#เหมืองทองอัครา ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ แฉเอกสารตั้งงบ 64 สู้คดี 111 ล้านบาท ถามบิ๊กตู่ ประกาศรับผิดชอบเองใช้ภาษีประชาชนทำไม
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม แฮชแทก #เหมืองทองอัครา กลับมาติดเทรนด์ทวิตเตอร์อีกครั้ง เมื่อมีการเผยแพร่เอกสารงบประมาณปี 2564 โดยเป็นรายละเอียดระบุถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทย กับบริษัท คิงส์เกต จากประเทศออสเตรเลีย ในกรณีที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีสั่งปิดเหมืองทองอัครา เมื่อปี 2559 เหตุการณ์ที่อาจทำให้ไทยอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายมูลค่าถึง 3 หมื่นล้านบาท โดยเวลานี้ ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
In the budget plan for 2021 Contributed to the costs of dispute resolution between the Kingdom of Thailand and Kingsgate Consolidated limited company amount of money(3.5MUSD)Caused by NCPO using dictatorship law to shut down gold mines.#เหมืองทองอัครา https://t.co/2Af5vQwlDI
— Lee JK 🇹🇭 Thailand Land of Coups. (@jknomoredream2) August 27, 2020
นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบงบประมาณย้อนหลังกลับไปในปี 2562 และ 2561 ที่ผ่านมาพบว่ามีการใช้งบประมาณเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างไทยกับบริษัทคิงส์เกตไปแล้ว 217 ล้านบาทและ 60 ล้านบาทตำลำดับ โดยหากรวมงบประมาณในปี 64 ตามเอกสารที่มีการเปิดเผยออกมาล่าสุดแล้วรัฐบาลจะใช้งบประมาณในการระงับข้อพิพาทในครั้งนี้อย่างน้อย 388 ล้านบาท ยังไม่รวมค่าเสียหายในกรณีที่อาจแพ้คดีอีกถึง 3 หมื่นล้านบาท
It proves that it is not the first time that the budget that comes from the public taxes. To settle disputes in the case of the Agra gold mine in 2019, 60M THB and 2020 217M THB totaling 277M THB.#เหมืองทองอัครา #WhatsHappensinThailand https://t.co/fcdKXnvmzG
— Lee JK 🇹🇭 Thailand Land of Coups. (@jknomoredream2) August 27, 2020
ทั้งนี้ ข้อพิพาทเหมืองทองอัครา คือกรณี ที่รัฐบาล คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 72/2559 สั่งระงับการอนุญาตและการทำเหมืองแร่ทองคำทั้งหมดในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวโดยต้องระงับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.60 เป็นต้นไป ส่งผลให้ “บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด” บริษัทสัญชาติออสเตรเลีย ผู้ชนะประมูล ที่ได้สิทธิสัมปทานการขุดเหมืองชาตรีใต้ (บริเวณรอยต่อ จ.พิจิตร , พิษณุโลกและเพชรบูรณ์) รวม 1,259 ไร่ ระยะเวลา 20 ปีที่จะสิ้นสุดวันที่ 18 มิ.ย.63 และได้ขยายพื้นที่ทำเหมืองที่ได้สิทธิสัมปทานเพิ่มเติมใน จ.พิจิตรเหมืองชาตรีเหลืออีก 9 แปลง พื้นที่ 2,466 ไร่ระยะเวลา 20 ปีซึ่งจะครบในวันที่ 20 ก.พ.2571 ที่มีบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ที่เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) บริษัทลูกในประเทศไทย ที่ดำเนินการขุดเหมือง ต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด บริษัทคิงส์เกตฯ เจ้าของสัมปทาน จึงได้นำเรื่องสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ตามข้อบังคับ UNCITRAL Arbitration Rules
ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทยออสเตรเลียหรือที่เรียกกันว่า TAFTA เพื่อให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายจากการปิดเหมืองเป็นจำนวนกว่า 3 หมื่นล้านบาทหลังจากเจรจากับรัฐบาลไทยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้
พล.อ.ประยุทธ์เคยประกาศว่า จะรับผิดชอบต่อการใช้ ม.44 ปิด #เหมืองทองอัครา เอง https://t.co/gQxOn3EHMF
แล้วมาใช้ภาษีของประชาชน ในการระงับข้อพิพาททำไม
ปี 62 ใช้ไป 60 ล้านบาท
63 = 218 ล้านบาท
64 ตั้งงบ 111 ล้านบาท
3 ปี นี่ 389 ล้านบาท เข้าไปแล้วและไม่รู้ว่าจะต้องเสียอีกเท่าไหร่ pic.twitter.com/C3kcx24hYe
— Wiroj 77 (@wirojlak) August 27, 2020
ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ เคยระบุไว้เมื่อปี 2562 ว่าจะรับผิดชอบกับกรณีดังกล่าวด้วยตัวเอง คลิกอ่าน ‘บิ๊กตู่’ ลั่น เป็นคนทำแต่ต้น ‘ผมรับผิดชอบเอง’ ปมจ่ายค่าปรับเหมืองทองอัครา