09.00 INDEX บทเรียน เรือยกพล ขึ้นบก สู่ กรณียึดป่าที่มาบตาพุด

การเคลื่อนไหวเพื่อจัดตั้งหน่วยบัญชาการทหารบนที่ดินอันเป็นผืนป่าแห่งมาบตาพุด จังหวัดระยอง ของกองทัพเรือ คือ การเคลื่อนไหวที่อาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ในทางการเมือง

เช่นเดียวกับการนำเสนองบประมาณเพื่อซื้อเรือยกพลขึ้นบกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการซื้อเรือดำน้ำ

เช่นเดียวกับการนำเสนองบประมาณซื้อรถถังสไตรเกอร์

อันแม้ว่า สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะบรรจุเข้าไว้ในระเบียบวาระเพื่อพิจารณาในที่ประชุม ครม.ตามข้อเสนอจากกระทรวงกลาโหม

Advertisement

แต่ในที่สุด ด้วยกระแสกดดันในทางสังคมกระทรวงกลาโหมก็ตัดสินใจถอนออกจากวาระอันเท่ากับไม่เคยเสนอมาก่อน

เรื่องที่จะเกิด ณ ป่ามาบตาพุด ก็ดำเนินไปอย่างเดียวกัน

บทเรียนอันมีความหมายเป็นอย่างยิ่งจากอดีตก็คือ ในยุคที่รัฐบาลต้องประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างสูง กระทั่งต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

Advertisement

รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เพียงแต่จะลดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมลง

หากแม้กระทั่งโครงการซื้อยุทโธปกรณ์สำคัญๆ ก็ต้องระงับ

การตัดสินใจที่คำนึงถึงผลกระทบในทางเศรษฐกิจโดยองค์รวมของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการยกย่องและถือเป็นตัวอย่างระดับคลาสสิก

เป็นการตัดสินใจอันเป็นแบบอย่าง เป็นการตัดสินใจเพราะรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง จำเป็นต้องคำนึงถึงเสียงและความรู้สึกของประชาชน

นี่ย่อมเป็นจุดต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร มาจากการยึดอำนาจ

ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน ปัญหาของราษฎร

ทั้งๆ ที่มีตัวอย่างมาแล้ว จากกรณีของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งๆที่มีตัวอย่างมาแล้วว่ากรณีการเสนองบประมาณซื้อเรือยกพลขึ้นบก กรณีการเสนองบประมาณซื้อรถถังสไตรเกอร์

ในที่สุดแล้ว กระทรวงกลาโหม กองทัพเรือ กองทัพบก ก็ต้องถอนโครงการออกจาก “วาระ”

เหตุใดกองทัพเรือไม่ได้คำนึงในกรณีของป่ามาบตาพุด

ทั้งๆ ที่กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกมาท้วงติงด้วยเหตุผลในทางวิชาการและสภาพความเป็นจริงที่ดำรงอยู่

นี่คือการตกค้างในทางความคิดจากยุคสงครามเย็นที่ยังดำรงอยู่แม้ว่าจะประสบกับสถานการณ์ไวรัสแพร่ระบาด

นี่คือความคิดเก่าในสถานการณ์ฉุกเฉินในยุค 2563

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image