การศึกษาเพื่อความเป็นไท บุกศธ.ยื่น 4 ข้อเสนอ ปฏิรูประบบครู แก้ระเบียบกดขี่

กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท บุกศธ.ยื่น 4 ข้อเสนอปฏิรูประบบครู แก้ระเบียบกดขี่ แก้หลักสูตร ค้าน ร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ

เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 7 สิงหาคม ที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ประมาณ 10 คน เดินทางมายังศธ. เพื่อร่วมชุมนุม ในกิจกรรม #นักเรียนขอเป็นไท #ทวงคืนอนาคตเรา โดยมีนายสนิท แย้มเกสร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ร่วมรับฟังข้อเสนอแนะ โดยกิจกรรมได้เริ่มจาก ตัวแทนนำนักเรียน กล่าวชมศธ.พร้อมกัน ว่า กระทรวงของพวกเรานั้นเก่งจังเลย ครับ/คะ

จากนั้น ได้กล่าวชมนายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดศธ. ว่า ปลัดศธ.เก่งจังเลยครับ/คะ

และกล่าวชมโรงเรียนว่า ในโรงเรียนมีสิทธิมากเลยครับ/คะ โดยกลุ่มนักเรียนหวังว่าศธ.จะนำคำชมไปปรับปรุงพัฒนา

น้องมิน ตัวแทนนักเรียน กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ เราสามารถออกมาเรียกร้องสิทธิได้เสมอ การออกมาครั้งนี้ออกมาเอง ไม่มีใครหนุนหลังหรือมีท่อน้ำเลี้ยง สิ่งที่เราต้องการคือ ให้มีการแก้ไขระเบียบทรวงผม แก้ไขระบบการศึกษาให้ดีขึ้นกว่านี้ การมาครั้งนี้เป็นเพียงการเรียกน้ำย่อย โดยจะพูดเรื่องนี้อีกครั้งในม็อบธรรมศาสตร์และการชุมนุม วันที่ 10 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ตาม การมาครั้งนี้ เพื่อยื่นข้อเสนอ 4 ข้อ คือ ปฏิรูประบบครู แก้ไขระเบียบที่กดขี่ แก้หลักสูตรการศึกษาเพื่อนักเรียน และคัดค้าน ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ส่วนรายละเอียดนั้นจะนำมาเปิดเผยในภายหลัง

Advertisement

นัท ตัวแทนนักเรียน กล่าวว่า ทุกคนในที่นี้ ไม่ว่าจะอยู่ในระบบการศึกษา หรือเรียนจบไปแล้ว น่าจะมีความสงสัยว่าทำไมเครื่องแบบนักเรียนถึงต้องแบ่งแค่ ชายและหญิง ซึ่งไม่ควรแบ่งตามเพศกำเนิดเพียง 2 เพศเท่านั้น และเราไม่สามารถเลือกได้ว่าแต่งตามแบบไหน ว่าเวลานักเรียนทำกิจกรรม ทำไมต้องเเบ่งตามเพศกำเนิด และเพศไม่ส่งผลต้อการทำกิจกรรม ตนมองว่ าปัญหานั้น เกิดจากการปลูกฝังในระบบการศึกษา รวมทั้งครูมีทัศนคติที่พยายามจะยัดเหยียดว่าเพศในประเทศมี 2 เพศเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

“ครูบางคนไม่มีความเข้าใจ เรื่อง LGBT และปฏิบัติต่อนักเรียนด้วยความเกลียดชัง เช่น การใช้คำว่าเกย์เป็นคำด่า ทั้งที่เพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศไม่ควรเป็นเหตุผลที่นักเรียนจะได้รับแผลทางจิตใจจากครู ไม่เพียง LGBT เท่านั้นที่ไม่รู้สึกสบายใจในการในการแต่งกายของตน นักเรียนหญิงบางคนก็ไม่สบายใจที่จะใส่กระโปรง หรือตัดผมสั้น เป็นต้น ทุกคนควรมีสิทธิเเสดงออกในเครื่องแต่งกายของตน เพราะเพศของนักเรียนไม่ควรถูกกำหนดการจากการแต่งกาย และควรเปลี่ยนหลักสูตรการสอน ทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้มากขึ้น” นัท กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image