าเงินทุนสำรอง เรามีดุลบัญชีเดินสะพัดเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ติดต่อกันทุกปี เรามีหนี้สาธารณะเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ของ จีดีพี โครงสร้างความเข้มแข็งจึงสร้างความเชื่อมั่น ทำให้โครงสร้างเราเข้มแข็งมั่นคง ถ้าเรามีความเข้าใจ มีความรักสามัคคีต่อคนในชาติ เห็นต่างได้ต่างได้ แต่ขอให้เข้าใจและเดินไปในทิศทางเดียวกัน

เชื่อว่าประเทศไทยไม่แพ้ใครแน่นอน

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image