เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ขณะนี้ประชาชนเกิดความสับสนเกี่ยวกับเรื่องบบัตรทอง หลังจากที่พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เป็นหัวบุคคลากรทางการแพทย์ จึงเป็นเหตุให้ นายกฯและคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการบรรจุบุคคลกรทางการแพทย์เป็นข้าราชการหลายหมื่นตำแหน่ง นอกจากนี้ยังได้แสดงความเป็นห่วงสุขภาพของประชาชน และตต้องการดูแลสุขภาพประชาชนให้เต็มที่ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงบบัตรทอง จึงได้มอบมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ได้หารือกัน เพื่อที่จะหาแหล่งที่มาของเงิน ที่จะนำมาเพื่อการบรรจุบุคลากรทางการแพทย์ โดยไม่ให้ได้รับผลกระทบกับบุคลากรทางการแพทย์ และไม่ให้กระทบกับประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทอง ผู้ที่ใช้สิทธิบัตรทอง ยังคงมีสิทธิเท่าเดิม ไม่ได้มีการตัดงบประมาณส่วนนี้ออกแต่อย่างใด
นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผอ.สำนักงบฯ กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายที่เรากำลังพูดถึง คือ เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา ครม.มีมติอนุมัติให้พนักงานทางการแพทย์กว่า 40,000 คน ได้บรรจุเป็นข้าราชการ เงินเดือนที่พนักงานทางการแพทย์ได้รับอยู่นั้น เมื่อบรรจุเป็นค่าราชการก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายที่ตามมาด้วย โดยจะเป็นงบในการบรรจุบุคลากรใหม่ ซึ่งไม่สามารถโดนงบประมาณมาเป็นค่าจ้างได้ทันที แต่จะต้องเป็นการโอนงบประมาณมาเป็นงบกลางก่อน แล้วจึงจะจจัดสรรเพื่อเป็นงบประมาณที่เป็นค่าใช้จ่ายต่อบุคลากร
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า จากที่ครม. มีมติบรรจุข้าราาชารโดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ต้องทำงานรับมือกับโควิดอย่างเจาะจง และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ซึ่งบุคคลกรที่ได้บรรจุใหม่เหล่านี้เป็นบุคลากรของกระทรวงสาธารสุขอยู่แล้ว ดังนั้นในแต่ละปีกระทรวงสาธารณสุขมีรายได้ที่สำคัญจากงบประมาณ งบเงินเดือน งบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) งบเงินเดือน งบจากรมบัญชีกลาง ที่ผู้ป่วยบริจาคให้ เงินเหล่านี้เป็นรายได้ของกระทรวงสาธารณสุข หลังจากมีการบรรจุก็ต้องมีการเตรียมเงินที่จะเป็นเงินเดือนไว้อยู่แล้ว
นพ.สุขุม กล่าวว่า ในการบรรจุข้าราชการคราวนี้ งบประมาณในส่วนนี้จำนวน 2,400 ล้านบาท นั้นไม่ได้ถูกตัดตามที่มีกระแสข่าวแต่อย่างใด เพราะเรามีงบประมาณที่ส่วนที่จะบรรจุข้าราชการอยู่แล้ว และได้มีการเตรียมการไว้เมื่อต้นปี ซึ่งเรื่องนี้มีความชัดเจนอยู่แล้ว ยืนยันไม่กระทบการดูแลประชาชน อย่างไรก็ตามในสถานการณ์โควิด-19 งบประมาณ 10,000 ล้านบาท ใช้ในการส่งเสริมป้องกันโรคอาจจะไม่เพียงพอ ทางครม.ได้อนุมัติงบกลาง 3,000 ล้านบาท ให้สปสช. เพิ่มเติม ซึ่งสามารถใช้ในการผู้ป่วยรายใหม่ได้ถึง 1 ล้านคน นอกจากนี้ยังได้รับการสันสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ ห้องความดันลบ ก็ได้รับการอนุมัติงบให้ดูแลประชาชนมากยิ่งขึ้น และมีหมอครอบคลุมไปดูแลที่บ้าน เพื่อไม่ต้องมาที่โรงพยาบาล ซึ่งเพราะได้อนุมัติงบเพิ่มมากขึ้นอีก งบที่มาได้มาให้สปสช. 1.1 แสนบาท ไม่ได้ได้น้อยลงกว่าเดิม