สภาน.ร.เสนอ นายกฯ แก้ปัญหา ‘พลาสติก- สร้างจิตอาสา –บูลลี่-เฟคนิวส์’ ครูตั้น ยาหอม ของบฯ 770ล.ลดขยะ

สภาน.ร.เสนอ นายกฯ แก้ปัญหา ‘พลาสติก- สร้างจิตอาสา –บูลลี่-เฟคนิวส์’ ครูตั้น ยาหอม ของบฯ 770ล.ลดขยะ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 มกราคม ที่ห้องประชุมศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) น.ส.มินทกานต์ ถนอมไถ หรือน้องมินนี่ ชั้น ม.5 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ประธานสภานักเรียน ปี 2563 พร้อมสภานักเรียนฯ กว่า 100 คน ยื่นข้อเสนอในการพัฒนาการศึกษาถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการศธ.โดยมีนายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วม ว่า คณะสภานักเรียนได้จัดประชุมสัมมนาวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหา สถานการณ์ต่างๆ ในสถานศึกษา ชุมชน สังคมและประเทศชาติ และได้ข้อสรุปใน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. การส่งเสริมให้เด็กไทยเลิกใช้ถุงพลาสติก โดยเสนอแนวทาง คือ ขอศธ.ทำหนังสือเชิญชวนให้โรงเรียนในสังกัดดำเนินการจัดการกับขยะ พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในสถานศึกษา ออกมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะทั่วไปภายในสถานศึกษา แล้วให้รายงานผลการดาเนินงานต่อต้นสังกัด ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ขณะที่สภานักเรียนระดับประเทศ จะดำเนินกิจกรรม “TSC ชวนเด็กไทย เลิกใช้ถุงพลาสติก” คาดว่าจะสามารถ เริ่มดาเนินกิจกรรมได้ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2563 นี้

ประเด็นที่ 2. การส่งเสริมให้เด็กไทย รู้เท่าทันก่อนแบ่งปันข่าวปลอม หรือเฟคนิวส์ แนวทาง ดังนี้ ขอให้มีการกำหนดวันคิกออฟ นักเรียนไทยเฝ้าระวังข่าวปลอม ในวันที่ 29 มกราคม เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนทั่วประเทศได้เกิดความตระหนักในการเฝ้าระวังข่าวปลอมและสร้างความเข้าใจ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ขอให้มีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและสามารถวิเคราะห์ข่าวที่เป็นจริงและข่าวเท็จก่อนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกช่องทาง สภานักเรียนทั่วประเทศดาเนินกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อสร้างความตระหนักในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องในวันนักเรียนไทยเฝ้าระวังข่าวปลอม ในวันที่ 29 มกราคม 2563 และสภานักเรียนมีการเฝ้าระวัง สอดส่องดูแล ข่าวปลอมหรือเฟคนิวส์ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนหรือ สังคม และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับนักเรียน

Advertisement

ประเด็นที่ 3.การส่งเสริมการมีจิตอาสาเพื่อสร้างสังคมแห่งความสุข โดยเสนอแนวทางจิตอาสา แนวทาง ดังนี้ เชิญชวนสภานักเรียนทั่วประเทศ เข้าร่วมทากิจกรรม และส่งผลงานในรูปแบบ “จดหมายข่าว 1 หน้า” เพื่อรายงานผลการดาเนินกิจกรรมจิตอาสาของสภานักเรียนทั่วประเทศทุกภาคเรียน กำหนดแนวทางส่งเสริมการมีจิตอาสาอย่างเป็นรูปธรรม โดยบูรณาการเนื้อหาและกิจกรรม ลงในหลักสูตรโดยไม่เน้น ทฤษฏีหรือการบรรยาย แต่ให้เน้นการปฏิบัติอย่างแท้จริง


และประเด็นที่ 4. การรณรงค์ลดการกลั่นแกล้งผู้อื่นในโรงเรียนหรือบูลลี่ โดยมีแนวทางดังนี้ ด้านกฎหมายขอให้ศธ. นำประเด็นปัญหานี้เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.)เพื่อแก้ไขข้อกำหนดวิธีการ ในการให้ความคุ้มครองเด็กที่มีพฤติกรรมความรุนแรง กลั่นแกล้ง รังแกผู้อื่นทางวาจา ร่างกายและการคุกคาม ในเชิงสัมพันธภาพหรือการบูลลี่ เนื่องจากพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีการกำหนดลักษณะ หลักเกณฑ์วิธีการเกี่ยวกับการรับมือป้องกันหรือแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้โดยตรงอย่างชัดเจน เพราะทั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และพ.ร.บ.การรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มีเพียงการคุ้มครองในทางอ้อมเท่านั้น จึงอยากให้มีการแก้ไขหรือบัญญัติเพิ่มเติมในข้อกฎหมาย ที่มีการบังคับใช้อยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของโลกที่ปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา มีความ ชัดเจนและเฉพาะตัวมากขึ้น ด้านบุคลากร ขอให้ศธ. นำเรื่องเข้าที่ประชุมครม.เกี่ยวกับการจัดหาบุคลากรที่มี ความรู้ความสามารถทางด้านจิตวิทยาประจาโรงเรียนคอยดูแลสอดส่อง ให้ความรู้ และช่วยเหลือ เมื่อเกิด เหตุการณ์เกี่ยวกับการบูลลี่ จัดการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่เพื่อเพิ่มทางด้านจิตวิทยา ด้านความร่วมมือ สั่งการให้ สถานศึกษา กำหนดมาตรการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาบูลลี่ในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยอย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยแล้วปล่อยผ่านเหมือนที่ผ่านมา โดยสภานักเรียน ดำเนินโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับมือและแก้ปัญหาเมื่อ ต้องเผชิญกับสถานการณ์การ บูลลี่

