คดีเหมืองทองอัครา VS ไทย รู้ผลปลายปีนี้ เปิดไทม์ไลน์ -ทำไมต้อง “อนุญาโตตุลาการ”

คดีเหมืองทองอัครา VS ไทย รู้ผลปลายปีนี้ เปิดไทม์ไลน์ -ทำไมต้อง “อนุญาโตตุลาการ”

กระแสข่าวเรื่องประเทศไทย จะต้องจ่ายเงินชดเชยให้บริษัทออสเตรเลีย เป็นเงินถึง 4 หมื่นล้านบาทเพื่อชดเชยค่าเสียหายจากการปิดเหมืองทองคำ ชาตรีเหนือและใต้ ที่รอยต่อพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เนื่องจาก คสช.ได้สั่งปิดเหมืองนี้ด้วยอำนาจตามมาตรา 44 เมื่อปี 2559 ด้วยเหตุผลเรื่องสิ่งแวดล้อม

คดีนี้ดำเนินมาระยะหนึ่ง พร้อมกับเสียงวิจารณ์การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ที่ไม่ได้มีการกลั่นกรอง จนเปิดช่องให้บริษัทต่างชาติเรียกค่าเสียหาย ผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และยังมีข้อสงสัยว่า ถ้าไทยแพ้คดี ความรับผิดชอบในการชำระค่าเสียหาย จะตกกับใคร และรัฐบาลไทยจะต้องนำเงินของประเทศไปจ่ายค่าเสียหายหรือไม่

เมื่อวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา #เหมืองทองอัครา ขึ้นอันดับ 1 ในเทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศไทย โดยมีเนื้อหาร้อนแรงเกี่ยวกับที่ไปที่มาของคดี และแนวโน้มของคดี ท่ามกลางกระแสการเมืองที่กำลังร้อนแรง

เรื่องเริ่มจาก เมื่อปี 2543 บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด จากออสเตรเลีย บริษัทแม่ของ อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ได้รับใบอนุญาตประทานบัตร เพื่อทำเหมืองแร่ทองคำใน จ.พิจิตร พื้นที่รวม 3,900 ไร่ ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ โดยแบ่งเป็นเหมืองชาตรีใต้ ประทานบัตรหมดอายุปี 2563 และใบประทานบัตรเหมือง ‘ชาตรีเหนือ’ หมดอายุปี 2571

Advertisement

วันที่ 1 ม.ค. 2559 รัฐบาลทหาร คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปิดกิจการเหมืองแร่ทองคำของทางบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ด้วยเหตุผลว่าทางเหมืองอัคราสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบต่าง ๆ หลายด้าน จึงนำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด

ลองลำดับไทม์ไลน์จะเป็นดังนี้

Advertisement
  • บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด ชนะประมูล ได้สิทธิสัมปทานการขุดเหมืองแร่ทองคำชาตรีใต้ ในปี 2543 พื้นที่ 1,259 ไร่ ระยะเวลา 20 ปีที่ สิ้นสุดวันที่ 18 มิถุนายน 2563 ชาตรีเหนือ ได้สิทธิสัมปทานเพิ่มเติมใน พื้นที่ 2,466 ไร่ ระยะเวลา 20 ปีวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 – 20 กรกฎาคม 2571
    แต่ว่าตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2559 ได้ถูกเรียกร้องจากประชาชนในพื้นที่สัมปทานเหมืองล้วนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการสร้างปัญหามลพิษปัญหาสุขภาพ และปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการเคลื่อนไหวคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่และหยุดกิจการเหมือง
  • ปัญหาร้องเรียนจากชาวบ้านเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากมลพิษจากเหมือง ที่ให้เกิดปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารพิษปนเปื้อนที่มากับดิน น้ำ และอากาศ รวมถึงยังมีสภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจากเสียงของอุตสาหกรรมอีกด้วย

 ส่วนอนุญาโตตุลาการหมายความว่าอะไร และเมื่อไหร่ที่ต้องใช้อนุญาโตตุลาการ

กระบวนการอนุญาโตตุลาการ คือการระงับข้อพิพาทโดยไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน แต่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย จะเป็นผู้เลือกคนที่จะมาทำหน้าที่เป็น “อนุญาโตตุลาการ” เพื่อตัดสินชี้ขาด โดยแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ จำนวน 1 คนหรือหลายคน (เป็นจำนวนเลขคี่)

ตัวอย่างจากคดีข้างต้น ฝ่ายไทย เสนอ 1 คน บริษัท คิงส์เกต เสนอ 1 คน และอนุญาโตตุลาการอีกคน เป็นบุคคลที่มาจากทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน และเมื่อพิจารณากระบวนการไต่สวนแล้วเสร็จคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ดีในกรณีนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่อาจตกลงกันได้ว่าจะแต่งตั้งใครเป็นประธานอนุญาโตตุลาการ เลขาธิการของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) จึงเข้ามามีบทบาทในกระบวนการแต่งตั้งดังกล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก : THAC www.thac.or.th

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image