09.00 INDEX รูปธรรม สะท้อน สงครามตัวแทน พลังประชารัฐ กรรมาธิการป.ป.ช.

เหมือนกับว่าบทบาทของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ นายสิระ เจนจาคะ ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร

จะเป็นบทบาท “ส่วนตัว” จะสะท้อนความไม่เห็นด้วยในทางส่วนตัว

ระหว่าง น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ นายสิระ เจนจาคะ ในฐานะเป็น กรรมาธิการ กับ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการ เป็นสำคัญ

หากดูรากฐานของทั้ง 2 ฝ่ายก็จะต้องยอมรับว่าปฏิกิริยาอันเกิดขึ้นมีที่มา มีที่ไป และที่สำคัญเป็นปฏิกิริยาในลักษณะที่สะท้อนการรุกและการโต้กลับ

Advertisement

โดยมีจุดรวมศูนย์อยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หากไม่มีการรุกจากประธานคณะกรรมาธิการโดยมีเป้าอยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คงไม่เกิดปฏิกิริยามาจาก น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ นายสิระ เจนจาคะ

อย่าลืมเป็นอันขาดว่า น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ นายสิระ เจนจาคะ เข้าไปเป็นกรรมาธิการในฐานะตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ

Advertisement

เป็นการเปลี่ยนตัวเข้าไปในสถานการณ์ไม่ปรกติทางการเมือง

เนื่องจากกรรมาธิการคนเดิมของพรรคพลังประชารัฐไม่สามารถต่อกรกับการรุกจากประธานคณะกรรมาธิการได้จึงจำเป็นต้องผลักดัน น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ นายสิระ เจนจาคะ เข้าไปปะทะ

นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาที่ประชุมคณะกรรมาธิการจึงร้อนแรงโดยมี น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ นายสิระ เจนจาคะ เป็นตัวแสดงบทบาทสำคัญรวมถึงความพยายามในการเปลี่ยนตัวประธาน

นี่คือรูปธรรมแห่งสงคราม”ตัวแทน”ในทางการเมือง

ประเด็นอยู่ที่การเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการมิได้เป็นการเข้ามาเหมือนกับเป็นสมบัติส่วนตัว

หากแต่เข้ามาเพราะได้รับเลือกจาก”คณะกรรมาธิการ”

ตำแหน่งประธานอาจเป็นโควต้าของพรรคเสรีรวมไทย แต่รากฐานและการสนับสนุนมิได้มาจากพรรคฝ่ายค้านร่วมเท่านั้นหากแม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย ก็เห็นชอบด้วย

การดำรงอยู่ในฐานะประธานจึงเป็นการดำรงอยู่บนฐานของเสียงส่วนใหญ่ขณะที่เสียงของพรรคพลังประชารัฐเป็นเสียงส่วนน้อย

การโค่นล้ม”ประธาน”ออกจากตำแหน่งจึงยากลำบาก

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image