‘ชลน่าน’ ดันผลศึกษาข้อดีข้อเสีย รธน. พร้อมแนวทาง-ที่มา ส.ส.ร.

‘ชลน่าน’ ชูประเด็นแนว กมธ.ฯแก้ รธน. ดันผลศึกษาข้อดีข้อเสีย พร้อมแนวทาง-ที่มา ส.ส.ร.

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ที่รัฐสภา เกียกกาย มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุมพิจารณาเรื่องด่วน ญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่มีการอภิปายต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรค พรรค พท.อภิปรายว่า มี 3 ประเด็น คือ 1.ฝากไปยังคณะ กรธ. และประธาน กรธ.ที่จะต้องมีปณิธานแนวแน่วแก้รัฐธรรมนูญ ต้องเป็นกลางศึกษาวิธีการไปสู่าเป้าหมายได้ ต้องได้รับการยอมรับ ประเด็นที่ 2.ระยะอย่าใช้เวลาเกิน 90 วัน โดย ข้อ 1 ต้องการหลักเกณฑ์วิธีการอย่างไร จะแก้เป็นรายมาตรหรือไม่ อย่างไร ข้อ2 กรณีการแก้มาตรา 256 หรือรายมาตราดีหรือ ไม่ข้อดีข้อเสีย ข้อ 3 การแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 หรือรายมาตราต้องบอกว่าดีหรือไม่อย่างไร ข้อ 4 กมธ.ต้องมีผลการศึกษารายละเอียดถึงการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) รายละเอียดของการแก้ ดังนั้น ถ้าใช้แนวทางที่ 4.กมธ.จะตอบคำสาระบัญญัติทั้งหมดควรเป็นอย่างไร ไปสู่กระบวนการยกร่างสภาร่างรัฐธรรมนูญ และจะให้ดีต้องบอกด้วยว่า ส.ส.ร.มาจากใคร จำนวน หน้าที่และอำนาจ ควรปรากฏอยู่ในรายงานชุดนี้ ทั้งนี้ ที่มาของรัฐธรรมนูญ 60 โดย กรธ.จาก คสช.และประเด็นที่ 3.ผลกระทบจากรัฐธรรมนูญบ้านเมืองเศรษฐกิจจะไปไม่รอด กมธ.ต้องเป็นตัวแทนสภาอย่างสง่่างาม มีผลการศึกาาที่เสนอ และกล้าตัดสินใจเสนอทางเลือกไปข้างหน้า ตั้ง ส.ส.ร.ไม่ได้ตั้งมาเพื่อทำร้ายใคร รัฐธรรมนูญใหม่ต้องเป็นของประชาชนเพื่อประชาชน และมีประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image