09.00 INDEX สถานการณ์ มีนาคม 2563 บทเรียน พฤศจิกายน 2514

ได้ยินแถลงจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเรื่องโครงสร้างของศูนย์ อำนวยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)แล้วหลายคนก็ จะตระหนักว่า

นี่ไม่เหมือนกับสถานการณ์การบริหารของ “ศอฉ.” ในเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

หากแต่คล้ายกับสถานการณ์เดือนพฤศจิกายน 2514

เพราะว่าบทบาทด้านหลักมิได้เป็นบทบาทของ “รัฐมนตรี” หากแต่เป็นบทบาทของ “ปลัดกระทรวง”

Advertisement

เห็นได้จากบทบาทของปลัดกระทรวงสาธารณสุข เห็นได้จากบทบาทของปลัดกระทรวงมหาดไทย เห็นได้จากบทบาทของปลัด กระทรวงพาณิชย์ บทบาทของปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

เท่ากับมองข้ามบทบาทของ “รัฐมนตรี”ไปโดยตั้งใจ

ความจริง สถานการณ์เดือนพฤศจิกายน 2514 ได้จำลองและถอดรับ บทเรียนมาจากสถานการณ์เดือนพฤศจิกายน 2494 อย่างมีนัยสำคัญ ทางการเมืองและทางการทหาร

Advertisement

นั่นก็คือ เป็นสถานการณ์รัฐประหารตนเอง เป็นสถานการณ์กระชับอำนาจตนเอง

เพราะว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2494 พล.อ.ผิน ชุณหะวัณ ได้ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แล้วก็แต่งตั้ง จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

ขณะที่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลของ จอมพลถนอม กิตติขจร แล้วก็แต่งตั้งให้เป็น จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

เพียงแต่สถานการณ์เดือนมีนาคม 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยึดอำนาจ “รัฐมนตรี” มามอบให้กับ “ปลัดกระทรวง” เท่านั้น

อย่าได้แปลกใจหากก่อนหน้ามีการประกาศและบังคับใช้พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พบและสนทนากับรัฐมนตรีจากบางพรรค

นั่นเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณ แจ้งเตือนให้รู้ว่าจะมีมาตรการ เข้มและจะดำเนินการอย่างไร

เพราะโดยอำนาจจากพระราชกำหนดได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการริบอำนาจมาจาก “รัฐมนตรี” เพื่อเข้าบริหารราชการแผ่นดินโดย ผ่าน “ปลัดกระทรวง”

นี่คือการเน้นความเข้มของ “รัฐราชการรวมศูนย์”อย่างจริงจัง

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image