ในโอกาสนี้ นายณัฏฐพล ได้ให้โอวาทแก่สภานักเรียนตอนหนึ่ง ว่า ตนยินดีที่ได้รับฟังข้อเสนอของสภานักเรียน เป็นครั้งแรก ซึ่งส่วนตัวเห็นความสำคัญและคิดว่าหลายคนในที่นี้จะเป็นตัวแทนที่สำคัญของประเทศในอนาคต การที่สภานักเรียนจะได้ยื่นข้อเสนอต่อใครไม่สำคัญหากข้อเสนอไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติ ข้อเสนอของสภานักเรียนเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องผลักดัน แต่ก็อาจเกิดแรงต่อต้าน เพราะฉะนั้นเราต้องมาร่วมกันทำพร้อมกันในโรงเรียนทั่วประเทศ อย่างเช่น การบริหารจัดการขยะ ซึ่งตนคิดว่าทำได้ เพราะ เป็นสิ่งที่สำคัญต่อประเทศ และต่อโลก เลขาธิการกพฐ. ต้องไปดูงบฯ บริหารจัดการ หากไม่ได้ ตนยินดีเป็นตัวแทนของบฯ จากส่วนกลางซึ่งก่อนมาพบสภานักเรียน ตนก็ตั้งใจจะของบฯกลางจำนวน 770 ล้านบาท จัดสรรลงไปจังหวัดละ 10 ล้านบาท ทำเรื่องนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรมภายในเดือนพฤษภาคม 2563 อยากให้นักเรียนทุกคนต้องร่วมมือกันทำ ส่วนการทำจิตอาสา เชื่อว่านักเรียนทุกคนทำกันอยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่ต้องทำรายงาน แต่เป็นเรื่องของจิตสำนึกผ่านการผลักดันของผู้บริหารแบะสภานักเรียนทำให้เป็นจริง ต้องคำนึงถึงคนอื่น อาทิ หากิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยศธ. อยู่ระหว่างปรับหลักสูตรและได้บรรจุเรื่องจิตอาสาไว้แล้วโดยคาดว่าจะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่ในปี2565

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า การส่งเสริมให้เด็กไทยรู้ทันข่าวปลอม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคม อย่างเช่น ที่ตนลงไปตรวจเยี่ยมนักเรียนและได้พูดคุยกับเด็กๆ ได้ถามเด็กว่า ชอบลุงตู่หรือไม่ หลายคนตอบว่า ไม่ชอบ เพราะลุงตู่โง่ ตนถามต่อว่า รู้ได้อย่างไร ส่วนใหญ่ตอบว่าทวิตเตอร์ สื่อออนไลน์ ซึ่งตนบอกเลยว่า ตรงนี้คือเฟคนิวส์ เพราะจากที่ตนทำงาน บอกเลยว่า ลุงตู่ เป็นนายกฯ ที่ขยัน อ่านเอกสารของทุกกระทรวงอย่างละเอียด หลายอย่างต้องมีการวิเคราะห์ ต้องเอาความถูกต้องมาวาง บอกเลยว่า ตอนนี้เฟคนิวส์กำลังทำร้ายประเทศ วันนี้มีคนพูดอยู่นอกประเทศ ว่าไทยไม่เป็นประชาธิปไตย คนต่างประเทศก็เชื่อ ทั้งที่เป็นเฟคนิวส์ ดังนั้นจึงต้องมีกระบวนการคิดที่ถูกต้อง ตนและนายกฯให้ความสำคัญกับการศึกษา อยากฟังว่าเด็กมีปัญหาอะไร แล้วนำมากลั่นกรองเพื่อแก้ไขปัญหา

“สำหรับเรื่องบูลลี่ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ เป็นอีกเรื่องที่ศธ.ให้ความสำคัญ และกลายเป็นปัญหาของสังคม หากโรงเรียนสามารถป้องกันตรงนี้ได้ก็ถือเป็นเรื่องดี และไม่ใช่เฉพาะนักเรียน ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย ขอให้สพฐ. ลงไปดูแลไม่ให้เกิดขึ้น ทั้งนี้หากสภานักเรียนจริงใจขับเคลื่อน 4 เรื่องนี้ สามารถทำได้ทันที และทำได้จริง ซึ่งในส่วนของศธ. พร้อมสนับสนุนและขับเคลื่อนไปด้วยกัน ผมรับนำเรื่องนี้เสนอเข้าครม.แต่ขอให้ทุกคนช่วยกันทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง “นายณัฏฐพลกล่าว

ทั้งนี้ สภานักเรียน เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรม เพื่อพัฒนานักเรียนให้เข้าใจบทบาท หน้าที่ ตามวิถีประชาธิปไตย มีผู้ร่วมอบรมสัมมนาเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือ 5 จังหวัดละ 1 คน พร้อมครูที่ปรึกษาสภานักเรียนโรงเรียนละ 1 คน นักเรียนจากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และประถมศึกษาที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาสภานักเรียนให้เข้มแข็งและขยายผลได้ จำนวน 16 โรงเรียน รวมจำนวนผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 188 คน ได้มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ในสถานศึกษา ชุมชน สังคม และประเทศชาติ แล้วนำมารวบรวมสรุป เพื่อนำเสนอต่อนายกฯเพื่อนำไปสู่การแก้ไขต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image