สถานีคิดเลขที่12 : ‘ความไร้น้ำยา’ ของ ‘นักการเมืองฯ’? : โดย ปราปต์ บุนปาน

 

ถ้าประสิทธิภาพ-สถานภาพของ นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งŽ คือปัจจัยชี้วัดประการหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย

ก็คล้ายว่าระบอบประชาธิปไตย (ครึ่งใบ) ของไทย และความสำคัญของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรŽ จะดูมีอาการอ่อนล้าลงอย่างชัดเจน

ในการประชุมพิจารณาพระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19

Advertisement

ถึงแม้ว่านักอภิปรายในสภาตัวหลักๆ ของพรรคเพื่อไทย เช่น สุทิน คลังแสง, ชลน่าน ศรีแก้ว, จิรายุ ห่วงทรัพย์ และ ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ร่วมด้วย ส.ส.หญิงอีสานบางท่าน จะยังสามารถดึงดูดใจคอการเมืองที่อยากฟัง คนด่ารัฐบาลออกทีวีŽ ได้มากพอสมควร

ถึงแม้ว่าพรรคก้าวไกลที่รับไม้ต่อมาจากอดีตพรรคอนาคตใหม่ จะแจ้งเกิดนักอภิปรายหน้าใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและน่าทึ่ง เพื่อทดแทนการหายไปของ ธนาธร-ปิยบุตร-พรรณิการ์Ž ตลอดจน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์Ž หัวหน้าพรรคที่มีอาการป่วย

จากมวยหลักอย่างวิโรจน์ ลักขณาอดิศร, ศิริกัญญา ตันสกุล และสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ มาถึงธีรัจชัย พันธุมาศ และณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ที่ฉายแววมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งดาวรุ่งดวงใหม่ อาทิ ปดิพัทธ์ สันติภาดา และวรรณวรี ตะล่อมสิน

Advertisement

แต่โดยรวม การอภิปรายของพรรคฝ่ายค้านรอบนี้ก็ดูเหมือนจะสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อสังคมไม่ได้มากเท่ากับช่วงหลังเลือกตั้ง 2562 ใหม่ๆ

เพื่อไทยยังมีข้อจำกัดด้านบุคลากร และไม่สามารถแจกแจงปัญหาข้อบกพร่องของรัฐบาลในเชิงลึก ผ่านการอ้างอิงข้อมูล-รายละเอียดต่างๆ อย่างน่าเชื่อถือ

ขณะที่อย่างไรเสีย ก้าวไกลก็ยังไม่มี บารมีŽ และ จำนวน ส.ส.Ž มากเท่าอนาคตใหม่

ท้ายสุด พ.ร.ก.ของรัฐบาลจึงผ่านฉลุย สามารถเดินหน้าใช้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท อย่างสบายๆ

ก่อนหน้าการอภิปราย 3 พ.ร.ก. ก็มีข่าวคราวที่สะท้อนถึงความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพรรคเพื่อไทยออกมา

ทั้งเรื่องการตั้งกลุ่ม CARE โดยอดีตขุนพลไทยรักไทยบางส่วน และแนวคิดการตั้งพรรคการเมืองใหม่โดย จาตุรนต์ ฉายแสง

อย่างน้อยที่สุด ปรากฏการณ์เหล่านี้ก็บ่งชี้ว่าพรรคเพื่อไทยนั้นเริ่มตอบโจทย์การเมืองในยุคปัจจุบันไม่ได้แล้ว

ยิ่งเมื่อ พินิจ จันทรสุรินทร์ นักการเมืองรุ่นเก๋าของเพื่อไทย ตัดสินใจไม่ลงสมัครเลือกตั้งซ่อมลำปางในนาทีสุดท้าย จนก่อให้เกิดข่าวลือมากมาย

นั่นก็ยิ่งใหญ่แสดงให้เห็นว่าพรรคการเมืองอันดับหนึ่งของฝ่ายค้านกำลังเผชิญหน้ากับ ปัญหาใหญ่Ž

ขณะเดียวกัน หากชัยชนะในศึกเลือกตั้งซ่อมมีแนวโน้มจะตกเป็นของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลครั้งแล้วครั้งเล่า ท่ามกลางข้อครหาบางอย่าง

การเลือกตั้งŽ ก็จะยิ่งมีความหมายน้อยลงและถูกตั้งคำถามมากขึ้น

แม้ในทางการเมือง รัฐบาลประยุทธ์Ž เหมือนจะมีความแข็งแกร่ง และเดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ ไม่ว่าสภาพสังคม-เศรษฐกิจอันแท้จริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม

ทว่าในแง่ ความเป็นพรรคการเมืองŽ นักการเมืองจากพรรคพลังประชารัฐ กลับรวมก๊กแบ่งกลุ่มแล้วเดินหน้าทะเลาะเบาะแว้งและแย่งชิงอำนาจการนำพรรคกันอย่างเข้มข้น โดยไม่หวั่นวิตกต่อวิกฤตโควิด ปัญหาปากท้องของประชาชน กระทั่งการประชุมสภาเพื่อพิจารณากฎหมายสำคัญ

สภาวะความขัดแย้งไม่มีปิดบังในพรรคพลังประชารัฐนั้นน่าผิดหวังพอๆ กับบทบาทของบรรดารัฐมนตรี ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มาจากเลือกตั้ง ที่หดหายไปอย่างสำคัญ หลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

จึงอาจกล่าวได้ว่า ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน พลังของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นถูกด้อยค่าลงอย่างมหาศาล เมื่อพรรคการเมืองใหญ่สองฟากล้วนมีปัญหาภายใน ส่วนพรรคใหญ่ที่เคยเป็นอันดับสามก็ถูกตัดตอนจนกลายเป็นพรรคขนาดกลาง

ในอีกด้าน การเลือกตั้งและการประชุมสภา ที่เคยสร้างความหวังให้สังคม และเป็นปากเสียงแทนสามัญชนคนธรรมดา ก็เริ่มย้อนกลับไปสู่การเป็นเพียง พิธีกรรมŽ ที่รู้ผลลัพธ์ล่วงหน้า

นี่เป็นทั้งวิกฤตและโอกาสที่ นักการเมืองจากการเลือกตั้งŽ จะได้พิสูจน์น้ำยาของพวกตนอีกหน

ปราปต์ บุนปาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image